ผลการรักษาด้วยเทคนิค Prolonged passive stretching ตามด้วยเทคนิค Repeated Contractions ต่อการใช้พลังงานในการเดินในเด็กสมองพิการประเภท Spastic diplegia ที่มีรูปแบบการเดิน Crouch gait ร่วมกับ Apparent equinus

ผู้แต่ง

  • ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

เด็กสมองพิการ, การยืดแบบคงค้าง, เทคนิค repeated contractions

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการรักษาด้วยเทคนิค Prolonged passive stretching ตามด้วยเทคนิค Repeated contraction (RC) ในเด็กสมองพิการที่มีรูปแบบการเดิน Crouch gait ร่วมกับ Apparent equinus เด็กสมองพิการจำนวน 10 คน ได้รับการรักษาด้วยเทคนิค Prolonged passive stretching ตามด้วยเทคนิค RC ความถี่ในการฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 สัปดาห์ องศาการเคลื่อนไหวของการเหยียดข้อสะโพก เหยียดข้อเข่า และกระดกข้อเท้าขึ้น ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งของกลุ่มกล้ามเนื้องอสะโพก กลุ่มกล้ามเนื้องอเข่า กลุ่มกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าลง และการใช้พลังงานในการเดิน นำมาเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลัง พบว่าหลังการรักษา 6 สัปดาห์ พลังงานในการเดินลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ องศาการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการรักษาด้วยเทคนิค Prolonged passive stretching ตามด้วยเทคนิค RC เป็นระยะเวลาทั้งหมด  6 สัปดาห์ มีประโยชน์สำหรับเด็กสมองพิการ ช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ส่งเสริมให้เด็กสมองพิการลดการใช้พลังงานขณะเดิน

References

นวลลออ ธวินชัย. (2551). ตำรากายภาพบำบัดคลินิก. ใน จงจินตน์ รัตนาภินันท์ชัย (บ.ก.). การฝึกเด็กที่มีภาวะสมองพิการเดินด้วยสายพานเลื่อนร่วมกับการพยุงร่างกาย. (น. 49-54). เชียงใหม่ : ดาราวรรณการพิมพ์.

น้อมจิตต์ นวลเนตร. (2549). หลักการทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยทางระบบประสาท. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

บุญรัตน์ โง้วตระกูล. (2546). กายภาพบำบัดในกุมารเวชกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สมุทรปราการ: ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

พรนิตย์ วรรธนพิสิฐกุล. (2547). การยืดกล้ามเนื้อ. ใน วิภาวรรณ ลีลาสำราญ และ วุฒิชัย เพิ่มศิริวาณิชย์ (บ.ก.). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและในโรคต่างๆ. (น. 47-67). สงขลา : ชาญเมืองการพิมพ์.

พรรณี ปึงสุวรรณ. (2556). กายภาพบำบัดในเด็กสมองพิการ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรรัชนี วีระพงศ์. (2554). การออกกำลังกายเพื่อการบำบัด 1. สมุทรปราการ : ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ยิ่งลักษณ์ วิรุณรัตนกิจ. (2550). ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว. ใน วีรยา วงษาพรหม (บ.ก.). หลักวิธีทางกายภาพบำบัดระบบประสาท. (น. 41-47). สมุทรปราการ : ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

Campbell, J., Ball, J. (1978). Energetics of walking in cerebral palsy. Orthop Clin North Am, 9(2), 374-347.

Damiano, D.L. (1998). Functional outcomes of strength training in spastic cerebral palsy. Arch Phys Med Rehabil, (79), 119-125.

Eek, M.N. (2008). Muscle strength training to improve gait function in children with cerebral palsy. Dev Med Child Neurol, 50(10), 759–764.

Herbert, R.D. (2000). How to estimate treatment effects from reports of clinical trials. I: Continuous outcome. Aust J Physiother, 46(3), 229–235.

Pin, T. (2006). The effectiveness of passive stretching in children with cerebral palsy. Developmental Medicine & Child Neurology, 855–862.

Stephane, A., Geraldo, D., Alice, B. (2016). Gait analysis in children with cerebral palsy. EFRT Open Rev, (1), 448-460.

Susan, S.A., Dominiek, B., Math, B. (2014). PNF in Practice. 4th ed. Springer-Verlag Berlin Heidelberg.

Swati, A., BhiseJui, B., Shilpa, P., Snehal, G. (2016). Comparison between physiological cost index in healthy normal children as against ambulatory spastic diplegic cerebral palsy (with and without orthosis) in the age group 6-18 years. Int J Physiother, 3(4), 395-400.

Tremblay, F., Malouin, F. (1990). Effects of prolonged muscle stretch on reflex and voluntary muscle activations in children with spastic cerebral palsy. Scand J Rehabil Med, (22), 171–180.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-07