สภาวะทางจิตใจ กลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา และความรู้ของบุคลากรทางการแพทย์ต่อเด็ก ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน ในช่วงที่มี การระบาดของเชื้อโควิด-19
คำสำคัญ:
บุคลากรทางการแพทย์, สภาวะทางจิตใจ, กลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา, เด็ก, โควิด-19บทคัดย่อ
บริบท การระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพกับผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะ
บุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงในการติดเชื้อและเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้มากขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะทางจิตใจกับกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหาและความรู้ของ
บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันในช่วงการระบาดของเชื้อโควิด-19
วิธีการศึกษา ทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้แบบสอบถามในระหว่างวันที่ 31 เดือน
สิงหาคม ถึงวันที่ 2 เดือนกันยายน พ.ศ. 2563 แบบสอบถามที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ ข้อมูล
ทั่วไป General Health Questionnaire-28 ฉบับภาษาไทย (Thai GHQ-28) กลยุทธ์ในการเผชิญปัญหาและ
ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 แจกแบบสอบถามให้บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
จำนวน 100 ราย โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง Thai GHQ-28 กับกลยุทธ์ในการเผชิญปัญหาและความรู้
ของบุคลากรทางการแพทย์ด้วยสถิติ Pearson’s correlation
ผลการศึกษา ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาโดยสมบูรณ์ จำนวน 83 ฉบับ (ร้อยละ 83) พบบุคลากรทางการ
แพทย์มีปัญหาทางสุขภาพจิต (Thai GHQ-28 ≥ 6) มีจำนวน 19 ราย (ร้อยละ 22.9) คะแนนเฉลี่ยของ Thai
GHQ-28 กลยุทธ์ในการเผชิญปัญหา และคะแนนความรู้ คือ 2.94±4.2 (คะแนนเต็ม 28), 28.9±5.8 (คะแนน
เต็ม 48) และ 14.2±1.3 (คะแนนเต็ม 16) ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ทางสถิติยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง
Thai GHQ-28 กับความถี่ของกลยุทธ์ที่ใช้ในการเผชิญปัญหาและความรู้ของบุคลากรทางการแพทย์
สรุป บุคลากรทางการแพทย์ประมาณหนึ่งในสี่ประสบปัญหาทางสุขภาพจิตระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อ
โควิด-19 ดังนั้นจึงควรให้ความช่วยเหลือทางด้านจิตใจแก่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตให้ดีขึ้น
References
HS, Myoung J, et al. Current status of
epidemiology, diagnosis, therapeutics, and
vaccines for novel coronavirus disease
2019 (COVID-19). J Microbiol Biotechnol.
2020; 30: 313-24.
2. Stokes EK, Zambrano LD, Anderson KN,
Marder EP, Raz KM, El Burai Felix S, et al.
Coronavirus disease 2019 case surveillance
- United States, January 22-May 30, 2020.
MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2020; 69:
759-65.
3. Lu W, Wang H, Lin Y, Li L. Psychological
status of medical workforce during the
COVID-19 pandemic: A cross-sectional
study. Psychiatry Res. 2020; 288: 1129-36.
4. World Health Organization. Coronavirus
disease 2019 (COVID-19) situation reportThailand, May 2, 2020 [Internet]. 2020
[cited 2020 May 4]. Available from: https://
www.who.int/docs/default-source/searo/
thailand/2020-05-02-tha-sitrep-70-covid19-
th.pdf?sfvrsn=bbc041b8_2.
5. Nilchaikovit T, Sukying C, Silpakit C.
Reliability and validity of the Thai version
of the General Health Questionnaire. J
Psychiatr Assoc Thailand. 1996; 41: 2-17.
6. Lee SH, Juang YY, Su YJ, Lee HL, Lin YH, Chao
CC. Facing SARS: psychological impacts on
SARS team nurses and psychiatric services
in a Taiwan general hospital. Gen Hosp
Psychiatry. 2005; 27: 352-8.
7. Khalid I, Khalid TJ, Qabajah MR, Barnard AG,
Qushmaq IA. Healthcare workers emotions,
perceived stressors and coping strategies
during a MERS-CoV outbreak. Clin Med Res.
2016; 14: 7-14.
8. Jukrapun S, Somjit P. COVID-19. BJM. 2020;
7: 89-95.
9. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. คู่มือ
COVID สำหรับกุมารแพทย์ [อินเทอร์เน็ต].
2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก:
https://pidst.or.th/A880.html.
10.สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตใน
เด็ก. แนวทางการบำบัดรักษาทางระบบหายใจ
ในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19 [อินเทอร์เน็ต].
2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้
จาก: http://www.thaipediatrics.org/pages/
People/Detail/46/282.
11. Edelson DP, Sasson C, Chan PS, Atkins DL,
Aziz K, Becker LB, et al. Interim guidance for
basic and advanced life support in adults,
children, and neonates with suspected or
confirmed COVID-19: from the emergency
cardiovascular care committee and get
with the guidelines-resuscitation adult
and pediatric task forces of the American
Heart Association in collaboration with the
American Academy of Pediatrics, American
Association for Respiratory Care, American
College of Emergency Physicians, The
Society of Critical Care Anesthesiologists,
and American Society of Anesthesiologists:
supporting organizations: American
Association of Critical Care Nurses and
National EMS Physicians. Circulation. 2020;
141: e933-43.
12. Mo Y, Deng L, Zhang L, Lang Q, Liao C,
Wang N, et al. Work stress among Chinese
nurses to support Wuhan for fighting
against the COVID-19 epidemic. J Nurs
Manag. 2020; 28: 1002-9.
13. Si M-Y, Su X-Y, Jiang Y, Wang W-J, Gu
X-F, Ma L, et al. Psychological impact
of COVID-19 on medical care workers in
China. Infect Dis Poverty. 2020; 9: 113-25.
14. Dong Z-Q, Ma J, Hao Y-N, Shen X-L, Liu
F, Gao Y, et al. The social psychological
impact of the COVID-19 pandemic on
medical staff in China: A cross-sectional
study. Eur Psychiatry. 2020; 63: e65-e72.
15. Yao Y, Tian Y, Zhou J, Diao X, Cao B, Pan S,
et al. Psychological status and influencing
factors of hospital medical staff during the
COVID-19 outbreak. Front Psychol. 2020;
11: 1841-6.
16. Zhou Y, Wang W, Sun Y, Qian W, Liu Z,
Wang R, et al. The prevalence and risk
factors of psychological disturbances of
frontline medical staff in China under the
COVID-19 epidemic: workload should be
concerned. J Affect Disord. 2020; 277:
510-4.
17. Coronavirus disease 2019 in children -
United States, February 12-April 2, 2020.
MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2020; 69:
422-6