การติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกและปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
คำสำคัญ:
การติดเชื้อในช่องเยื้อหุ้มคอชั้นลึก , ภาวะแทรกซ้อน , ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บริบท การติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก (deep neck infection : DNI) เป็นปัญหาที่สำคัญในแผนกหู คอ จมูก ที่ยังพบภาะแทรกซ้อนที่รุนแรง
วัตถุประสงค์ ศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย DNI และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน
วิธีการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย DNI และเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตั้งแต่ มกราคม 2560 ถึง ธันวาคม 2564 โดยเก็บข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียน ได้แก่ เพศ อายุ โรคประจำตัว อาการแสดง สาเหตุการติดเชื้อ ตำแหน่งการติดเชื้อ เชื้อก่อโรค ระยะเวลานอนโรงพยาบาล การรักษา ภาวะแทรกซ้อน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อโดยวิเคราะห์การถดถอย (Regression
analysis)
ผลการศึกษา มีผู้ป่วย 272 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.62 เพศหญิง ร้อยละ 43.48 อายุ 2 - 90 ปี อายุเฉลี่ย 37.72 ± 22.05 ปี โรคประจำตัวที่พบมากที่สุด คือ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 16.91) สาเหตุการติดเชื้อที่พบมากที่สุด คือ การติดเชื้อจากฟัน (ร้อยละ 55.51) อาการแสดงที่พบบ่อย คือ ปวดบวมที่ลำคอหรือใบหน้า (ร้อยละ68.75) ตำแหน่งการติดเชื้อที่พบมากที่สุด คือ Buccal space (ร้อยละ 21.69) เชื้อก่อโรคที่พบมากที่สุด คือ Klebsiella pneumoniae (ร้อยละ 14.47) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 6.45 ± 6.02 วัน การรักษาด้วยการผ่าตัดระบายหนอง (ร้อยละ 44.85) เจาะดูดหนอง (ร้อยละ 11.40) และยาปฏิชีวนะอย่างเดียว (ร้อยละ 43.75) ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 13.24 พบมากที่สุด คือ ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน (ร้อยละ 10.29)
ผู้ป่วยเสียชีวิต 3 ราย (ร้อยละ 1.10) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยวิธีการถดถอยแบบหลายตัวแปร ได้แก่ การติดเชื้อตำแหน่ง Parapharyngeal space (ORadj 41.86, 95%CI 4.69-373.69, p-value 0.001) การติดเชื้อหลายตำแหน่ง (ORadj 4.62, 95%CI 1.48-14.39, p-value 0.008)
และการนอนโรงพยาบาล > 10 วัน (ORadj 15.38, 95%CI 5.13-46.18, p-value 0.001)
สรุป DNI สาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อที่ฟัน อาการปวดบวมที่ลำคอหรือใบหน้าเป็นอาการที่พบมากที่สุด ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน คือ การติดเชื้อตำแหน่ง parapharyngeal space การติดเชื้อหลายตำแหน่งและมีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลมากกว่า 10 วัน
References
Aiken AH, Shatzkes DR. Approach to Masses in Head and Neck Spaces. Diseases of the Brain, Head and Neck, Spine. 2020-2023: 203-14.
Wang LF, Kuo WR, Tsai SM, Huang KJ. Characterizations of life-threatening deep cervical space infections: a review of one hundred ninety six cases. Am J Otolaryngol. 2003; 24: 111-17.
อรัญ คำภาอินทร์. ลักษณะการติดเชื้อในช่องคอชั้นลึกระหว่างผู้ป่วยโรคเบาหวานและไม่เป็นเบาหวาน ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิจัยทางการแพทย์. 2021; 36: 41-51.
Alexandre BS., Antonio JG., Fernando AMC, Norberto KK, Marcelo BM. Deep neck infection - analysis of 80 cases. Rev Bras Otolaryngol. 2008; 74: 253-9.
อัศวิน เรืองมงคลเลิศ. การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื้อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2560; 4: 5-15.
วราลักษณ์ ยิ่งสกุล, พิชญ์นาฏ ศรีเมฆารัฐ. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต11. 2563; 34: 171-83.
Yang W, Hu L, Wang Z, Nie G, Li X, Lin D, et al. Deep neck infection: a review of 130 cases in southern China. Medicine. 2015; 94: 1-7.
Lee JK, Kim HD, Lim SC. Predisposing factors of complicated deep neck infection: an analysis of 158 cases. Yonsei Med J. 2007; 48: 55-62.
พิมวิชญา ซื่อทรงธรรม, สุพจน์ เจริญสมบัติอมร, จิรพงษ์ อังอะรา. การอักเสบติดเชื้อในช่องคอชั้นลึกในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์ เขตเมือง. 256; 62: 365-74.
Srivanitchapoom C, Sittitrai P, Pattarasakulchai T, Tananuvat R. Deep neck infection in Northern Thailand. Eur Arch of Oto Rhino Laryngol. 2012; 269: 241-6.
กรภัทร์ เอกัคคตาจิต. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ วารสารโรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2562; 34: 321-32.
รัชดาพร รุ้งแก้ว. การศึกษาย้อนหลังการอักเสบติดเชื้อบริเวณช่องเยื้อหุ้มคอชั้นลึกของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา แผนกผู้ป่วยใน กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลศรีษะเกษ ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2563; 2: 213-28.
นันทกร ดำรงรุ่งเรือง. การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื้อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2564; 41: 12-23.
สุวรรณ วังธนากร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในเนื้อเยื่อคอชั้นลึกที่มีความรุนแรงโดยศึกษาแบบย้อนหลังในโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสาร หู คอ จมูก และใบหน้า. 2564; 22: 3-19.
Alexandre BA, Andre FNR, Norberto KK, Marcelo BM, Evelyn de AR, Julia NK, et al. Predictive factors of lethality and complications of deep fascial space infections of the neck. Rev Col Bras Cir. 2020 ; 47: 1-7.
Suetrong S, Reechaipichitkul W, Chainansamit S, Piromchai P. Deep neck infection in adults: factor associated with complicated treatment outcomes. J Med Assoc Thai. 2017; 100: 179-88.
Huang TT, Tseng FY, Chen YS. Deep neck infection in diabetic patients: Comparison of clinical picture and outcomes with nondiabetic patients. Otolaryngol Head Neck Surg. 2005; 132: 943-47.
Lin HT, Tsai CS, Chen YL, Liang JG. Influence of diabetes mellitus on deep neck infection. J Laryngol Otol. 2006; 120: 650-4.
Lui CH, Lin CD, Cheng YK, Lin HC, Tsai MH. Deep neck infection in children. Acta Paediatr Taiwan. 2004; 45: 265-8.
Isaie N, Eric M, Jean PM, David S. Clinical presentation and factors leading to complications of Deep neck space infections at CHUK. Rwa J Med and Heal Sci. 2021; 4: 8-18.
Boscolo-Rizzo P, Da Mosto MC. Submandibular space infection: a potentially lethal infection. Int J Infect Dis. 2009; 13: 327-33.
22. Singh M, Kambalimath DH, Gupta KC. Management of Odontogenic Space Infection with Microbiology Study. J Maxillofac Oral Surg. 2014; 13: 133-39.
Klug TE, Greve T, Hentze M. Complications of peritonsillar abscess. Annals of Clinical Microbiology and Antimicrobials. 2020; 19: 1-17.
Celakovsky P, Kalfert D, Smatanova K, Tucek L, Cermakova E, Mejzlik J, et al. Bacteriology of deep neck infections: analysis of 634 patients of deep neck infections: analysis of 634 patients. Aust Dent J. 2015; 60: 212-15.
Boscolo-Rizzo p, Stellin M, Muzzi E, Mantovani M, Fuson R, Lupato V, et al. Deep neck infections: a study of 365 cases highlighting recommendations for management and treatment. Eur Arch Oto Rhino Laryngol. 2012; 269: 1241-9.
Yang SW, Lee MH, See LC, Huang SH, Chen TA. Deep neck abscess: an analysis of microbial etiology and the effectiveness of antibiotics. Infect Drug Resist. 2008; 1: 1-8.
Page C, Chassery G, Boute P, Obongo R, Strunski V. Immediate tonsillectomy: indications for use as first-line surgical management of peritonsillar abscess (quinsy) and parapharyngeal abscess. J Laryngol Otol. 2010; 124: 1085-90.
Cho SY, Woo JH, Kim YJ, Chun EH, Han JI, Kim DY, et al. Airway management in patients with deep neck infections. Medicine (Baltimore). 2016; 95: 1-6.
Lim HK, Wang JM, Hung ST, Ku HC. A dangerous cause of airway obstruction: deep neck infection. Signa Vitae. 2021; 17 :4-9.
Huang TT, Liu TC, Chen PR, Tseng FY, Yeh TH, Chen YS. Deep neck infection: analysis of 185 cases. Head Neck. 2004; 26: 845-60.
Huang L, Jiang B, Cai X. Multi-Space Infections in the Head and Neck: Do Underlying Systemic Diseases Have a Predictive Role in Life-Threatening Complications?. Oral Maxillofac Surg. 2015; 73: 1-10.
Klug TE, Fischer ASL, Antonsen C, Rusan M, Eskildsen H, Ovesen T. Parapharyngeal abscess is frequently associated with concomitant peritonsillar abscess. Eur Arch Oto Rhino Laryngol. 2014; 271: 1701-7.
Han X, An J, Zhang Y, Gong X, He Y. Risk Factors for Life-Threatening Complications of Maxillofacial Space Infection. J Craniofac Surg. 2016; 27: 385-90.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Burapha University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.