ผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลัง

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูป, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว, ความมั่นคงของกระดูกสันหลัง

บทคัดย่อ

            การออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้การหมุนฮูลาฮูปที่เอวอย่างต่อเนื่องทำให้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวทำงานประสานกัน และมีลักษณะคล้ายการทำ abdominal draw-in maneuver ซึ่งอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลาง และความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนล่างได้การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนล่าง ทำการศึกษาในนักศึกษา 19 คน ออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูป ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร บรรจุน้ำ 600 มิลลิลิตรครั้งละ 30 นาที 3 วัน ต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ทำการวัดและเปรียบเทียบระดับความมั่นคงของกระดูกหลังส่วนล่างด้วยวิธี modified isometric stability test (MIST) การทำงานของกล้ามเนื้อ transversus abdominis โดย pressure biofeedback unit ด้วยเทคนิค prone test ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้อหลังชั้นตื้น โดย dynamometer ก่อนและหลังออกกำลังกายเป็นเวลา 4, 8 และ 12 สัปดาห์ ผลการศึกษา พบว่าระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนล่างเพิ่มขึ้นทุก 4 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) การทำงานของกล้ามเนื้อ transversus abdominis เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) หลังออกกำลังกาย 4 สัปดาห์ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังชั้นตื้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) หลังออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ สรุปผลการศึกษาได้ว่าการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปสามารถเพิ่มระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนล่าง การทำงานของกล้ามเนื้อ transversus abdominis ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังชั้นตื้นได้ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเสนอแนะให้นำการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปไปใช้ในผู้ที่ต้องการเพิ่มความมั่นคงของหลังส่วนล่าง หรือเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องชั้นลึกหรือชั้นตื้น หรือกล้ามเนื้อหลัง

References

เกษมกิจ รุ่งอุดม และดรุณวรรณ สุขสม. (2555). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ฮูลาฮูปที่มีต่อสุขสมรรถนะการลดเฉพาะส่วน และระดับไขมันในเลือดในหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. (13), 77-91.

กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย. (2551). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพส่งเสริมคนไทยห่างไกลจากโรคไทย ขยันกระฉับกระเฉง. จุลสารกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. 1(2), 5.

ปุณยวีส์ วรเศรษฐกานนท์. (2554). ผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปที่มีผลต่อเส้นรอบวงเอวเเละเส้นรอบวงสะโพก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์ และสานิตา สิงห์สนั่น. (2559). การทำให้ระดับในไขมันในเลือดเข้าสู่ระดับปกติโดยการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปเป็นเวลา 12 สัปดาห์". ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 11 "เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาสานพลังประชารัฐ.นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ษารินทร์ สิงห์สวัสดิ์, ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์ และนพวรรณ เปียชื่อ. (2555). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง เส้นรอบเอว และระดับไขมันในเลือด (เอชดีแอลคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์) ของบุคลากรสุขภาพ. วารสารสภาการพยาบาล. (27), 109-121.

Abbott, J.H., McCane, B., Herbison, P. & et al. (2007). Lumbar segmental instability: a criterion-related validity study of manual therapy assessment. BMC Musculoskeletal Disorders.(6), 56 (doi:10.1186/1471-2474-6-56).

Cluff, T., Robertson, D.G.E. & Balasubramaniam, R. (2008). Kinetics of hula hooping: An inverse dynamics analysis. Human Movement Science. (27), 622-635.

Griffith, L.E., Hogg-Johnson, S., Cole, D.C., & et. al. (2007). Low-back pain definitions in occupational studies were categorized for a meta-analysis using Delphi consensus methods. Journal of Clinical Epidemiology. (60), 625-633.

Hagins, M.,Adler, K., Cash, M., Daugherty, J. & Mitrani, G.(1999).Effects of practice on the ability to perform lumbar stabilization exercises. Journal of Orthopaedic & Sports Physical Therapy. 29(9), 546-555.

Hicks, G.E., Fritz, J.M., Delitto, A. & McGill, S.M. (2005). Preliminary development of a clinical prediction rule for determining which patients with low back pain will respond to a stabilization exercise program. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation.(86), 1753-1762.

Hides, J.A., Jull, G.A. & Richardson, C.A. (2001). Long-term effects of specific stabilizing exercises for first episode low back pain. Spine. 26(11), 243-248.

Hodges, P., & Richardson, C. (1996). Inefficient muscular stabilization of the lumbar spine associated with low back pain. A motor control evaluation of transversus abdominis. Spine. 6(21), 2640-2650.

Kisner, C. & Colby, L.A. (2007). Therapeutic exercise; foundations and techniques. 5 ed. United States of American : F.A. Davis Company.

Lee, N.G., You, J.S., Kim, T.H. & Choi, B.S. (2015). Intensive abdominal Drawing-in Maneuver after Unipedal postural stability in nonathletes with core instability. Journal of Athletic Training. 50(2), 147-155.

Loney, P.L. & Stratford, P.W.(1999). The Prevalence of Low Back Pain in Adults : A Methodological review of the literature. Physical Therapy. (79), 384-396.

Nachemson, A., Waddell, G. & Norlund, A. (2000). Epidemiology of neck and back pain. In: Nachemson A, Honsson E, editors. Neck and Back Pain: The Scientific Evidence of Causes, Diagnosis and Treatment.Philadelphia : Lippincott Williams and Wilkins.

Nordin, M & Frankel, V.H. (2001). Basic Biomechanics of Musculoskeleton system. 3 ed. London : Lea & Febiger;.

O'Sullivan, P.B., Phyty, G.D., Twomey, L.T. & Allison, G.T. (1997). Evaluation of specific stabilizing exercise in the treatment of chronic low back pain with radiologic diagnosis of spondy lolysis or spondylolisthesis. Spine. (22), 2959-2967.

Panjabi, M. (1992). The stabilizing system of the spine. I: Function, dysfunction, adaptation, and enhancement. Journal of Spinal Disorders. 5(4), 383-389.

Panjabi, M.M. (2003). Clinical spinal instability and low back pain. Journal of Electromyography and Kinesiology. (13), 371-379.

Rackwitz, B., Limm, H., Von, G.K., Ewert, T. & Stucki, G. (2006). Segmental stabilizing exercises and low back pain. What is the evidence? A systematic review of randomized controlled trials. Clinical Rehabilitation. (20), 553-567.

Richardson, C., Hodges, P. & Hides, J. (2004). Therapeutic Exercise for Lumbopelvic Stabilization: A Motor Control Approach for the Treatment and Prevention of Low Back Pain. China : Churchill Livingstone.

Saal, J.A. (2003). Dynamic muscular stabilization in the nonoperative treatment of lumbar pain syndromes. Orthopaedic Review. (19), 691-700.

Sahrmann, S. (2002). Diagnosis and Treatment of Movement Impairment Syndrome. St. Louis : Mosby.

Seong-Doo Park & Seong-hun Yu. (2015). The effects of abdominal draw-in maneuver and core exercise on abdominal muscle thickness and Oswestry disability index in subjects with chronic low back pain. Journal of exercise Rehabilitation. 9(2), 286-291.

Standaert, C.J., Weinstein, S.M. & Rumpeltes, J. (2008). Evidence-informed management of chronic low back pain with lumbar stabilization exercises. Spine Journal. (8),114-120.

Thongjunjua, S., Jalayondeja, W.,Vachalathiti, R. & Suwanasri, C. (2007). Effects of lumbar stabilization exercises on exercise level attained in healthy subjects. Thai Journal of Physical Therapy. 29(1), 1-13.

vanTulder, M., Malmivaara, A., Esmail, R. & Koes, B.(2000). Exercise therapy for low back pain: a systematic review within the framework of the Cochrane Collaboration Back Review Group. Spine. (25), 2784-2796.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-03-31