การพัฒนานวัตกรรมการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการสนับสนุนและส่งเสริมการดูแลตนเองที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยที่ใส่สายระบายน้ำดี
คำสำคัญ:
นวัตกรรมการพยาบาล, หลักฐานเชิงประจักษ์, การดูแลตนเอง, สายระบายน้ำดีบทคัดย่อ
การใส่สายระบายน้ำดีเป็นหัตถการที่สำคัญใน การรักษาภาวะทางเดินน้ำดีอุดตันผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพราะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย รวมทั้งต้องระมัดระวังไม่ให้สายมีปัญหาเกี่ยวกับการเลื่อนหลุดอุดตัน อันจะส่งผลเสียเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วยได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการพยาบาลในการสนับสนุนและส่งเสริมการดูแลตนเองที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยที่ใส่สายระบายน้ำดี โดยใช้แนวคิดการปฏิบัติการพยาบาลภายใต้การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ตามแนวคิด ของเฟรมมิ่งและเฟนตอน (2002) และนำสู่การปฏิบัติ 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ระบุสถานการณ์ปัญหา (2) ตั้งคำถาม (3) สืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ (4) ประเมินคุณภาพหลักฐานเชิงประจักษ์ (5) นำไปปฏิบัติ และ (6) ตรวจสอบผลการปฏิบัติ โดยนวัตกรรมการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1) แผนการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายระบายน้ำดี (2) แฟ้มการให้ข้อมูลการดูแลตนเอง (3) คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วย (4) หุ่นประกอบการสอน และ (5) สิ่งประดิษฐ์กระเป๋าเข้าสังคม ผลการนำนวัตกรรมการพยาบาลลงสู่การปฏิบัติการพยาบาลพบว่า ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลมีความรู้ ทักษะ และความพึงพอใจในนวัตกรรมการพยาบาลนี้ในระดับมาก
References
ดาววรรณ์ คุณยศยิ่ง. (มปป). การดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยที่คาสายระบายน้ำดี (Care for Percutaneous Transhepatic Biliary Drainage: PTBD). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561,จาก http://www.lpch.go.th/lpch/uploads/20160218100125834995.pdf.
ธัญทิพย์ คลังชำนาญ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีภายหลังการใส่สายระบายน้ำดี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปรเมษฐ์ ปุริมายะตา, นิสากร วิบูลชัย, ถิตาพร วงษาไฮ, และวันเพ็ญ วรามิตร. (2559). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมชุดที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไตเพื่อป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนักที่ขา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(3), 104-117.
มณีวรรณดวงมาลา และสุวรรณา บุญยะลีพรรณ. (2553). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ภายหลังการใส่สายระบายผ่านผิวหนังและเนื้อตับเข้าสู่ท่อน้ำดี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรยา มั่นประเสริฐ, นุจรี ประทีปะวณิช, เอื้อมแข สุขประเสริฐ, จตุรัตน์ กันต์พิทยา, ธิติ วีระปรียากู, และปาริชาต พงษ์ไทย. (2552). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 5(3), 191-201.
ระพีพรรณ ทะนันไชย และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2558). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุโรคมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีที่ได้รับการใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2554). แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุรชัย มณีเนตร และชนกพร จิตปัญญา. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดี: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 24-35.
สุรีย์พร ปุญญกริยากร. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีที่ได้รับการใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดีในแผนกศัลยกรรม. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข,23(1), 70-79.
อนุชา ไทยวงษ์ และคณะ. (2560). ชุดนวัตกรรมส่งเสริมการบริหารแขนและไหล่หลังการผ่าตัดเต้านม:จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การสร้างนวัตกรรม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 14(3), 114-124.
Chandrashekhara, S. H., Gamanagatti, S., Singh, A., &Bhatnagar, S. (2016).Current status of percutaneoustranshepatic biliary drainage in palliation of malignant obstructive jaundice: A review.Indian journal of palliative care, 22(4), 378-387.
Flemming, K., & Fenton, M.(2002).Making sense of research evidence to inform decision making.In C. Thompson & D. Dowding(Eds.). Clinical decision making and judgement in nursing (pp. 109-129). Toronto, ON: Harcourt Publishers Limited.
Knap, D., Orlecka, N., Judka, R., Juza, A., Drabek, M., Honkowicz, M., ...& Baron, J.(2016).Biliary duct obstruction treatment with aid of percutaneous transhepatic biliary drainage.Alexandria Journal of Medicine, 52(2),85-191.
Melnyk, B. M., & Fineout-Overholt, E. (2011). Evidence-based practice in nursing & healthcare: A guide to best practice. Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins.
Nennstiel, S., Weber, A., Frick, G., Haller, B., Meining, A., Schmid, R. M., & Neu, B. (2015).Drainage-related complications in percutaneous transhepatic biliary drainage: An analysis over 10 years. Journal of clinical gastroenterology, 49(9),764-770.
Orem, D.E. (2001). Nursing: Concepts of Practice. (6th ed.). St. Louis :Mosby.
Pek, C. J., van Dijk, M., Koerkamp, B. G., Moelker, A., & van Eijck, C. H.(2017). A national survey onperi-interventional management of percutaneous transhepatic biliary drainage.Surgical Laparoscopy Endoscopy & Percutaneous Techniques, 27(4),253-256.