ผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น
คำสำคัญ:
การเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดา, พฤติกรรมก้าวร้าว, เด็กสมาธิสั้นบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นก่อนและหลังได้รับการบำบัดด้วย
โปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดา และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าว
ของเด็กสมาธิสั้นระหว่างกลุ่มที่ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมฯ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กสมาธิสั้น และบิดาหรือมารดาเด็กสมาธิสั้น ที่มารับบริการที่งาน
พยาบาลผู้ป่วยนอก สถาบันราชานุกุล ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์โดยได้รับการจับคู่และสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง
จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน กลุ่มทดลอง ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมการเรียนรู้
โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดา เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล
ตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กสมาธิสั้นและบิดา
หรือมารดา 2) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น 3) โปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์
แบบกลุ่มของบิดามารดา เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน
เครื่องมือชุดที่ 2 ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิตินอนพาราเมตริก
ผลการวิจัย: พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น หลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่ม
ของบิดามารดาน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมก้าวร้าว
ของเด็กสมาธิสั้นของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาน้อยกว่า
กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป: การใช้ปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาส่งผลทำให้พฤติกรรมก้าวร้าว
ในเด็กสมาธิสั้นลดลง
References
Freitag CM, Hänig S, Schneider A, Seitz C, Palmason H,Retz W, Meyer J.Biological and psychosocial environmental risk factors influencesymptomseverityand psychiatriccomorbidityinchildren with ADHD. Journal of neural transmission 2012;119(1):81-94.
Wisanuyothin T. Prevalence of ADHD in Thailand Journal of Mental Health of Thailand 2013;21(2):66-75. (In Thai)
Rajanukul Institute. Statistics of Rajanukul Institute, year 2018. Department of Mental Health,MinistryofPublic Health; 2018. (in Thai).
American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-5). 5th ed. Arlington: American Psychiatric Publishing; 2013.
Soikum K. Sirisattayawong P. Behavioral problems in school-aged children with attention-deficit hyperactivity disorder [Master thesis, Public Health Program]. Chiang Mai: Chiang Mai University;2013.
(In Thai)
Boonsanun K. Yunibhand J. The Effect of BehaviorTherapyon AggressiveBehaviors of Children With Attention-Deficit/ Hyperactivity Disorder [Master thesis, Nursing science program]. Bangkok: Chulalongkorn University;2012. (InThai)
Chompoosuab W . Effectiveness of implementing the caregiver training regarding behavior modification of
children with attention deficit hyperactivity disorder program, child and adolescent psychiatric clinic,
Lampang hospital [Master thesis, Nursing science program]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2013. (In Thai)
Kolb DA.ExperientialLearning: Experienceas theSourceofLearningandDevelopment. New Jersey: Prentice-Hall; 1984.
Meethip N, Tumdee D, Bhuddhirakkul P. Effects of Experiential Learning on Knowledgeand ScreeningPracticeand Advicefor Hypertension AmongVillage Health Volunteers. Nursing Journal
;43 Suppl:104-15. (In Thai) .
Juengsiragulwit D, Chaiudomsom C, Rueng P, Poowichai C. A Pilot Study of The Efficacy of Group Teacher Training for Behavioral ModificationinSchool-Aged Children at-Risk for Emotional and Behavioral Problems. J Psychiatr Assoc Thailand 2018;63(2):115-26. (In Thai)
Kanlaya P. Yunibhand J. The effect of aggressive behavior management program in children with attentiondeficit hyperactivity disorder [Masterthesis, Nursing science program]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2016. (In Thai)
Wachidilog P, Muangkwa M, Teamsang T. The Effectiveness of parent training program for children with attentiondeficit/ hyperactivity disorder. Journalof mental health of Thailand 2009;17(2):77-90. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์