ผลของการจัดประสบการณ์ทางคลินิกในช่วงต้นของหลักสูตรของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • ศรสุภา ลิ้มเจริญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย
  • จิรัฏฐ์ สุขมี โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย
  • ผกาพรรณ ดินชูไท คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย
  • นลินี ภัทรากรกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย
  • สินีนาฏ พาณิชยวัฏ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การสัมผัสความรู้และประสบการณ์ทางคลินิกตั้งแต่ระยะเริ่มแรก, การศึกษา, นิสิตแพทย์, ชั้นพรีคลินิก

บทคัดย่อ

บริบท การจัดการศึกษาแพทยศาสตร์ในวิถีแบบดั้งเดิมทำให้ผู้เรียนประสบความยากลำบาก การให้ผู้เรียนได้สัมผัส
ความรู้และประสบการณ์ทางคลินิกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาต่อโครงการ
“การสัมผัสความรู้และประสบการณ์ทางคลินิกตั้งแต่ระยะเริ่มแรก” (ECE)
วิธีการศึกษา นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาสมัครใจเข้าร่วมโครงการ ECE ที่คณะ
ผู้วิจัยจัดขึ้นในภาคฤดูร้อนหลังสิ้นสุดปีการศึกษาปีที่ 2 โดยเป็นการฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล จากนั้น
นิสิตแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการตอบแบบสอบถามทันทีเมื่อสิ้นสุดโครงการ และตอบแบบสอบถามเดิมอีกครั้งเมื่อ
จบการศึกษาภาคต้นของชั้นปีที่ 3 ใน 6 เดือนต่อมา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นระหว่าง 2 ครั้งโดยใช้สถิติ
Wilcoxon match-pairs rank test เก็บข้อมูลเกรดเฉลี่ย (GPA) ของนิสิตปี 2 ภาคการศึกษาปลาย และนิสิตกลุ่ม
เดียวกันเมื่อจบชั้นปี 3 ภาคการศึกษาต้น เปรียบเทียบเกรดเฉลี่ยของ 2 ภาคการศึกษาในนิสิตแพทย์ที่เข้าร่วม
โครงการเพื่อดูการปรับปรุงโดยใช้สถิติ Wilcoxon match-pairs signed-ranks test เปรียบเทียบการปรับปรุง
ของเกรดเฉลี่ยระหว่างนิสิตแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการกับนิสิตที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการโดยใช้สถิติ independent
samples t-test
ผลการศึกษา มีจำนวนนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 อัตราการตอบ
กลับแบบสอบถามร้อยละ 80 ในครั้งแรก และร้อยละ 100 ในครั้งที่สอง ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติของค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของทั้งสองครั้ง (p = 1.00) นิสิตมากกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วยว่าโครงการนี้ทำให้
เข้าใจเนื้อหาวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์มากขึ้นและทำให้สนใจเรียนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ทางการแพทย์มากขึ้น นิสิตอย่างน้อยร้อยละ 60 เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ทำให้เห็นความสำคัญของวิชา
พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์มากขึ้น นิสิต 8 ใน 10 คนอยากให้โครงการนี้บรรจุในหลักสูตรรายวิชา
เลือกและร้อยละ 60 ของนิสิตไม่อยากให้โครงการนี้ถูกตัดออกจากหลักสูตร นิสิตแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการมี
การปรับปรุงของเกรดเฉลี่ยระหว่าง 2 ภาคการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แต่ไม่แตกต่างอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับนิสิตแพทย์ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (p = 0.354).
สรุป นิสิตแพทย์ส่วนใหญ่มีความเห็นในด้านบวกต่อโครงการ ECE โดยส่วนใหญ่อยากให้โครงการนี้บรรจุเป็น
รายวิชาเลือกในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

References

1. Saipanish R. Stress among medical students
in a Thai medical school. Medical Teacher.
2003; 25: 502-6.
2. Basak O, Yaphe J, Spiegel W, Wilm S, Carelli
F, Metsemakers JF. Early clinical exposure
in medical curricula across Europe: an
overview. Eur J Gen Pract. 2009; 15: 4-10.
3. Biswas S, Singh R, Mukherjee S, Ghoshal S,
Pramanik D. Effectiveness of early clinical
exposure in learning respiratory physiology
among newly entrant MBBS students. J
Adv Med Educ Prof. 2017; 5: 6-10.
4. Johnson AK, Scott CS. Relationship
between early clinical exposure and firstyear students’ attitudes toward medical
education. Acad Med.1998; 73: 430-2.
5. Ali K, Zahra D, McColl E, Salih V, Tredwin
C. Impact of early clinical exposure on
the learning experience of undergraduate
dental students. Eur J Dent Educ. 2018;
22: e75-e80.
6. Rawekar A, Jagzape A, Srivastava T, Gotarkar
S. Skill learning through early clinical
exposure: an experience of Indian medical
school. J Clin Diagn Res. 2016; 10: JC01-4.
1. Saipanish R. Stress among medical students
in a Thai medical school. Medical Teacher.
2003; 25: 502-6.
2. Basak O, Yaphe J, Spiegel W, Wilm S, Carelli
F, Metsemakers JF. Early clinical exposure
in medical curricula across Europe: an
overview. Eur J Gen Pract. 2009; 15: 4-10.
3. Biswas S, Singh R, Mukherjee S, Ghoshal S,
Pramanik D. Effectiveness of early clinical
exposure in learning respiratory physiology
among newly entrant MBBS students. J
Adv Med Educ Prof. 2017; 5: 6-10.
4. Johnson AK, Scott CS. Relationship
between early clinical exposure and firstyear students’ attitudes toward medical
education. Acad Med.1998; 73: 430-2.
5. Ali K, Zahra D, McColl E, Salih V, Tredwin
C. Impact of early clinical exposure on
the learning experience of undergraduate
dental students. Eur J Dent Educ. 2018;
22: e75-e80.
6. Rawekar A, Jagzape A, Srivastava T, Gotarkar
S. Skill learning through early clinical
exposure: an experience of Indian medical
school. J Clin Diagn Res. 2016; 10: JC01-4.
12. Vanichnatee T, Sitticharoon C, Maprapho
P, Keadkraichaiwat I, Charoenngam N,
Praditsuwan R. Impact of an early clinical
exposure project conducted by senior
clinical students compared between
participating and non participating students.
Adv Physiol Educ. 2018; 42: 619-25.
13. Chang PW, Chen BC, Jones CE, Bunting
K, Chakraborti C, Kahn MJ. Virtual reality
supplemental teaching at low-cost (VRSTL)
as a medical education adjunct for
increasing eealy clinical patient exposure.
Med Sci Educ. 2018; 28: 3-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29