ความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสในเชื้อ Carbapenemase-producing Enterobacterales ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ

Main Article Content

วัชรินทร์ รังษีภาณุรัตน์
พัชรี กัมมารเจษฎากุล
มานพ สุทธิประภา

บทคัดย่อ

บริบท ปัจจุบันเชื้อ Carbapenem-resistant Enterobacterales (CRE) ถือเป็นภัยคุกคามเร่งด่วนที่แพร่กระจายไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยมีกลไกการดื้อยาที่พบมากที่สุดคือการสร้างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมสหลากหลายชนิด


วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสในเชื้อ Carbapenemase-producing Enterobacterales  (CPE) จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมุทรปราการ


วิธีการศึกษา เก็บเชื้อ Enterobacterales จากสิ่งส่งตรวจในช่วงเดือน สิงหาคม - ตุลาคม 2562 พิสูจน์เชื้อและทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติว่าเป็น CRE จำนวน 67 สายพันธุ์ จากนั้นตรวจหา CPE ด้วยวิธี modified carbapenem inactivation method, EDTA carbapenem inactivation method และตรวจหาความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสด้วยวิธี multiplex PCR 


ผลการศึกษา เชื้อ CRE 67 สายพันธุ์ จำแนกเป็นเชื้อ Klebsiella pneumoniae, Escherichia coli และ Enterobacter cloacae ร้อยละ 85.07, 8.96 และ 5.97 ตามลำดับ พบว่าเป็น CPE ร้อยละ 89.55 เชื้อมียีนดื้อยา 3 ชนิด ได้แก่  blaOXA-48-like, blaNDM และ blaKPC ร้อยละ 70.00, 56.67 และ 3.33 ตามลำดับ โดยพบเชื้อมียีน blaOXA-48-like ร่วมกับ blaNDM      ร้อยละ 30.00 ในการศึกษานี้พบว่าความไวต่อยาต้านจุลชีพมีความสัมพันธ์กับชนิดของยีน เชื้อที่มียีน blaOXA-48-like ไวต่อยา imipenem, meropenem, doripenem, amikacin และ tigecycline เชื้อที่มียีน blaNDM ไวต่อยา amikacin และ tigecycline เชื้อที่มียีน blaKPC ไวต่อยา tigecycline ส่วนเชื้อที่มียีน blaOXA-48-like ร่วมกับ blaNDM ไวต่อยา gentamicin, amikacin และ tigecycline เชื้อ CPE และ non-CPE ทั้งหมดยังไวต่อยา colistin


สรุป ความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสและผลการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นทางด้านระบาดวิทยาเพื่อใช้ในการควบคุมและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลสมุทรปราการ


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. คู่มือการควบคุมและป้องกันแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล. โครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย. 2558.

World Health Organization. WHO publishes list of bacteria for which new antibiotics are urgently needed [Internet]. 2017 [accessed October 1, 2022]. Available from: https://www.who.int/news/item/27-02-2017-who-publishes-list-of-bacteria-for-which-new-antibiotics-are-urgently-needed.

วันทนา ปวีณกิตติพร, อรชุดา กูบกระโทก, สมชาย แสงกิจพรม, อนุศักดิ์ เกิดสิน, Biedron C, Chea N, et al. ระบาดวิทยาระดับโมเลกุลของเชื้อดื้อยา Superbug ในประเทศไทย. การประชุมวิชาการและมหกรรมแสดงผลงาน 100 ปี การสาธารณสุขไทย กระทรวงสาธารณสุข; วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2561; ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Khan AU, Maryam L, and Zarrilli R. Structure, genetics and worldwide spread of New Delhi metallo-β-lactamase (NDM): A threat to public health. BMC Microbiology. 2017; 17: 101.

อรวรรณ โอษฐิเวช. ความชุกของเชื้อ Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae ในโรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2563; 16: 47-56.

ชลดา ผิวผ่อง. อุบัติการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ดื้อต่อยา Carbapenem โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2559; 30: 1-12.

ศิรประภา มินาผล, สุรศักดิ์ แว่นรัมย์, จิราภรณ์ นิลสกุล, มารุตพงศ์ ปัญญา, ภาวนา พนมเขต. ความชุกของแบคทีเรียวงศ์เอ็นเทอโรแบคทีเรียซีอีที่ผลิตเอนไซม์ carbapenemase ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2562; 31: 105-13.

วีวรรณ อาชีวะ. ความชุกของเอนไซม์ดื้อยากลุ่ม carbapenems ที่แยกได้จากเชื้อดื้อยา Carbapenem-Resistant Enterobacteriaceae ในโรงพยาบาลพระปกเกล้า ปี พ.ศ 2555-2556. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2559; 33: 314-25.

ศิริลักษณ์ ธีระภูธร, จิรวัฒน์ วิมลจริยาบูลย์, ปริญญา เพ็งคง, ภานุพงษ์ ตาลาน. ความชุกของยีน carbapenemase ในเชื้อ Klebsiella pneumoniae ที่ไม่ไวต่อยากลุ่มคาร์บาพีเนมที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. วารสารเทคนิคการแพทย์. 2564; 49: 7615-24.

Laolerd W, Akeda Y, Preeyanon L, Ratthawongjirakul P and Santanirand P. Carbapenemase-producing carbapenemresistant Enterobacteriaceae from Bangkok, Thailand, and their detection by Carba NP and modified carbapenem inactivation method tests. Microb Drug Resist. 2018; 24: 1006-11.

นิตยา สิงห์พลทัน. อุบัติการณ์การดื้อยาโคลิสตินในเชื้อ Enterobacteriaceae สายพันธุ์ที่ดื้อต่อยา carbapenems. วารสารเทคนิคการแพทย์. 2563; 48: 7394-406.

Clinical Laboratory Standard Institute. Performance standards for antimicrobial susceptibility testing; 29th ed. supplement M100. Wayne PA, 2019.

Chuong LV. Molecular Identification of Broad Spectrum β-lactam Resistant Enterobacteriaceae and Neisseria gonorrhoeae [dissertation]. Nakhonpathom: Mahidol University; 2016.

Clinical Laboratory Standard Institute. Performance standards for antimicrobial susceptibility testing; 33rd ed. supplement M100. Wayne PA, 2023.

Halat DH and Moubareck CA. The current burden of carbapenemases: Review of significant properties and dissemination among Gram-negative bacteria. Antibiotics. 2020; 9: 186.

Netikul T and Kiratisin P. Genetic characterization of carbapenem-resistant Enterobacteriaceae and the spread of carbapenem-resistant Klebsiella pneumoniae ST340 at a university hospital in Thailand. PLoS One. 2015; 10: e0139116.

Sheu CC, Chang Y, Lin S, Chen Y, Hsueh P. Infections caused by carbapenem-resistant Enterobacteriaceae: An update on therapeutic options. Front Microbiol. 2019; 10: 80.

Singkham-in U, Muhummudaree N, Chatsuwan T. In vitro synergism of azithromycin combination with antibiotics against OXA-48-producing Klebsiella pneumoniae clinical isolates. Antibiotics. 2021; 10: 1551.