เหตุผลและความพึงพอใจในการรักษากระดูก แบบพื้นบ้าน ในตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด
คำสำคัญ:
การรักษาโรคกระดูก, หมอพื้นบ้านบทคัดย่อ
บทนำ เหตุผลในการรักษาโรคหรือความผิดปกติของกระดูกแบบพื้นบ้านอาจมีหลายประการ การรักษาโรค
กระดูกมีทั้งตามแผนปัจจุบันและการแพทย์พื้นบ้าน บางส่วนนิยมการแพทย์พื้นบ้านจึงนำมาสู่การศึกษาการ
รักษาแบบพื้นบ้าน
วัตถุประสงค์ ศึกษาเหตุผลในการรักษากระดูกแบบพื้นบ้าน และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการรักษากระดูก
แบบพื้นบ้าน
วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลจากผู้ที่มารักษากระดูกแบบพื้นบ้านในตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด ระหว่าง
เดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2562 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เหตุผลและความพึงพอใจในการรักษา ด้วยการใช้
แบบสอบถาม
ผลการศึกษา ผู้ที่เข้าร่วม 60 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.33 จากการศึกษาพบว่า เหตุผลในการรักษา
โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (x = 4.21) (ค่าประเมิน 1-5) เหตุผลลำดับแรก ๆ คือ ชื่อเสียงของหมอ
ความมั่นใจในผลการรักษา และหมออัธยาศัยดี เป็นกันเอง ส่วนความพึงพอใจในการรักษา โดยรวมและรายด้าน
อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.58) ความพึงพอใจลำดับแรก ๆ คือ การเอาใจใส่และเข้าถึงจิตใจผู้ป่วย คำแนะนำ
ในการปฏิบัติตนระหว่างรักษา และผลการรักษา
สรุปผลการศึกษา งานวิจัยนี้พบว่าเหตุผลและความพึงพอใจในการรักษากระดูกแบบพื้นบ้านในตำบลท่ากุ่ม
อำเภอเมือง จังหวัดตราด อันดับแรก คือ หมออัธยาศัยดี เป็นกันเอง และความปลอดภัยของการรักษา
References
สมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการ
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข. คู่มือประชาชนในการดูแลสุขภาพ
ด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนัก
กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;
2547.
2. ราชบัณฑิตยสถาน, กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก. พจนานุกรมศัพท์แพทย์
และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการ
โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกใน
พระบรมราชูปถัมภ์; 2556.
3. บุญยงค์ เกศเทศ. วัฒนธรรมเผ่าพันธุ์มนุษย์.
อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์การพิมพ์; 2536.
4. วิชัย โชควิวัฒน. การพัฒนาทางเลือกในการให้
บริการสุขภาพ ในการสัมมนาวิชาการแพทย์ทาง
เลือก ครั้งที่ 4 การดูแลผู้ป่วยปวดเข่าด้วยการ
แพทย์ผสมผสาน; กรุงเทพมหานคร. 2551.
5. กัญญารัตน์ จันทร์โสม. (2554). ภูมิปัญญาหมอ
พื้นบ้านไทยกรณีศึกษาพระครูปุณณสารโสภิต
(หลวงปู่สม) วัดทุ่งทวีศรีร่มเย็น ตำบลโคกล่าม
อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. (รายงาน
การวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;
2554.
6. ปานวาด มากนวล. คาถาและพิธีกรรมในการรักษา
โรคของหมอพื้นบ้าน: บทวิเคราะห์และมุมมองใน
เชิงคติชนวิทยา. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ.
2557; 105: 90-123.