ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะ ไตเสื่อมของแม่บ้านท�ำความสะอาด มหาวิทยาลัยอุบลราชธาน

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ ภูขลิบเงิน
  • จิรรัตน์ อุทัยวัตร
  • ปียดา วรพิมพ์รัตน์
  • พาฝัน ศรีสิงห์
  • ศุภกานต์ หนองนาดี
  • สุรชัย มณีเนตร

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้ความรู้, พฤติกรรมการป้องกันภาวะไตเสื่อม, แม่บ้านทำความสะอาด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะไตเสื่อมของแม่บ้าน ทำความสะอาด มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ แม่บ้านทำความสะอาด มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 60 ราย จัดกลุ่มตัวอย่างด้วยการจับคู่พิจารณาจากอายุและการมีโรคประจำตัว แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง 30 ราย ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ ประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรัง โมเดลไตจำลองป้องกันไตเสื่อม และคู่มือการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันไตเสื่อม เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะไตเสื่อม โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .90 และค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .84 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และทดสอบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที
ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันภาวะไตเสื่อมในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้สูงกว่า ก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันภาวะไตเสื่อม ในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)
สรุป: โปรแกรมการให้ความรู้ช่วยส่งเสริมให้แม่บ้านทำความสะอาด มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีพฤติกรรมการป้องกันภาวะไตเสื่อมที่ดีขึ้น ควรนำโปรแกรมนี้ไปเผยแพร่กับบุคลากรกลุ่มอื่น และศึกษาวิจัยในบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-13