ประสิทธิผลของอุปกรณ์วงล้อบริหารข้อไหล่ร่วมกับรอกคู่เหนือศีรษะในผู้ป่วยข้อไหล่ติด: การศึกษานำร่อง

ผู้แต่ง

  • ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • นงนุช ล่วงพ้น
  • ธัญญรัตน์ ศิริสวัสดิ์
  • อาภาพร มุระญาติ
  • บัวสด จิตเพ็ง
  • วราธเนศ หน่อแก้ว

คำสำคัญ:

ข้อไหล่ติด, วงล้อบริหารข้อไหล่, รอกคู่เหนือศีรษะ

บทคัดย่อ

บริบท ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง เกิดจากมีการอักเสบและหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อ ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบ ปวด และ องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลง
วัตถุประสงค์ ศึกษาประสิทธิผลของอุปกรณ์วงล้อบริหารข้อไหล่ร่วมกับรอกคู่เหนือศีรษะ
วิธีการศึกษา อาสาสมัคร ที่มีปัญหาข้อไหล่ติด จำนวน 2 คน ถูกแบ่งออกเป็น อาสาสมัคร คนที่ 1 ได้รับบริหาร ข้อไหล่ด้วยอุปกรณ์วงล้อบริหารข้อไหล่ร่วมกับรอกคู่เหนือศีรษะที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และอาสาสมัคร คนที่ 2 ได้รับ บริหารข้อไหล่ด้วยอุปกรณ์วงล้อบริหารข้อไหล่ร่วมกับรอกคู่เหนือศีรษะที่มีอยู่ในแผนกกายภาพบำบัด อาสาสมัคร
ทั้ง 2 คน ได้รับบริหารข้อไหล่ 30 นาทีต่อครั้ง แบ่งเป็นวงล้อบริหารข้อไหล่ 15 นาที ตามด้วยรอกคู่เหนือศีรษะ 15 นาที ความถี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมระยะเวลาทั้งหมด 5 สัปดาห์ ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ องศาการเคลื่อนไหว ของข้อไหล่ และความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ โดยนำตัวแปรต่างๆ มาเปรียบเทียบในแต่ละกลุ่มระหว่าง ก่อนกับหลังบริหารข้อไหล่ และเปรียบเทียบระหว่างอาสาสมัครคนที่ 1 และอาสาสมัครคนที่ 2
ผลการศึกษา หลังบริหารข้อไหล่ องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในท่ายกแขน กางแขน และหมุนข้อไหล่ออก ด้านนอก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้งอาสาสมัครคนที่ 1 และอาสาสมัครคนที่ 2 และเมื่อ เปรียบเทียบผลหลังการบริหารข้อไหล่ระหว่าง อาสาสมัครคนที่ 1 กับอาสาสมัครคนที่ 2 พบว่าอาสาสมัครคนที่ 1 มีมุมองศาการเคลื่อนไหวในท่ายกแขน กางแขน และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นมากกว่าอาสาสมัคร คนที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.00, p = 0.00 และ p = 0.00 ตามลำดับ)
สรุป อุปกรณ์วงล้อบริหารข้อไหล่ร่วมกับรอกคู่เหนือศีรษะที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ สามารถใช้ทดแทนวงล้อบริหารข้อ ไหล่และรอกคู่เหนือศีรษะที่มีอยู่ในแผนกกายภาพบำบัดได้ ประดิษฐ์ง่าย สามารถใช้วัสดุที่มีในชุมชนประดิษฐ์ได้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารักษา ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ลดปัญหาข้อไหล่ติดเรื้อรัง และช่วยเพิ่มคุณภาพ
ชีวิตให้กับผู้ที่มีปัญหาข้อไหล่ติด

References

ก่อกู้ เชียงทอง, ปรีชา ชลิดาพงศ์. การตรวจร่างกาย ทางออร์โธปิดิคส์. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: พี.บี. ฟอเรนบุ๊คส์ เซ็นเตอร์; 2536.

กานดา ใจภักดี. วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว. พิมพ์ ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมล; 2540.

มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์. Management of Shoulder Conditions. สงขลา: ม.ป.ท.; 2554.

มัณฑนา วงศศิรินวรัตน, วิทยา เมธิยาคม. กายภาพบําบัดในภาวะข้อไหล่: การจัดการโดยอิงหลักฐาน. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.; 2562.

Calis HT, Berberoglu N, Calis M. Are Ultrasound, Laser and exercise superior to each other in the treatment of subacromial impingement syndrome? A randomized clinical trial. Physical and Rehabilitation Medicine. Eur J Phys Rehabil Med. 2011;

: 375-80.

Kivimaki J, Pohiolainen T, Malmivaara A, Kannisto M, Guillaume J, Seitsalo S, et al. Manipulation under anesthesia with home exercise versus home exercise alone in the treatment of frozen shoulder: A randomized, controlled trial with 125 patients. J Shoulder Elbow Surg. 2007; 16: 722-6.

Ludewig PM, Borstad JD. Effects of a home exercise program on shoulder pain and functional status in Construction workers.

Occup Environ Med. 2002; 60: 841-9.

Kelley MJ, Mcclure PW, Leggin BG. Frozen Shoulder: Evidence and a Proposed Model Guiding Rehabilitation. J Orthop Sports Phys

Ther. 2009; 39: 135-48.

ณัชกานต์ อินต๊ะรินทร์, สาโรจน์ ประพรมมา. ประสิทธิผลการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกาย โดยใช้ Shoulder Wheel ในผู้ป่วยที่มีภาวะไหล่ติด. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2561; 1: 1-14.

บัวรอง ลิ่วเฉลิมวงศ์, บรรณาธิการ. สรีรวิทยา. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2557.

พรนิตย์ วรรธนพิสิฐกุล. การยืดกล้ามเนื้อ. ใน: วิภาวรรณ ลีลาสำราญ, วุฒิชัย เพิ่มศิริวาณิชย์, บรรณาธิการ. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและ

ในโรคต่าง ๆ. สงขลา: ชาญเมืองการพิมพ์; 2547. หน้า. 47-67.

พรรัชนี วีระพงศ์. หลักพื้นฐานการออกกำลังกาย เพื่อการบำบัด. สมุทรปราการ: แผนกเอกสาร และการพิมพ์ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2554.

Celik D. Comparison of the outcomes of two different exercise programs on frozen shoulder. Acta Orthop Traumatol Turc.

; 44: 285-92.

Kisner C. Colby LA, Borstad J. Therapeutic Exercise: Foundations and Techniques. 7th ed. Pennsylvania, United States; F.A. Davis;

สุภาพร วรรณมณี, อรวรรณ ประศาสน์วุฒ. ประสิทธิผลของการออกกำลังกายเสริมความมั่นคง ของข้อไหล่ในผู้ป่วยถุงหุ้มข้อไหล่ยึดติด. วารสาร

กายภาพบำบัด. 2562; 41: 112-28.

รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, สุภาภรณ์ ผดุงกิจ, สาวิตรี วันเพ็ญ, จตุรัตน์ กันต์พิทยา, ธงชัย ประฏิภาณวัตร, มณเฑียร พันธุเมธากุล. ผลระยะสั้นของการ

ออกกำลังกายแบบชักรอกต่อภาวะข้อไหล่ติดในผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารกายภาพบำบัด. 2554; 33: 126-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-24