การศึกษาเบื้องต้นการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ในผู้ใหญ่ตอนต้น ณ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ:
เบาหวานชนิดที่ 1, วัยผู้ใหญ่ตอนต้น, การจัดการตนเอง, ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน, อารมณ์บทคัดย่อ
บริบท โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในผู้ใหญ่ตอนต้นยังมีปัญหาในการดูแลควบคุมโรคและส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามผลลัพธ์จากการให้ความรู้ Diabetes Self-Management Program (DSMP) และการ
ใช้อุปกรณ์สนับสนุนในการดูแลตัวเองเป็นระยะ 1 ปี โดยค่า HbA1C ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 1% และศึกษา
อัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจาก
โรคเบาหวานชนิดที่ 1
วิธีการศึกษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำนวน 4 คน (จากจำนวน 6 คน) ที่สามารถติดตามการรักษาต่อ
เนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ให้การดูแลด้วยระบบ DSMP ประกอบด้วยการให้
ความรู้ เสริมทักษะการนับอาหาร การฉีดยา การให้แผ่นสำหรับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและแผ่นตรวจคีโตน
ในปัสสาวะด้วยตนเอง ติดตามการดูแลทุก 3 เดือน ได้แก่ วัดระดับ HbA1C ข้อมูลการใช้ insulin ความรู้สึก
ด้าน emotional state และ energy level ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันคือ diabetic ketoacidosis (DKA) และ
hypoglycemia ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนระยะยาวคือ diabetic retinopathy,
diabetic nephropathy และ diabetic neuropathy
ผลการวิจัย ผู้เข้าร่วมวิจัย 4 คน ทุกคนได้รับการรักษาด้วยอินซูลินแบบ Basal-Bolus regimen โดยผู้ป่วย
คนที่ 1 หญิงไทยอายุ 21 ปี 6 เดือน เป็นเบาหวานมา 10 ปี 4 เดือน HbA1C ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 9.7%
และ 7.8% (ลดลง 1.8%) ผู้ป่วยคนที่ 2 หญิงไทยอายุ 24 ปี เป็นเบาหวานมา 3 ปี 8 เดือน HbA1C ก่อนและ
หลังเข้าร่วมวิจัย 13.8% และ 12.1% (ลดลง 1.7%) ผู้ป่วยคนที่ 3 หญิงไทยอายุ 20 ปี 11 เดือน เป็นเบาหวาน
มา 9 ปี 4 เดือน ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกิด DKA 3 ครั้งใน 1 ปี HbA1C ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 10.9 % และ
9.7% (ลดลง 1.2%) และผู้ป่วยคนที่ 4 ชายไทยอายุ 25 ปี 9 เดือน เป็นเบาหวานมา 7 ปี 5 เดือน ก่อนเข้าร่วม
โครงการมี severe hypoglycemia 2 ครั้งใน 1 ปี HbA1C ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 7.6% และ 8.2% (เพิ่มขึ้น
0.6%) หลังเข้าร่วมวิจัยผู้ป่วยทั้ง 4 คน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลและตรวจ
ไม่พบภาวะแทรกซ้อนระยะยาว ผู้ป่วย 3 ใน 4 คน มีระดับ HbA1C ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 1% แต่ยังสูงกว่า
7.0% ทุกคนและทุกครั้งที่ติดตามการรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่า HbA1C คือ การเจาะ Self-monitoring blood
glucose (SMBG) และปริมาณการใช้อินซูลินในแต่ละคน ส่วนความรู้สึกด้าน emotional state และ energy
level ช่วง 6 เดือนแรกมีความกังวล แต่ 6 เดือนหลังเป็นปกติทุกคน
สรุป ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ในผู้ใหญ่ตอนต้น 3 ใน 4 คนเมื่อติดตามการรักษาไป 1 ปี มีระดับ HbA1C ลดลง
มากกว่าหรือเท่ากับ 1% ไม่พบการต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและ
ยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนระยะยาว
References
diabetes mellitus. Geneva: World Health
Organization. 2019.
2. International Diabetes Federation. Diabetes
Atlas. 8th Edition. Brussels: International
Diabetes Federation. 2017.
3. Gomez-Lopera N, Pineda-Trujillo N, DiazValencia PA. Correlating the global increase
in type 1 diabetes incidence across age
groups with national economic prosperity:
A systematic review. World J Diabetes.
2019; 10: 560-580.
4. Deerochanawong C, Ferrario A. Diabetes
management in Thailand: a literature
review of the burden, costs, and outcomes.
Global Health. 2013; 9: 11.
5. Likitmaskul S, Wacharasindhu S, Rawdaree
P, Ngarmukos C, Deerochanawong C,
Sompongse S, et al. Thailand diabetes
registry project: type of diabetes, glycemic
control and prevalence of microvascular
complications in children and adolescents
with diabetes. J Med Assoc Thai. 2006; 89
Suppl 1: S10-S16.
6. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. ชนิดของ
โรคเบาหวาน. ใน: แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรค
เบาหวาน 2560. Clinical Practice Guideline
for Diabetes 2017. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย
จำกัด; 2560. หน้า 21-23.
7. Thomas NJ, Jones SE, Weedon MN, Shields
BM, Oram RA, Hattersley AT. Frequency
and phenotype of type 1 diabetes in the
first six decades of life: a cross-sectional,
genetically stratified survival analysis from
UK Biobank. Lancet Diabetes Endocrinol.
2018; 6: 122-9.
8. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. การ
บริหารค่าใช้จ่าย บริการควบคุมป้องกันและ
รักษาโรคเรื้อรัง. ใน: คู่มือบริหารกองทุนหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563.
กรุงเทพมหานคร:สำนักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ; 2562. หน้า 110-116.
9. Arnett JJ. Emerging Adulthood: A theory of
development from the late teens through
the twenties. American Psychologist. 2000;
55(5): 469-80.
10.Delameter AM, de Wit M, McDarby V, Malik
JA, Hilliard ME, Northam E, et al. ISPAD
Clinical Practice Consensus Guidelines
2018: Psychological care of children and
adolescents with type 1 diabetes. Pediatric
Diabetes 2018; 19 suppl 27: 237-49.
11. Dejkhamron P, Santiprabhob J, Likitmaskul
S, Deerochanawong C, Rawdaree P,
Tharavanij T, et al. Type 1 Diabetes
management and outcomes: a multicenter
study in Thailand. Journal of Diabetes
Investigation. 2020: 1-33.
12. McCarthy MM, Grey M. Type1 Diabetes SelfManagement from emerging adulthood
through older adulthood. Diabetes Care
2018; 41(8): 1608-14.
13. DiMeglio LA, Acerini CL, Codner E, Craig
ME, Hofer SE, Pillay K, et al. ISPAD Clinical
Practice Consensus Guidelines 2018:
Glycemic control targets and glucose
monitoring for children, adolescents, and
young adults with diabetes. Pediatric
Diabetes 2018; 19 suppl 27: 105-14.
14. Iyengar J, Thomas IH, Soleimanpour SA.
Transition from pediatric to adult care in
emerging adults with type1 diabetes: a
blueprint for effective receivership. Clin
Diabetes Endocrinol. 2019; 5: 3.
15. Monaghan M, Helgeson V, Wiebe D. Type
1 diabetes in young adulthood. Curr
Diabetes Rev. 2015: 11: 239-50.
16. Bryden KS. Dunger DB, Mayou RA, Peveler
RC, Neil HA. Poor prognosis of young adults
with type1 diabetes: a longitudinal study.
Diabetes Care. 2003; 26: 1052-7.
17. Buschur EO, Glick B, Komboj MK. Transition
of care for patients with type 1 diabetes
mellitus from pediatric to adult health
care systems. Transl Pediatr. 2017; 6: 373-
82.
18. Carlsund Å และ Söderberg S. Living with
type 1 diabetes as experienced by young
adults. Nursing Open. 2019; 6: 418-25.
19. Sandler CN, Garvey KC. A practice in
maturation: current perspectives on the
transition from pediatric to adult care
for young adults with diabetes. Current
Diabetes Reports 2019; 19: 126.
20. Wentzell K, Vessey JA, Laffel LMB. How
do the challenges of emerging adulthood
inform our understanding of diabetes
distress? An Integrative Review. Current
Diabetes Reports 2020; 20: 21