ผลของโปรแกรมการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยภาวะวิกฤตในหอผู้ป่วยหนักที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • กนกพรรณ กาญจนฉายา โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

บทคัดย่อ

           การวิจัยผลของโปรแกรมการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยภาวะวิกฤตในหอผู้ป่วยหนักเป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) วัดก่อนและหลังการทดลอง (Two groups pretest-posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยภาวะวิกฤตในหอผู้ป่วยหนักต่อการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม จำนวน 52 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 26 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจที่พัฒนาขึ้นในวันที่ 1 ถึงวันที่ 7 ของการใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นเวลา 7 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ประเมินอุบัติการณ์และอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจโดยใช้ Clinical Pulmonary Infection Score (CPIS) และเปรียบเทียบความแตกต่างของอุบัติการณ์และอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ หลังได้รับโปรแกรมระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยสถิติ Chi-square หรือ Fisher-exact test, Odds ratio,Mann-Whitney U Test และ Wilcoxon Matched-pairs Signed rank Test

            ผลการวิจัยพบว่าอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใส่ท่อช่วยหายใจในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ พบ ร้อยละ 3.8 และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่พบร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 04 95% CI = .005, .34, p<.001) ดังนั้นโปรแกรมนี้สามารถป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยภาวะวิกฤตจึงควรมีการศึกษาความคุ้มทุนในด้านคุณภาพการให้การพยาบาลของโปรแกรมเพื่อพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจต่อไปอุบัติการณ์การเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใส่ท่อช่วยหายใจในกลุ่มทดลอง พบ 4.53 ครั้งต่อ 1,000 วันของการใช้เครื่องช่วยหายใจส่วนกลุ่มควบคุมพบ 33.16 ครั้งต่อ 1000 วันของการใช้เครื่องช่วยหายใจ

References

จันทร์เพ็ญ กันพุ่ม. (2553). ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อจากเครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก ในโรงพยาบาลหัวเฉียว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

เบญจวรรณ นครพัฒน์. (2555). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก ในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลชุมพรเขตรอดุมศักดิ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พจมาลย์ สงวนศักดิ์. (2550). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อจากเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ฟองคำ ติลกสกุลชัย. (2549). การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ หลักการและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟรี-วัน.

วันดี ศรีเรืองรัตน์. (2556). การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนักทั่วไป โรงพยาบาลหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เสาวนีย์ ชุบบุญผ่อง. (2555). การจัดการรูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์ และจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ.(2014). การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วย.เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2558, จาก https://hdl.handle.net/11228/4265

Audit of hob elevation in intubated patients. (n.d.). [Online].Retrieved April 3, 2016, from https://www.aacn.or.

Curtin, L.J. (2011). Preventing ventilator-associated pneumonia: A nursing-intervention bundle. [Online]. Retrieved April 3, 2016,fromhttps://www.americannursetoday.com.

DeJuilio, P.A. (2012). A Successful VAP Prevention Program. [Online].Retrieved April 3, 2016, from https://www.rtmagazine.com

Drakulovic, M.B. (1999).Spine body position as a risk factor for nosocomial pneumonia in Mechanically ventilated patients:a randomized trial.[Online]. Retrieved March 25, 2017, from https://www.thelancet.com

Erdfelder, E., Fual, F., & Buchner, A. (1996)."GPOWER:Ageneral power analysis program. Behavior Research Methods. Instrument &Computers". 1(28): 1-11.

Jaillette, E., (2013).Efficiency of a pneumatic device in controlling cuff pressure of polyure thane-cuffed tracheal tubes: a randomized controlled study.[Online]. Retrieved April 3, 2018, fromhttps://www.ncbi.nlm.nih.gov

Liao, Y. (2014). "The effectiveness of an oral health care program for preventing ventilator-associated pneumonia". British association of critical care nurses, 2(20), 89-97.

Lizy, C. (2014). Cuff Pressure of Endotracheal Tubes after Changes in Body Position in Critically Ill Patients Treated With Mechanical Ventilation. [Online]. Retrieved April 3, 2016, from https://www.medscape.com

Lorente, L. (2014). Continuous endotracheal tube cuff pressure control system protects against ventilator-associated pneumonia. [Online]. Retrieved April 3, 2016, from https://www.ccforum.com

Mcmullen, k. (2009). The Impact of a Simple, Low-cost Oral Care Protocol on Ventilator-associated Pneumonia Rates in a Surgical Intensive Care Unit.[Online]. Retrieved March 10, 2017, from https://dx.doi.org

Mori, H. (2006).Oral care reduces incidence of Ventilator-associated Pneumonia in ICU Population.[Online]. Retrieved March 16, 2017, from http:link.spinger.com

Munro, C.L. (2009). "Chlorhexidine, toothbrushing, and preventing Ventilator associated pneumonia in critically ill adults". Pulmonary Critical Care, 5(18), 428-438.

Nseir, s. (2011). Continuous Control of Tracheal Cuff Pressure and Microaspiration of Gastric Contents in Critically Ill Patients.[Online]. Retrieved March 25, 2017, from https://www.atsjournals.org

Oral care for patients at risk for ventilator-associated pneumonia. (n.d.). [Online]. Retrieved April 3, 2016, fromhttps://www.aacn.org

Rea-Neto, A., Youssef, N.C.M., Tuche, F., Brunkhorst, F., Ranieri, V.M., Hainhart, K. &Sakr, Y. (2008). Diagnosis of ventilator-associated Pneumonia: a systematic review of the literature.[Online]. Retrieved April 15, 2016, from https://www.ccforum.com

Schallom, M. (2015). "Head-of-bed elevation and early outcomes of gastric reflux, aspiration, and pressure ulcers : a feasibility study". American journal of critical care, 1(24), 57-65.

Ventilator associated pneumonia. (n.d.). [Online]. Retrieved April 3, 2016, from https://www.aacn.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-09-30