ผลของการเปลี่ยนแปลงความชันของกระดูกทิเบียส่วนบนต่อการงอเข่าในการผ่าตัดเปลี่ยน ข้อเข่าเทียมแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้หลังโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด
คำสำคัญ:
ข้อเข่าเสื่อม, คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, อนุรักษ์เอ็นไขว้หลัง, ความชัน, กระดูกหน้าแข้ง (ทิเบียส่วนบน)บทคัดย่อ
บริบท มีหลายการศึกษาพบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดสามารถหาความชันของกระดูกทิเบียส่วนบนหรือ
กระดูกหน้าแข้งขณะผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมซึ่งส่งผลต่อการหาระยะสมดุลในท่างอเข่าและพิสัยการเคลื่อนไหว
ของข้อเข่าหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้หลัง
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของความชันกระดูกหน้าแข้งระหว่างก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด
ในผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนข้อเข่าแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้หลังโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด รวมถึงศึกษาผลของการ
เปลี่ยนแปลงความชันต่อการหาจุดสมดุลในท่างอเข่าหลังการผ่าตัด
วิธีการศึกษา ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลผลการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าย้อนหลังแบบตัดขวาง โดยก่อนผ่าตัดผู้ป่วยมีอายุ
มากกว่า 60 ปีขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยเป็นข้อเข่าเสื่อม สามารถงอเข่าได้มากกว่า 100 องศา และแพทย์วางแผน
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบวิธีอนุรักษ์เอ็นไขว้หลังโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด (computer-assisted
surgery-cruciate retaining-total knee arthroplasty, CAS-CR-TKA) ที่ โรงพยาบาลวชิระพยาบาล ตั้งแต่
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ.2554 ผู้วิจัยแบ่งข้อเข่าที่ได้รับการผ่าตัดเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม
ควบคุม คือ ข้อเข่าที่ได้รับการผ่าตัดแบบ CAS-CR-TKA และหลังผ่าตัดสามารถงอเข่าได้เท่ากับหรือมากกว่าก่อน
การผ่าตัด กลุ่มศึกษา คือ ข้อเข่าที่จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีผ่าตัดในห้องผ่าตัดจากแบบ CAS-CR-TKA ไปเป็นการ
ผ่าตัดแบบตัดเอ็นไขว้หลังออกหรือต้องเปลี่ยนเป็นข้อเข่าเทียมแบบทดแทนเอ็นไขว้หลัง (posterior stabilizedtotal knee arthroplasty, PS-TKA) เนื่องจากไม่สามารถหาระยะสมดุลในท่างอเข่าขณะผ่าตัดได้ หรือหลังผ่าตัด
ผู้ป่วยงอเข่าได้น้อยลงกว่าเดิม 15 องศา ผู้วิจัยศึกษาความชันของกระดูกหน้าแข้งทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดที่
ได้จากภาพคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด และภาพถ่ายทางรังสีที่ได้จากก่อนการผ่าตัด และที่ระยะ 1 เดือน 3 เดือน
และ 6 เดือนหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา ผู้ป่วยจำนวน 43 ราย มีจำนวน 46 ข้อเข่า แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 11 ข้อเข่า และกลุ่มศึกษา
จำนวน 35 ข้อเข่า ความชันของกระดูกหน้าแข้งระหว่างก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดของทั้งสองกลุ่มคือ กลุ่มควบคุม
และกลุ่มศึกษาไม่มีความแตกต่างกัน แต่พบว่าการเปลี่ยนแปลงความชันของกระดูกหน้าแข้งระหว่างในกลุ่ม
ควบคุม คือ 4.16 องศา และกลุ่มศึกษา คือ 7.64 องศา ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .01)
และ พบว่ากลุ่มศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงความชัน 7.64 องศา เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถหาจุดสมดุลในท่างอเข่าด้วย
วิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้หลังได้
สรุป การเปลี่ยนแปลงความชันของกระดูกหน้าแข้งระหว่างก่อนและหลังผ่าตัดที่มากเกินไป (ในการศึกษานี้คือ
มากกว่า 7.64 องศา) จะทำให้ไม่สามารถหาระยะสมดุลในท่างอเข่าขณะผ่าตัด จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการ
ผ่าตัดเข่าเทียมแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้หลังไปเป็นวิธีอื่นแทน
References
Borenstein D, Brandt K, et al. Development
of criteria for the classification and
reporting of osteoarthritis. Classification
of osteoarthritis of the knee. Diagnostic
and Therapeutic Criteria Committee of the
American Rheumatism Association. Arthritis
Rheum. 1986; 29: 1039-49.
2. Rosenberg AG, Knapke DM. Posterior
Cruciate-Retaining Total Knee Arthroplasty.
In: Scott WN, Clarke HD, Cushner FD,
Greenwald AS, Haidukewych GJ, O’Connor
MI, et al., editors. Surgery of the Knee. 4th
ed. Philadelphia: Churchill Livingstone
Elsevier; 2006. p. 1522-30.
3. John R. Crockarell J, Guyton JL. Arthroplasty
of the Knee. In: Canale ST, Beaty JH, editors.
Campbell’s Operative Orthopaedics. 11th
ed. Philadelphia, Pennsylvania: Mosby/
Elsevier; 2008. p. 262-72.
4. Genin P, Weill G, Julliard R. [The tibial
slope. Proposal for a measurement
method]. J Radiol. 1993; 74: 27-33.
5. Brazier J, Migaud H, Gougeon F, Cotten A,
Fontaine C, Duquennoy A. [Evaluation of
methods for radiographic measurement
of the tibial slope. A study of 83 healthy
knees]. Rev Chir Orthop Reparatrice Appar
Mot. 1996; 82: 195-200.
6. Yoo JH, Chang CB, Shin KS, Seong SC,
Kim TK. Anatomical references to assess
the posterior tibial slope in total knee
arthroplasty: a comparison of 5 anatomical
axes. J Arthroplasty. 2008; 23: 586-92.
7. Whiteside LA, Amador DD. The effect of
posterior tibial slope on knee stability
after Ortholoc total knee arthroplasty. J
Arthroplasty. 1988; 3 Suppl: S51-7.
8. Singerman R, Dean JC, Pagan HD, Goldberg
VM. Decreased posterior tibial slope
increases strain in the posterior cruciate
ligament following total knee arthroplasty.
J Arthroplasty. 1996; 11: 99-103.
9. Bellemans J, Robijns F, Duerinckx J, Banks
S, Vandenneucker H. The influence of tibial
slope on maximal flexion after total knee
arthroplasty. Knee Surg Sports Traumatol
Arthrosc. 2005; 13: 193-6.
10. Jenny JY. The effect of posterior tibial
slope on range of motion after total knee
arthroplasty. J Arthroplasty. 22. United
States2007. p. 784; author reply
11. Wang XF, Chen BC, Shi CX, Gao SJ, Shao
DC, Li T, et al. [Effect of increased posterior
tibial slope or partial posterior cruciate
ligament release on knee kinematics of
total knee arthroplasty]. Zhonghua Wai Ke
Za Zhi. 2007; 45: 839-42.
12. Massin P, Gournay A. Optimization of the
posterior condylar offset, tibial slope,
and condylar roll-back in total knee
arthroplasty. J Arthroplasty. 2006; 21:889-
96.
13. Kansara D, Markel DC. The effect of
posterior tibial slope on range of motion
after total knee arthroplasty. J Arthroplasty.
2006; 21: 809-13.
14. Chaiyakit P, Meknavin S, Hongku N. Effects
of posterior cruciate ligament resection in
total knee arthroplasty using computer
assisted surgery. J Med Assoc Thai. 2009;
92 Suppl 6: S80-4.
15. Lombardi AV, Jr., Berend KR, Aziz-Jacobo
J, Davis MB. Balancing the flexion gap:
relationship between tibial slope and
posterior cruciate ligament release and
correlation with range of motion. J Bone
Joint Surg Am. 2008;90 Suppl 4: 121-32.
16. Chiu KY, Zhang SD, Zhang GH. Posterior
slope of tibial plateau in Chinese. J
Arthroplasty. 2000; 15: 224-7.
17. Matsuda S, Miura H, Nagamine R, Urabe K,
Ikenoue T, Okazaki K, et al. Posterior tibial
slope in the normal and varus knee. Am J
Knee Surg. 1999; 12: 165-8.