การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์ของการทดสอบความปราศจากเชื้อของเภสัชภัณฑ์และการประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังของผู้เรียน

Main Article Content

ปันเอก เรืองศิริกร
นันทวรรณ จินากุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
บริบท การทดสอบความปราศจากเชื้อของเภสัชภัณฑ์เป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญที่นักศึกษาเภสัชศาสตร์จะต้องเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นระบบออนไลน์จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำสื่อการเรียนรู้หัวข้อ ดังกล่าวเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรวมถึงการทบทวนบทเรียนด้วยตนเองของนักศึกษา
วัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำและเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เรื่องวิธีการทดสอบความปราศจากเชื้อของเภสัชภัณฑ์รวมถึงประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนก่อนและหลังการดูสื่อการเรียนรู้
วิธีการศึกษา จัดทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เรื่อง การทดสอบความปราศจากเชื้อของเภสัชภัณฑ์ด้วยวิธี membrane filtration และเผยแพร่ให้ผู้เรียนซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 128 คน ผ่านโปรแกรมจัดการเรียนการสอนออนไลน์ Microsoft Teams (MS-team) ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนโดยเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนผ่านสื่อออนไลน์โดยใช้แบบทดสอบวัดผลชนิดเลือกคำตอบประเภทปรนัย จำนวน 10 ข้อ นำเสนอข้อมูลในรูปแบบ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าร้อยละ และทดสอบความแตกต่างของข้อมูลด้วยสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น p<0.05
ผลการศึกษา สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เรื่อง วิธีการทดสอบความปราศจากเชื้อของเภสัชภัณฑ์ประกอบด้วยการบรรยายและสาธิตในหัวข้อ วิธีการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และอาหารเลี้ยงเชื้อ การทดสอบ growth promotion และ suitability รวมถึงการทดสอบในตัวอย่างเภสัชภัณฑ์ เมื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน พบว่าคะแนนก่อนและหลังศึกษาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.25±1.757 และ 8.64±1.446 คะแนน, p<0.05)
สรุป การทำสื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนได้ รวมถึงช่วยให้นักศึกษาได้ทบทวนความรู้และเข้าใจในเนื้อหามากขึ้นรวมทั้งเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ ได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Nimitwongsin S. The cleanroom for sterile products. Chula Med J. 2014; 58: 1 – 17.

Sachin S, Baddam A, Simran N, Lakshmi. VP, Akhila H, Sharma J.V.C. Review on sterility testing. Inr J Sci Res. 2021; 6: 581.

เมธี ศรีประพันธุ์, ปิยทิพย์ ขันตยาภรณ์, บรรณาธิการ. เทคนิคทางเภสัชจุลชีววิทยา. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด; 2564.

Cronbach, L. J. Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins; 1970.

กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี, ปิยทิพย์ ขันตยาภรณ์, สุเมธ จงรุจิโรจน์, บรรณาธิการ. การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้านจุลชีววิทยา. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก จำกัด; 2559.

Department of Medical Sciences. Thai Pharmacopoeia Supplement 2020. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand., Ltd.; 2020.

The United States Pharmacopoeia Convention Inc. The United States Pharmacopoeia 39. Volume 1. Rockville: MD; 2016.

Aakanchha Jain, Richa Jain, Sourabh Jain. Basic Techniques in Biochemistry, Microbiology and Molecular Biology. New York: Springer Protocols Handbooks; 2020: 123.

กันตภณ พลิ้วไธสง. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ในรายวิชาฟัซซีลอจิก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 2559; 10: 21.

มนสิชา เปล่งเจริญศิริชัย. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 2558; 8: 950.