การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบประเมิน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน : เกณฑ์คะแนน แบบรูบริค

Main Article Content

วัชรี ด่านกุล
ลาวัณย์ รัตนเสถียร

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบประเมินการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน


แบบแผนงานวิจัย: การศึกษาเชิงปริมาณแบบย้อนหลัง


วิธีดำเนินงานวิจัย: ข้อมูลที่ใช้เป็นตัวอย่าง มาจากแบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2559 จำนวน 122 คน โดยได้รับการอนุมัติเป็นโครงการวิจัยเข้าข่ายยกเว้นจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมโครงการวิจัยที่ทำในมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561 หมายเลขรับรอง SWUEC/X-338/2560 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้วยโปรแกรม STATA


ผลการวิจัย: พบว่า แบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL)(พยบ.212) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ พฤติกรรมของผู้เรียน เจตคติของผู้เรียน และกระบวนการกลุ่ม ซึ่งทั้ง 4 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในแบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตในการเรียนการสอนแบบ PBL ได้ร้อยละ 60.75 สำหรับแบบประเมินการจัดเก็บแฟ้มสะสมงาน PBLและแบบประเมินหลักฐานรายงานการเรียนรู้ PBLประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ เนื้อหารายงาน การวางแผนงาน และสรุปประเด็นและแนวคิด ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนแบบประเมินการจัดเก็บแฟ้มสะสมงาน PBLและแบบประเมินหลักฐานรายงานการเรียนรู้ PBL ได้ร้อยละ 64.30


สรุป: ผลการศึกษานี้สามารถนำสู่การสร้างเกณฑ์คะแนนรูบริคที่เหมาะสมกับรายวิชาและผู้เรียน และสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานที่นำสู่การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องได้

Article Details

Section
Research articles