Editor’s Note
บทคัดย่อ
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงมากมายในยุคโลกแห่งความผันผวนของช่วง
ศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญได้แก่ เชื้อโควิด-19 ก่อให้เกิดโรคระบาดอุบัติใหม่ แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
เหมือนกับระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร และส่งผลกระทบต่อทั่วโลก ไวรัสโคโรนาที่ก่อให้เกิดโรคใน
คน ปัจจุบันมี 7 ชนิด คือ ชนิดที่ 1-4 ก่อให้เกิดโรคหวัดธรรมดา ชนิดที่ 5 ก่อให้เกิดโรคซาร์ส (SARS)
พ.ศ. 2545 ฃนิดที่ 6 ก่อให้เกิดโรคเมอร์ (MERS) พ.ศ. 2557 และชนิดที่ 7 ก่อให้เกิดโรคโควิด-19
(COVID-19) เกิดจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ พ.ศ. 2562 ซึ่งไวรัสชนิดที่ 7 นี้มีชื่อเต็มว่า Severe Acute
Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2) มีประเด็นที่น่าสนใจ คือพบว่าร้อยละ 80
ของผู้ติดเชื้อมีอาการน้อยคล้ายไข้หวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ที่อาการน้อย บางส่วนไม่มีอาการ ร้อย
ละ 14 มีอาการหนัก ร้อยละ 5 มีอาการวิกฤติ และร้อยละ 1-2 เสียชีวิต นักวิทยาศาสตร์จึงทำการ
ศึกษา genome ของไวรัสที่ทำให้เกิดการระบาดทั่วโลก โดยอาศัยข้อมูลจากทั่วโลกทำให้มีหลักฐาน
สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดการกลายพันธุ์เนื่องจากการเรียงตัวของ amino acid ที่ตำแหน่ง 23403 ถูก
เปลี่ยนจาก adenine (A) เป็น guanine (G) เรียก D614G mutation ซึ่งส่งเสริมให้ไวรัสโคโรนา
เกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้น (infectivity) นอกจากนั้นจากการศึกษาทำให้ทราบว่า ORF3b mutation
สัมพันธ์กับการไม่แสดงอาการ ซึ่งกลุ่มไม่แสดงอาการสามารถเดินทางไปที่ต่าง ๆ จึงเป็นผู้นำเชื้อและ
แพร่เชื้อ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อไป อีกประเด็นที่ผู้คนทั่วโลกตั้งตารอคอย คือวัคซีนป้องกัน
โรคโควิด-19 เพื่อทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ในประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย ตัวอย่าง
วัคซีนของบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในระยะที่ 3 เพื่อหาประสิทธิผลและผลข้างคียงของวัคซีน และระยะที่ 4
ติดตามผลการสร้างภูมิคุ้มกัน และผลข้างเคียง การใช้วัคซีน มีดังนี้
อินโฟเดมิก (infodemic) เป็นคำเกิดใหม่ที่มาพร้อมโควิด-19 มาจาก information +
epidemic (ข้อมูล + การระบาด) หมายถึง การแพร่กระจายของข้อความ ข้อมูล สารสนเทศ ที่
เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก โดยอาศัยระบบเทคโลยีการสื่อสาร ความเด่นของอินโฟเดมิก คือการ
ทำให้เผยแพร่ข้อมูลไปได้อย่างรวดเร็วครั้งละจำนวนมาก และไปถึงผู้รับการสื่อสารจำนวนมากๆ ได้
เช่นกัน จุดอ่อน คือการรับข้อมูล เชื่อถือในข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลต่อโดยยังไม่ได้วิเคราะห์ โอกาส
คือ information processing ประกอบด้วย การรับข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล
และการวิเคราะห์ข้อมูลให้กลายเป็น Big data ซึ่งมีคุณลักษณะ 3 V (Volume – ข้อมูลปริมาณมาก
Variety - ข้อมูลหลากหลายรูปแบบ และ Velocity - ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและ
รวดเร็ว) เพื่อพัฒนาบุคลากรในการเรียนรู้ นำไปใช้ในการวางแผนและการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
วารสาร “บูรพาเวชสาร” ฉบับที่ 2 ของปีที่ 7 (เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2563) ออก
เผยแพร่สู่สายตาผู้อ่านแล้วในฉบับนี้มีผลงานที่น่าสนใจ ประกอบด้วย นิพนธ์ต้นฉบับ 5 เรื่อง ได้แก่
1) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบประเมินความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้น
ฐานและคะแนนสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมขั้นตอนที่หนึ่งในนิสิตแพทย์
มหาวิทยาลัยบูรพา 2) ความเที่ยงและความน่าเชื่อถือของเตียงรับแรงกด 3) ประสิทธิผลของโปรแกรม
สนับสนุนการจัดการตนเองต่อภาวะอ้วนของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 4) ปัญหา
สุขภาพและผลลัพธ์ของการรักษาผู้ป่วยสูงอายุในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตในประเทศที่มีรายได้น้อยและ
รายได้ปานกลาง: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน และ 5) พฤติกรรม
การดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยทำงาน เครือข่ายบริการปฐมภูมิเมืองย่า 4 หัวทะเล อำเภอ
เมือง จังหวัดนครราชสีมา
นอกจากนี้ ยังมีบทความปริทัศน์หรือการทบทวนวรรณกรรม 1 เรื่อง คือ การรักษาอาการ
ท้องผูกเรื้อรังด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และ ผลงานปกิณกะ 1 เรื่อง คือ เหตุผลและความพึง
พอใจในการรักษากระดูกแบบพื้นบ้าน ในตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด
กองบรรณาธิการขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ และส่งผลงานมาตีพิมพ์ ตลอดจนผู้ทรง
คุณวุฒิพิจารณาผลงานทั้งจากภายนอกและภายในสถาบัน ที่กรุณาสละเวลาประเมินผลงานให้กับ
“บูรพาเวชสาร” เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลงาน ตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบัน
หากผู้นิพนธ์หรือผู้อ่านท่านใดมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อวารสาร สามารถส่งมาได้ที่
อีเมล์ bookaew@go.buu.ac.th หรือแจ้งทางเบอร์โทรศัพท์ 0-3838-6554 ต่อ 2401, 2402 ทาง
กองบรรณาธิการจะนำไปพิจารณาปรับปรุงวารสารให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป สุดท้ายนี้ขออาราธนาคุณ
พระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกโปรดดลบันดาลให้ทุกท่านตลอดจนครอบครัว มีความ
สุข ความเจริญ สิ่งที่ทุกข์ขอให้คลายทุกข์ สิ่งที่สุขขอให้มีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดปีใหม่ พ.ศ. 2564
References
พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด. 2563.
2. NHK World – Japan. Decoding the coronavirus genome. Broadcast on December
9, 2020/Available until December 9, 2021. Available from: https://www3.nhk.or.jp/
nhkworld/en/ondemand/video/2015248/