ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนากับการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ณัทธร สุขสีทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้สูงอายุเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 269 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.75) อายุ ระยะทางจากที่พักอาศัยกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะลวงนอก และความต้องการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value = 0.047 0.010 และ 0.000 ตามลำดับ) ในส่วนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เสริมพลังและพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน  ด้านสุขภาพ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

References

ประพจน์ เภตรากาศ. (2551). การทบทวนสถานการณ์เพื่อนำสู่การร่างธรรมนูญสุขภาพมาตรา 47(7) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.

วิชัย โชควิวัฒน. (2556). "ระบบสุขภาพไทย : มุมมองของราษฎรเต็มขั้น". วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 7(1) : 196-205.

สามารถ ใจเตี้ย. (2557). "การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาด้านสุขภาพและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย". ชุมชนวิจัย. 8(1) : 58-62.

________. (2558). "ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารพื้นบ้านของผู้สูงอายุในเขตเมือง". วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 31(2) : 1-8.

สามารถ ใจเตี้ย และดารารัตน์ จำเกิด. (2555). "พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเมือง". ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 14(2) : 107-112.

สุภาณี แก้วพินิจ, ลินดา สิริภูบาล และบุญสนอง ภิญโญ. (2550). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. พิษณุโลก : ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก.

Anderson, L.W. (1988). Likert Scales, Education Research Methodology and Measurement : An International Handbook. John, D. Keeves, eds, Victoria : Pergamon.

Celeste, S. (2010). "Assessing and Maintaining Mental Health in Elderly Individuals Nursing". Clinics of North America.45(4) : 635-650.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). "Determining Sample Size for Research Activities". Educational and Psychological Measurement. (30) : 607-610.

Mcevoy, L. and Duffy, A. (2008). "Holistic practice-A concept analysis". Nurse Education in Practice. 8(6) : 412-419.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30