ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจล่าช้าในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

เกศกนิษฐ์ ธรรมคำภีร์
พรทิพย์ พลาดิศัยเลิศ
เอกพล กาละดี
สุกฤษฎิ์ คูวัฒนเธียรชัย

บทคัดย่อ

บริบท การเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น การดูแลรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญ ตั้งแต่การวินิจฉัย ตลอดจนการเลือกแนวทางการรักษาที่รวดเร็วและเหมาะสม


วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาทีในห้องฉุกเฉินของผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา


วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563  ถึง วันที่ 30 กันยายน 2565 โดยศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที ได้แก่ เพศ อายุ โรคประจำตัว ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนมาถึงห้องฉุกเฉิน อาการนำของผู้ป่วย ระดับความรุนแรงของการคัดกรองผู้ป่วยแรกรับ ช่วงเวลาที่มาห้องฉุกเฉินและการเสียชีวิตในโรงพยาบาล จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละและช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และสถิติถดถอยพหุลอจีสติก นำเสนอด้วยค่า Adjusted Odds Ratio และช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95


ผลการศึกษา ผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารักษาในช่วงเวลาดังกล่าว มีจำนวนทั้งสิ้น 232 ราย ผู้ป่วยได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที จำนวน 86 ราย (ร้อยละ 37.1, 95%CI: 30.8-43.6) โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 65.48 ± 14.43 ปี เป็นเพศชาย 46 ราย(ร้อยละ 53.5) โรคประจำตัวที่พบบ่อยที่สุดคือ เบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน  29 ราย (ร้อยละ 33.7) สำหรับกลุ่มที่ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเร็วกว่า 10 นาที มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 65.05 ± 14.99 ปี เป็นเพศชาย 91 ราย  (ร้อยละ 62.3) โรคประจำตัวที่พบบ่อยที่สุดคือ เบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน  42 ราย (ร้อยละ 28.8)  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคราวละตัวแปร พบว่า    ผู้ป่วยที่อาการนำมาด้วยอาการเหนื่อยหอบมีความสัมพันธ์กับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และเมื่อวิเคราะห์คราวละหลายตัวแปร พบว่า อาการเหนื่อยหอบมีความสัมพันธ์กับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที (p < 0.009) นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในช่วงเวลาดังกล่าว มีผู้เสียชีวิต 11 ราย (ร้อยละ 3.45, 95% CI: 1.50-6.68) โดยผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที สัมพันธ์กับการเสียชีวิตในโรงพยาบาล (OR 4.89, 95% CI 1.26-18.96, p = 0.021)


สรุป ผู้ป่วยที่มีอาการนำมาด้วยอาการเหนื่อยหอบเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้รับการตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Townsend N, Wilson L, Bhatnagar P, Wickramasinghe K, Rayner M, Nichols M. Cardiovascular disease in Europe: epidemiological update 2016. Eur Heart J. 2016; 37: 3232–45.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข[internet] 2015. [accessed May 10, 2022]. Available from: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_statistic2558.pdf.

Diercks DB, Peacock WF, Hiestand BC, Chen AY, Pollack CV Jr, Kirk JD, et al. Frequency and consequences of recording an electrocardiogram >10 minutes after arrival in an emergency room in non-ST-segment elevation acute coronary syndromes (from the CRUSADE Initiative). Am J Cardiol. 2006; 97: 437-42.

Rokos IC, French WJ, Koenig WJ, Stratton SJ, Nighswonger B, Strunk B, et al. Integration of pre-hospital electrocardiograms and STelevation myocardial infarction receiving center (SRC) networks: impact on Doorto-Balloon times across 10 independent regions. JACC Cardiovasc Interv. 2009; 2: 339-46.

Chan AW, Kornder J, Elliott H, Brown RI, Dorval JF, Charania J, et al. Improved survival associated with pre-hospital triage strategy in a large regional ST-segment elevation myocardial infarction program. JACC Cardiovasc Interv. 2012; 5: 1239-46.

Ibanez B, James S, Agewall S, Antunes MJ, Bucciarelli-Ducci C, Bueno H, et al. 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation: The Task Force for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation of the European Society of Cardiology (ESC), Eur Heart J. 2018; 39: 119–77.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมแพทย์มัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือดแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการพัฒนา ระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจกระทรวงสาธารณสุข. Thai Acute Coronary Syndrome Guidelines [internet] 2020. [accessed May 10, 2022]. Available from: http://www.thaiheart.org/images/introc_1599350902/Thai%20ACS%20

Guidelines%202020.pdf.

Hamm CW, Bassand JP, Agewall S, Bax J, Boersma E, Bueno H, et al. ESC Guidelines for the management of acute coronary syndromes in patients presenting without persistent ST-segment elevation: The Task Force for the management of acute coronary syndromes (ACS) in patients presenting without persistent ST-segment elevation of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J. 2011; 32: 2999-3054.

Gilboy N, Tanabe P, Travers DA. The Emergency Severity Index Version 4: changes to ESI level 1 and pediatric fever criteria. J Emerg Nurs. 2005; 1; 31: 357-62.

Berliner D, Schneider N, Welte T, Bauersachs J. The differential diagnosis of dyspnea. Dtsch Ärzteb Inte. 2016; 113: 834-45.

Bunney G, Sundaram V, Graber-Naidich A, Miller K, Brown I, McCoy AB, et al. Beyond chest pain: Incremental value of other variables to identify patients for an early ECG. Am J Emerg Med. 2023; 67: 70-8.

Becker SW and Neuhauser D. The efficient Organization. New York: Elseier scientific publishing Co.; 1975. P. 237.

Takakuwa KM, Burek GA, Estepa AT, Shofer FS. A method for improving arrival to electrocardiogram time in emergency department chest pain patients and the effect on door to balloon time for ST segment elevation myocardial infarction. Acad Emerg Med. 2009; 16: 921-7.

Arslanian-Engoren C, Patel A, Fang J, Armstrong D, Kline-Rogers E, Duvernoy CS, et al. Symptoms of men and women presenting with acute coronary syndromes. Am J Cardiol. 2006; 98: 1177-81.

Bhatt DL, Lopes RD, Harrington RA. Diagnosis and treatment of acute coronary syndromes: a review. Jama. 2022; 327: 662-75.

Diercks DB, Kirk JD, Lindsell CJ, Pollack Cv Jr, Hoekstra JW, Gibler WB, et al. Doorto- ECG time in patients with chest pain presenting to the ED. Am J Emerg Med. 2006; 24: 1-7.