การทรงตัว ความสามารถในการลุกขึ้นยืนจากท่านั่งและความสามารถของการเดินในเด็กสมองพิการ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนนทบุรีและศูนย์การศึกษาพิเศษมหาจักรีสิรินธรประจำจังหวัดนครนายก

Main Article Content

เขมภัค เจริญสุขศิริ
วรรษชล แดนวงษ์
สุพรรณี ศรีจำปา
รัตนาภรณ์ อุ่นชื่น

บทคัดย่อ

บริบท สมองพิการ คือ ภาวะความผิดปกติโดยพยาธิสภาพเป็นแบบคงที่ สาเหตุเกิดจากโครงสร้างของสมองใหญ่ถูกทำลายในช่วงก่อนคลอด ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด


วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการทรงตัว ความสามารถในการลุกขึ้นยืนจากท่านั่งและความสามารถของการเดินในเด็กสมองพิการ


วิธีการศึกษา สถานที่วิจัยและประชากรศึกษา การศึกษาเชิงสำรวจ สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สถานที่วิจัย ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนนทบุรีและศูนย์การศึกษาพิเศษมหาจักรีสิรินธรประจําจังหวัดนครนายก ประชากรศึกษาคือเด็กสมองพิการที่ได้รับการฟื้นฟู ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษฯ ทั้งสองแห่ง


การวัดผลลัพธ์ Pediatric balance scale, Five-times-sit-to-stand test และ 1-minute walk test


ผลการศึกษา ตัวอย่างเพศหญิง 3 คน อายุ 5, 10 และ 11 ปีตามลำดับและมีระดับความสามารถด้านการเคลื่อนไหว I, II และ III ตามลำดับ ผลการทดสอบการทรงตัวด้วย Pediatric balance scale เป็น 54, 37 และ 45 คะแนนตามลำดับ ผลการทดสอบความสามารถในการลุกขึ้นยืนจากท่านั่งด้วย Five-times-sit-to-stand test เป็น 11.09, 30.40 และ 7.52 วินาทีตามลำดับ และผลการทดสอบความสามารถของการเดินด้วย1-minute walk test เป็น 50, 40 และ 50 เมตรตามลำดับ


สรุป การทรงตัว ความสามารถในการลุกขึ้นยืนจากท่านั่งและความสามารถของการเดินในเด็กสมองพิการ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนนทบุรีและศูนย์การศึกษาพิเศษมหาจักรีสิรินธรประจำจังหวัดนครนายกมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้เด็กสมองพิการทุกชนิดและทุกระดับความสามารถด้านการเคลื่อนไหวควรได้รับการฟื้นฟูเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการเคลื่อนไหว


 คำสำคัญ: สมองพิการ การทรงตัว ความสามารถในการลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง ความสามารถของการเดิน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Mutlu A, Bugusan S, Kara OK. Impairments, activity limitations, and participation restrictions of the international classification of functioning, disability, and health model in children with ambulatory cerebral palsy. Saudi Med J. 2017; 38: 176-85.

ศรีนวล ชวศิริ, กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ, ชยาภรณ์ โชติญาณวงษ์, วรธีร์ เดชารักษ์, บรรณาธิการ. รู้ทาง...เวชศาสตร์ฟื้นฟูเด็ก. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2560.

Woollacott MH, Shumway-Cook A. Postural dysfunction during standing and walking in children with cerebral palsy: what are the underlying problems and what new therapies might improve balance? J Neural Transplant Plast. 2005; 12: 211-9.

สุกัญญา เอกสกุลกล้า, อัครเดช ศิริพร, แดนเนาวรัตน์ จามรจันทร์. ระยะเวลาในการทดสอบการลุกยืนจากท่านั่งห้าครั้งในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักปกติ น้ำหนักเกินและภาวะอ้วน. วารสารกายภาพบำบัด. 2561; 40: 95-103.

Frykberg GE, Häger CK. Movement analysis of sit-to-stand–research informing clinical practice. Phys Ther Rev. 2015; 20: 156-67.

Levine D, Richards J, Whittle MW. Whittle's gait analysis-E-book. Sydney: Elsevier Health Sciences; 2012.

Franjoine MR, Gunther JS, Taylor MJ. Pediatric balance scale: a modified version of the berg balance scale for the school-age child with mild to moderate motor impairment. Pediatr Phys Ther. 2003; 15: 114-28.

Kumban W, Amatachaya S, Emasithi A, Siritaratiwat W. Five-times-sit-to-stand test in children with cerebral palsy: Reliability and concurrent validity. NeuroRehabilitation 2013; 32: 9-15.

Wallmann HW, Evans NS, Day C, Neelly KR. Interrater reliability of the five-times-sit-to-stand test. Home Health Care Manag Pract. 2013; 25: 13-7.

Meretta BM, Whitney SL, Marchetti GF, Sparto PJ, Muirhead RJ. The five times sit to stand test: responsiveness to change and concurrent validity in adults undergoing vestibular rehabilitation. J Vestib Res. 2006; 16: 233-43.

พรรณี ปึงสุวรรณ, ปภัสรา หาญมนตรี, ปริญญาทิพย์ ทองด้วง, ธิดารัตน์ เจือมประโคน, พิสมัย มะลิลา และสุกัลยา อมตฉายา. ความเที่ยงของการทดสอบการเดิน 1 นาทีในเด็กสมองพิการ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2555; 24: 87-96.

วรรณิศา คุ้มบ้าน, สุกัลยา อมตฉายา, พรรณี ปึงสุวรรณ, วัณฑนา ศิริธราธิวัตร. ผลของการฝึกลุกขึ้นยืนต่อความสมดุลในขณะเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2553; 22: 280-91.

Kwon JY, Chang HJ, Yi SH, Lee JY, Shin HY, Kim YH. Effect of hippotherapy on gross motor function in children with cerebral palsy: a randomized controlled trial. J Altern Complement Med. 2016; 21: 15-21.

รุ่งทิพย์ ดวงแก้ว, สุธีรา ใจดี. ผลของธาราบำบัดต่อความสามารถในการทรงตัวของเด็กสมองพิการ. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560; 17: 182-93.

Khalaji M, Kalantari M, Shafiee Z, Hosseini MA. The effect of hydrotherapy on health of cerebral palsy patients: An integrative review. Iran Rehab J. 2017; 15: 173-80.

Lintanf M, Bourseul J, Houx L, Lempereur M, Brochard S, Pons C. Effect of ankle-foot orthoses on gait, balance and gross motor function in children with cerebral palsy: A systematic review and meta-analysis. Clin Rehabil. 2018; 32: 1175-88.

นพรัตน์ สังฆฤทธิ์, วีระศักดิ์ ต๊ะปัญญา, ศิรินทิพย์ คำฟู, ปาริฉัตร ปรังเขียว, อรทัย อามาตย์. ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัวแบบแยกส่วนและการทรงตัวในเด็กที่มีภาวะการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวบกพร่อง. วารสารกายภาพบำบัด. 2562; 41: 1-5.

ณิศศา อัศวภูมิ, จิรัชญา ใจชุ่ม, ระพีพร แซ่ตัน, อาทิตยา ทูลเศียร, กรกฎ เห็นแสงวิไล, ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน. ศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยโยคะต่อการทรงตัว ช่วงการเคลื่อนของรยางค์ส่วนล่างและประสิทธิภาพของการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในเด็กสมองพิการ: การศึกษานำร่อง. บูรพาเวชสาร. 2565; 9: 58-73.

เขมภัค เจริญสุขศิริ, สิริพิชญ์ เจริญสุขศิริ. การทดสอบการเดิน 1 นาทีในเด็กสมองพิการ: งานวิจัยเชิงสำรวจ ณ มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2563; 26: 1-10.

Christy JB, Chapman CG, Murphy P. The effect of intense physical therapy for children with cerebral palsy. J Pediatr Rehabil Med. 2012; 5: 159-70.

Greiner BM, Czerniecki JM, Deitz JC. Gait parameters of children with spastic diplegia: a comparison of effects of posterior and anterior walkers. Arch Phys Med Rehabil. 1993; 74: 381-5.

Huang IC, Sugde D, Beveridge S. Assistive devices and cerebral palsy: Factors influencing the use of assistive devices at home by children with cerebral palsy. Child Care Health Dev. 2009; 35: 130-9.

Eek MN, Beckung E. Walking ability is related to muscle strength in children with cerebral palsy. Gait Posture. 2008; 28: 366-71.

ตะวันรัตน์ สกุลรุ่งจรัส. ผลกระทบจากโรคลมชักในเด็ก: มิติการป้องกันและดูแลรักษา. วารสารสภาการพยาบาล. 2012; 5: 159-70.