ผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนไทยทรงดำประยุกต์ต่อ คุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงและเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
คำสำคัญ:
การออกกำลังกายแบบฟ้อนไทยทรงดำประยุกต์, โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงและทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง อาสาสมัครจำนวน 60 คน ได้รับการสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง มีเพศชาย 4 คน และเพศหญิง 26 คน ซึ่งได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายแบบฟ้อนไทยทรงดำประยุกต์เป็นเวลา 50 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม มีเพศชาย 8 คน และเพศหญิง 22 คน ได้รับแผ่นพับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และดำเนินชีวิตตามปกติที่บ้าน ทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและคุณภาพชีวิตที่ก่อนและหลังการศึกษาเป็นเวลา 10 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มที่ออกกำลังกายแบบฟ้อนไทยทรงดำประยุกต์และกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าคุณภาพชีวิตในมิติด้านความสามารถในการทำกิจกรรมทางกาย ข้อจำกัดเนื่องจากสุขภาพทางกาย ความเจ็บปวดทางกาย สุขภาพจิต ข้อจำกัดอันเนื่องมาจากปัญหาทางอารมณ์ พลังชีวิต และสุขภาพกายทั่วไปของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มที่ออกกำลังกายแบบฟ้อนไทยทรงดำประยุกต์ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการออกกำลังกายแบบฟ้อนไทยทรงดำประยุกต์เป็นทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงและถือเป็นการบูรณาการภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่นมาใช้ในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงได้
References
กลุ่มสถิติประชากร. สำนักสถิติสังคมและสำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
กัตติกา ธนะขว้าง และจินตนา รัตนวิฑูรย์. (2556). ผลของการรำไม้พลองมองเซิงเมืองน่านต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ. พยาบาลสาร, 40(2), 148-161.
คณะกรรมการอำนวยการลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. ร่างแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย (Thailand Healthy Lifestyle Strategic Plan) พ.ศ. 2550-2559. สืบค้นจาก https://bps. ops.moph.go.th/Thailand.html
จิราพร มงคลประเสริฐ. (2545). การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลสุขภาพตนเองของชุมชนวัดคำเรือง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ชิดชนก เอกวัฒนกุล และภัทราวุธ อินทรกำแหง. (2552). ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม เอสเอฟ-36 ฉบับภาษาไทย ปรับปรุง พ.ศ. 2548 ในการประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 19(2), 63-67.
ยุพา จิ๋วพัฒนกุล, อุบลวรรณา เรือนทองดี, และฐิติรัตน์ ทับแก้ว. (2555). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยการแกว่งแขนร่วมกับครอบครัวต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 30(2), 46-57.
วิลาวัลย์ ตันติพงศ์วิวัฒน์. (2553). ผลการออกกำลังกายแบบโนราบิคต่อความดันโลหิตและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ศิริมา เขมะเพชร. (2559). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(2), 201-11.
อมรรัตน์ เนียมสวรรค์, นงนุช โอบะ, และสมบูรณ์ ตันสุภสวัสดิกุล. (2555). ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคโดยใช้ดนตรีโปงลางต่อสมรรถภาพทางกายและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 6(2), 62-75.
อรทัย ชูเมือง (2556). ผลของการออกกำลังกายแบบโนราแขกต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 40, 11-22.
อรวรรณ แผนคง และอรทัย สงวนพรรค. (2555). ผลของการออกกำลังกายแบบรำไทยประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกาย ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและความผาสุกในชีวิตของผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร, 35, 118-127.
เอื้อมพร เนาว์เย็นผล และสุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2538). ฟ้อนไทยทรงดำ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
American College of Spots Medicine. (2010). ACSM’s Resource Manual for Guidelines for Exercise Testing and Prescription. (6th ed). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Elipoulos, C. (2014). Gerontological nursing. (8th ed). Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Health/ Lippincott Williams and Wilkins.
Eyigor, S., Karapolat, H., Durmaz, B., Ibisoglu, U., & Cakir, S. (2009). A randomized controlled trial of Turkish folklore dance on the physical performance, balance, depression and quality of life in older women. Archives of Gerontology and Geriatrics, 48, 84-88.
Hui, E., Chui, B. T., & Woo, J. (2009). Effects of dance on physical and psychological well-being in older persons. Archives of Gerontology and Geriatrics, 49, 45-50.
Kelly, G. A., Kelly, K. S., Hootman, J. M., & Jones, D. L. (2009). Exercise and Health-Related Quality of Life in Older Community-Dwelling Adults: A Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials. Journal of Applied Gerontology, 28(03), 369-394.
Mavrovouniotis, F. H., Argiriadou, E. A., & Papaioannou, C. S. (2010). Greek traditional dances and quality of old people’s life. Journal of Bodywork and Movement Therapies, 14, 209-208.
Suthikant, D. (2014). Psychiatric Handbook. (2nd edition). Bangkok: Suthikant.
World Health Organization - International Society of Hypertension Writing Group. (2003). World Health Organization (WHO)/ International Society of Hypertension (ISH) statement on management of hypertension. Journal of Hypertension. 21, 1983-1992.
Young, D. R., Appel, L. J., Jee, S., & Miller, E. R. (1999). The effects of aerobic exercise and Tai Chi on blood pressure in older people: results of a randomized trial. Journal of the American Geriatrics Society, 47(3), 277-84.