ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในการคลอดทางช่องคลอดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

จิรัสย์พล ไทยานันท์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บริบท ภาวะตกเลือดใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมารดา ร้อยละ 27 ทั่วโลก ความชุกของไทย ปี พ.ศ.2552 ถึง 2558 พบร้อยละ 2.30, 2.37, 2.44, 2.40, 2.39, 2.54 และ 2.65 โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับการศึกษาความชุก ปัจจัยเสี่ยงของภาวะตกเลือดหลังคลอดทางช่องคลอดยังมีผลวิจัยที่แตกต่างตามภูมิภาคของไทยและผลการวิจัยใช้เป็นแนวทางการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตรได้
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมงแรกของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา และปัจจัยที่สัมพันธ์กับปริมาณการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2558 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 ประชากร คือ สตรีตั้งครรภ์ทุกรายที่มาคลอดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา 2,569 คนกลุ่มตัวอย่าง ใช้เกณฑ์คัดเข้า 1) คลอดบุตรทางช่องคลอด 2) ปริมาณเสียเลือดมากกว่า 500 มิลลิเมตรภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดได้กลุ่มตัวอย่าง 94 คน ใช้แบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยการทดสอบ Chi-Square
ผลการวิจัย พบความชุกของการตกเลือดภายใน 24 ชั่วโมงแรกของการคลอดทางช่องคลอด ร้อยละ 6.14 ปริมาณตกเลือดระดับเล็กน้อย ร้อยละ 4.51 ตกเลือดระดับรุนแรง ร้อยละ 1.63 สาเหตุหลักคือการฉีกขาดของช่องทางคลอด ร้อยละ 47.9 รองลงมาคือ มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ร้อยละ 21.3 ปัจจัยลักษณะทั่วไป พบว่า อายุ สัมพันธ์กับปริมาณการตกเลือดหลังคลอด (p < .05) ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p <.01 คือ ระยะของการคลอดผิดปกติ
สรุป ความชุกของการตกเลือดภายใน 24 ชั่วโมงแรกของการคลอดทางช่องคลอดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา มีความชุกสูงกว่าที่พบในระดับประเทศ สาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากการฉีกขาดของช่องทางคลอด และภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ปัจจัยที่สัมพันธ์กับปริมาณการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก ได้แก่ อายุ ระยะเวลาที่ใช้ในการคลอด และสาเหตุของการตกเลือด นำไปสู่การพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการดูแลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกและลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาได

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Cunningham, F., Leveno, K., Bloom, S., Rouse, D. & Spong C.. William Obstetrics. 24th ed.New York : McGraw-Hill, 2014.

Belfort MA, Lockwood CJ, Levine D, Barss VA. Overview of postpartum hemorrhage [Internet]. 2022 [accessed july 15, 2022]. Available fromAvailable from: https://www.uptodate.com/contents/overview-of-postpartum hemorrhage?search=overview-ofpostpartum-hemorrhage.&source=search_result&selectedTitle=1~150&usage_type=default&display_rank=1.

World Health Organization, UNICEF, United Nations Population Fund and The World Bank. Trends in maternal mortality: 2000

to 2017. [Internet]. 2019 [accessed July 17, 2022]. Available from: https://data.unicef.org/topic/maternal-health/maternal mortality/

Khan KS, Wojdyla D, SayL, G¨ulmezoglu AM, VanLookPF. WHO analysis of causes of maternal death: a systematic review. Lancet. 2006; 367: 1066–74.

กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. อัตราส่วนการตายมารดา. กรุงเทพฯ: กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/th/

maternal-mortality-ratio/download?id =79052&mid=30954&mkey=m_document&lang=th&did=24018.

Anderson JM, Etches D. Prevention and management of postpartum hemorrhage. Am Fam Physician. 2007; 75: 875-82.

นฏกร อิตุพร, ฐิติมา นุตราวงศ์, อมรรัตน์ รัตนสิริ, กุลฑลี บุญประเสริฐม, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา,ทัศนีย์ ณ พิกุล. ปัจจัยเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดจากการคลอดทางช่องคลอด: การทบทวนวรรณกรรมและวิเคราะห์อภิมาน. เชียงรายเวชสาร. 2551; 10: 149-60.

RCOG. Prevention and Management of Postpartum Haemorrhage. Green-top Guideline No. 52. BJOG: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology. 2017; 124: e106-e149.

Ameh C, Althabe F. Improving postpartum hemorrhage care: Policy, practice, and research. Int J Gynaecol Obstet. 2022; 158: 4-5.

Mvandal S., Kindimba C. Prevalence, causes and associated factors for postpartum haemorrhage (Pph) at St. Joseph Referral Hospital Peramiho-Songea, Tanzania; a hospital-based retrospective cross-sectional study. Preprints 2021, 2021090417.

Calvert C, Thomas SL, Ronsmans C, Wagner KS, Adler AJ, Filippi V. Identifying regional variation in the prevalence of postpartum haemorrhage: a systematic review and meta-analysis. PLoS One. 2012; 7: e41114.

RCOG. Management of third and fourth degree perineal tears. Green-top guideline no. 29. [Internet]. 2007 [accessed September 20, 2022]. Available from: http://www.rcog.org.uk/files/rcog-corp/GTG2911022011.pdf

AbouZahr C. Global burden of maternal death and disability. Br Med Bull. 2003; 67: 1–11.

บุษยรัตน์ วงศ์วิริยะเวช, ณัฏฐพร จันทร์แสนโรจน์ และชุติมา เทียนชัยทัศน์. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2561; 1: 39-47.

ศิริวรรณ วิเลิศ ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ และ ดรุณี ยอดรัก. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอดในมารดาคลอดทาง

ช่องคลอด ในหอผู้ป่วยสูติกรรมสามัญ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2559; 9: 173-90.

Ononge S, Mirembe F, Wandabwa J, Campbell OM. Incidence and risk factors for postpartum hemorrhage in Uganda. Reprod Health. 2016; 13: 1-7.

Ngwenya S. Postpartum hemorrhage: incidence, risk factors, and outcomes in a low-resource setting. Int J Womens Health. 2016; 8: 647-50.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ เรื่องการป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด (ฉบับสรุปคำแนะนำ). [อินเตอร์เน็ท]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: http://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2022/05/OB63-020.pdf.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล และ สมจิตร เมืองพิล. การป้องกันการฉีกขาดฝีเย็บในระยะคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2552; 32: 102-8.