อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในผู้ป่วยเด็กที่รับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

เพ็ญวดี ภาคพิบูลย์
ธนีพร อินทรา

บทคัดย่อ

บทนำ การจมน้ำเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในเด็ก การหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตจึงมีความสำคัญ


วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำและปัจจัยที่สำคัญต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษา      ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา


วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยเด็กจมน้ำอายุน้อยกว่า 15 ปีที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2565 โดยเก็บข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับการจมน้ำ ข้อมูลการรักษา รวมทั้งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ


ผลการศึกษา ผู้ป่วยเด็กทั้งหมด 49 ราย อายุเฉลี่ย คือ 5.22 ± 3.10 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 57.14) จมน้ำทะเล (ร้อยละ 85.71) ช่วงเวลาที่จมน้ำมากที่สุดคือ 16.00–20.00น. (ร้อยละ 40.82) เดือนที่พบผู้ป่วยจมน้ำมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ตุลาคม ธันวาคม และมกราคม (ร้อยละ 24.49, 22.45 และ 10.20 ตามลำดับ) ระยะเวลามัธยฐานที่จมน้ำ 1 นาที [พิสัย 0.5–2 นาที] และระยะเวลาที่หายไปในกรณีที่ไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์ เท่ากับ 5 นาที [พิสัย 2–30 นาที] ต้องการการช่วยฟื้นคืนชีพ ร้อยละ 22.45 ใส่ท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 26.53 ในกลุ่มจมน้ำจืดตรวจพบระดับโซเดียมในเลือดอยู่ที่ 134.75 ± 4.03 mEq/L และกลุ่มจมน้ำเค็มอยู่ที่ 144.18 ± 3.01 mEq/L มีผู้เสียชีวิตหลังการจมน้ำ 4 ราย (ร้อยละ 8.16) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต คือ ระยะเวลาที่หายไปในกรณีที่ไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์มากกว่าเท่ากับ 10 นาที (p = 0.008) ระยะเวลาที่ช่วยฟื้นคืนชีพมากกว่า 25 นาที (p < 0.001) รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสงตอนแรกรับ (p < 0.001) ประเมินระดับความรู้สึกตัวแรกรับน้อยกว่า 5 คะแนน (p < 0.001) และการจมน้ำจืด (p = 0.033)


สรุป อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็ก คือ ร้อยละ 8.16 และปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ระยะเวลาที่หายไปกรณีที่ไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์ ระยะเวลาที่ช่วยฟื้นคืนชีพ การตอบสนองของรูม่านตาต่อแสง การประเมินระดับความรู้สึกตัว และชนิดของน้ำที่จม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. The global report on drowning [Internet]. 2014 [accessed Oct 1, 2022] Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/143893/9789241564786_eng.pdf

World Health Organization [Internet]. 2021 [accessed Oct 1, 2022]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/drowning.

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การตกน้ำ จมน้ำ ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558–2562 (Situation Analysis of Drowning in Thailand 2015–2019). นนทบุรี, ประเทศไทย [Internet]. 2022 [accessed Oct 1, 2022]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1343620221109042458.pdf

Quan L, Bierens JJ., Lis R, Rowhani-Rahbar A, Morley P, Perkins GD. Predicting outcome of drowning at the scene: A systematic review and meta-analyses. Resuscitation. 2016; 104: 63–75.

Denny SA, Quan L, Gilchrist J, McCallin T, Shenoi R, Yusuf S, et al. Prevention of Drowning. Pediatrics. 2021; 148: e2021052227.

Orlowski JP. Prognostic factors in pediatric cases of drowning and near-drowning. JACEP. 1979; 8: 176–9.

Mosayebi Z, Movahedian AH, Mousavi GA. Drowning in children in Iran: Outcomes and prognostic factors. Med J Malaysia. 2011; 66: 187–90.

Torimitsu S, Yajima D, Inokuchi G, Makino Y, Motomura A, Chiba F, et al. Electrolyte analysis of pleural effusion for discrimination between seawater and freshwater drowning in decomposed bodies. J Forensic Leg Med. 2022: 90; 102389.

Garland J, Philcox W, Kesha K, McCarthy S, Lam LCS, Palmiere C, et al. Elevated Cerebrospinal Fluid Sodium and Chloride Levels in a Saltwater Drowning Death. Am J Forensic Med Pathol. 2019; 40: 258–61.

Susiva C, Boonrong T. Near-drowning in Pediatric Respiratory Intensive Care Unit, Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai. 2005; 88 Suppl: S44–7.

Ruthaiwat J. Near drowning in pediatric department, Surin hospital in 2006-2008. MJSSBH. 2009; 24: 315–26.

Wiriyakunnan P, Wijakprasert P. Mortality rate of childhood drowning. Thai J Pediatr. 2022; 61: 49–56.

Prameprart M, Lim A, Tongkumchum P. Modeling unintentional drowning mortality rates in Thailand, 2000-2009. Asia Pac J Public Health. 2015; 27: NP2471–9.

Mott TF, Latimer KM. Prevention and Treatment of Drowning. Am Fam Physician. 2016; 93: 576–82.

Reizine F, Delbove A, Dos Santos A., Bodenes L, Bouju P, Fillatre P, et al. Clinical spectrum and risk factors for mortality among seawater and freshwater critically ill drowning patients: a French multicenter study. Crit Care. 2021; 25: 372.