Editor’s Note

Main Article Content

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมจิต พฤกษะริตานนท์

บทคัดย่อ

สวัสดีคะท่านผู้อ่านที่ติดตามบูรพาเวชสารทุกท่าน ฉบับนี้ บูรพาเวชสาร เป็น ปีที่ 8
ฉบับที่ 1 ระหว่างเดือน มกราคม-มิถุนายน 2564
ช่วงนี้เหตุการณ์ที่ยังจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคงหนีไม่พ้น เรื่อง การระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 ทั้งในประเทศไทยและในประเทศต่างๆ ทั่วโลก คือ
(1) วัคซีนป้องกันโรค ข้อมูลเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 พบว่าประชาชนในประเทศไทยได้
รับวัคซีน 1 โดส จำนวน 6.435 ล้านคน (ร้อยละ 9.2 ของประชากร) ประชาชนที่ได้รับวัคซีนครบ 2
โดสแล้ว จำนวน 2.546 ล้านคน (ร้อยละ 3.7 ของประชากร) หากจะให้ได้วัคซีนถึงร้อยละ 75 ของ
ประชากรทั้งประเทศเพื่อให้มี ภูมิคุ้มกันหมู่ เรายังต้องเดินทางอีกยาวไกล แต่มีหน่วยงานต่างๆ ได้
ออกมาช่วยกันทั้งภาครัฐและเอกชน หาวิธีการเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่
(2) เชื้อโควิดกลายพันธุ์ องค์การอนามัยโลกได้ตระหนักว่า การเรียกชื่อไวรัสโควิดกลายพันธุ์
ตามชื่อประเทศเป็นการกล่าวโทษกันซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ จึงมีการตั้งชื่อสายพันธุ์เพื่อเป็นการให้
สารสนเทศและความเข้าใจตรงกัน ดังตารางนี้


1625107954799.jpg


(3) การป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ ยังเป็นวิธีที่ได้ผล ด้วยวิธีหลีกเลี่ยงไปในสถานที่
ที่มีคนรวมกันเป็นจำนวนมาก การล้างมือบ่อยๆ ไม่ให้มือที่ยังไม่ได้ทำความสะอาดสัมผัสผิวหน้า
โดยเฉพาะ ตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น และด้วยวิธีการสวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์และ
หน้ากากผ้า ปัจจุบันวิถีใหม่พบว่ามีการสวมหน้ากาก 2 ชั้น เพราะว่าการสวมหน้ากากมักมีช่องว่าง
ระหว่างหน้ากากกับผิวหน้าทำให้เกิดการแพร่เชื้อและรับเชื้อได้ มาดูกันว่าทำไมต้องสวมหน้ากาก
2 ชั้น ดังนี้ (3.1) การสวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ป้องกันการแพร่เชื้อได้ร้อยละ 56 การสวม
หน้ากากผ้าป้องกันได้ร้อยละ 51 การสวมหน้ากากผ้าทับหน้ากากอนามัย ป้องกันการแพร่เชื้อได้
ร้อยละ 85 (3.2) การใส่หน้ากาก 2 ชั้น ลดการรับเชื้อได้ร้อยละ 83 (3.3) หากผู้ติดเชื้อและผู้รับเชื้อต่าง
สวมหน้ากาก 2 ชั้น สามารถลดการรับเชื้อได้ร้อยละ 96 แม้ว่าสถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงไป แต่
ยังพบพฤติกรรมของประชาชนที่ยังอยู่ในวิถีเดิม คือ การไม่ฉีดวัคซีน และการไม่สวมหน้ากากอนามัย
ย้อนกลับมาที่ผลงานวิชาการในวารสารฉบับนี้ซึ่งมีผลงานรวมทั้งสิ้น 9 เรื่อง ประกอบด้วย
ด้านกุมารเวชศาสตร์ 2 เรื่อง คือ เบาหวาน และโรคติดเชื้อโควิด-19 ด้านแพทยศาสตรศึกษา 2 เรื่อง คือ
การเรียนของนักศึกษาแพทย์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และการพัฒนากิจกรรมการเรียนร่วมในชั้นคลินิก
ระหว่างสหสาขาวิชาชีพ ด้านรังสีวิทยาในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์เพื่อการตรวจติดตามผล
ความหนาแน่นกระดูก 1 เรื่อง ด้านการแพทย์แผนไทย 1 เรื่อง ด้านกายภาพบำบัด 1 เรื่อง ด้าน
พันธุกรรม 1 เรื่อง และด้านจุลชีวววิทยา 1 เรื่อง
สุดท้ายนี้ กองบรรณาธิการและคณะผู้จัดทำวารสารขอขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนวารสาร
ของเรามาด้วยดีตลอด ทั้งท่านผู้นิพนธ์และท่านผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ทำให้เราได้มีผลงานที่มีคุณภาพ
ออกสู่สายตาของสาธารณชนคะ แล้วพบกันใหม่ในฉบับต่อไปคะ

Article Details

บท
บรรณาธิการแถลง

References

1. มนูญ ลีเชวงวงศ์. (2564) อ้างถึงใน TNNONLINE เปิดเหตุผลทำไมต้องใส่แมสก์ 2 ชั้น เอาตัวรอด
ในวิกฤตโควิดรอบใหม่. Facebook online.

2. World Health Organization. (2021). Tracking SAR-CoV-2 variants. online Available
from https://www.who.int/en/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants/ Date: 28
June 2021.