การยอมรับทางรสชาติของเยลลี่น้ำบีทรูทในอาสาสมัครสุขภาพดี
คำสำคัญ:
เยลลี่, บีทรูท, การประเมินความชอบบทคัดย่อ
บทนำ บีทรูทถือเป็นผักเพื่อสุขภาพและเป็นหนึ่งในอาหารทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่การศึกษาเกี่ยวกับบีทรูทในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก โดยเฉพาะในแง่ของการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ
วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตเยลลีน้ำบีทรูทสำหรับเป็นอาหารหวาน และเพื่อศึกษาระดับการยอมรับทางประสาทสัมผัสของเยลลีน้ำบีทรูทเทียบกับเยลลีสูตรควบคุมในอาสาสมัครสุขภาพดี
วิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง อาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัยเป็นอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี เพศชายและหญิง อายุ 18 - 30 ปี จำนวน 30 คน ผู้วิจัยทำการผลิตเยลลีน้ำบีทรูทและเยลลีสูตรควบคุม จากนั้นให้อาสาสมัครชิมเยลลีทั้ง 2 สูตร แบบสุ่มแล้วทำแบบประเมินการยอมรับทางประสาทสัมผัส โดยมีแบบประเมิน 3 แบบ ได้แก่ แบบประเมินความชอบแบบ 9-point hedonic scale แบบประเมินความชอบแบบบรรยายลักษณะ และแบบประเมินความชอบแบบระบุสเกล
ผลการศึกษา ผลการประเมินความชอบแบบ 9-point hedonic scale พบว่าเยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ย
ด้านลักษณะปรากฏไม่แตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุม แต่มีคะแนนเฉลี่ยด้านกลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และ
ความชอบรวมต่ำกว่าเยลลีสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยเยลลีสูตรควบคุมและ
เยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ยด้านความชอบรวมอยู่ในระดับเฉย ๆ ถึงชอบระดับเล็กน้อย และชอบระดับเล็กน้อย ตามลำดับ ผลการประเมินความชอบแบบบรรยายลักษณะพบว่าเยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ยด้านลักษณะปรากฏ และเนื้อสัมผัสไม่แตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุม แต่มีคะแนนเฉลี่ยด้านสี กลิ่น และรสชาติต่ำกว่าเยลลีสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และผลการประเมินความชอบแบบระบุสเกลพบว่าเยลลีน้ำบีทรูทมี คะแนนเฉลี่ยด้านความหวาน ความหอม ความเข้มของรสชาติ และความหยุ่นไม่แตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุม
สรุป เยลลีน้ำบีทรูทมีความแตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุมด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบรวม เมื่อประเมินการยอมรับทางรสชาติด้วยแบบประเมินความชอบแบบ 9-point hedonic scale และแบบบรรยายลักษณะ โดยเยลลีสูตรควบคุมและเยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ย ด้านความชอบรวมในระดับเฉย ๆ ถึงชอบระดับเล็กน้อย และชอบระดับเล็กน้อย ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าเยลลีสูตรควบคุมเป็นที่ยอมรับของอาสาสมัครมากกว่าเยลลีน้ำบีทรูท
References
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. ข้อมูลพรรณไม้ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2565, เข้าถึงได้จาก: http://www.rspg.or.th/plants_data/pdata_04.htm
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. Thai Food Composition Tables 2015. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2565, เข้าถึงได้จาก: https://inmu2.mahidol.ac.th/thaifcd/home.php
เปรมจิตต์ สิทธิศิริ, สุทิน เกตุแก้ว. กินอยู่เพื่อสุขภาพ. กรุงเทพ: บริษัท เมมี่ เทรดดิ้ง; 2542.
Kapil V, Khambata RS, Robertson A, Caulfield MJ, Ahluwalia A. Dietary nitrate provides sustained blood pressure lowering in hypertensive patients: a randomized, phase 2, double-blind, placebo-controlled study. Hypertension. 2015; 65: 320-27.
กุสุมา ทินกร ณ อยุธยา, นัทมน พุฒดวง. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลีธัญพืชเพื่อสุขภาพ. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร
มหาวิทยาลัยสยาม. 2559; 11: 13-20.
ยุวดี ขุนภักดี, วรินทร กาวี, รสสุคนธ์ วุทธิกูล, นพดล โพชกำเหนิด, ณรงค์ สุนทรอภิรักษ์. เยลลีคาราจีแนนผสมเนื้อลูกจากเพื่อชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2555; 15: 228-35.
เกวลี ปารมีกาศ, จิตตนันท์ คาตัน, จีรภา ใจวัน, พนิดาร ตันปิติกรณ์. ผลของปริมาณเจลาตินคาราจีแนน คอลลาเจน ที่มีต่อสมบัติการเกิดเจลของผลิตภัณฑ์เยลลีฟักข้าวเสริมคอลลาเจน. FST CMU Research Exercise Journal. 2559; 1-18.
นริศา เรืองศรี, อุไรภรณ์ บูรณสุขสกุล, อลงกต สิงห์โต. การยอมรับและความพึงพอใจต่อตำรับอาหารลดหวานมันเค็ม. บูรพาเวชสาร 2561; 5: 38-49.
Banigo EB, Kiin-Kabari DB, Owuno F. Physicochemical and sensory evaluation of soy/carrot drinks flavoured with beetroot. African Journal of Food Science and Technology. 2015; 6: 136-40.
Emelike NJT, Hart AD, Ebere CO. Influence of drying techniques on the sensory properties, physicochemical and mineral composition of beetroot juice. IOSR Journal of Environmental Science. Toxicology and Food Technology. 2015; 9: 20-6.
Ali MR, Mohamed RM, Abedelmaksoud TG. Functional strawberry and red beetroot jelly candies rich in fibers and phenolic compounds. Food systems. 2021; 4: 82-8.
Dhiman A, Chawla D, Thakur D, Chauhan D, Bharara C, Singh A. Development and optimization of ready to serve (RTS) beetroot drink. Asian Journal of Dairy and Food Research. 2020; 39: 49-57.
Güneşer O. Pigment and color stability of beetroot betalains in cow milk during thermal treatment. Food Chem. 2016; 196: 220–7.
Jackman RL, Smith JL. Anthocyanins and betalains. In: Hendry GF, Houghton JD, editors. Natural food colourants. London: Blackie Academic and Professional; 1996. p. 244–309.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Burapha University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.