พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของ ประชาชนวัยทำงาน เครือข่ายบริการ ปฐมภูมิเมืองย่า 4 หัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

อรณิชา โพธิ์หมื่นทิพย์

บทคัดย่อ

บทนำ จากการสำรวจพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยทำงาน เครือข่ายบริการปฐมภูมิเมือง
ย่า 4 หัวทะเล พบว่ามีปัญหาสุขภาพจากความเสื่อมของร่างกายและการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เกิด
การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง คิดเป็น
อัตราความชุกเท่ากับ 36.09, 7.60 และ 2.46 ต่อพันประชากรตามลำดับ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม
การดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยทำงานในพื้นที่เครือข่ายบริการปฐมภูมิเมืองย่า 4 หัวทะเล
วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคัดตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 398 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่
ค่าไคสแควร์ ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 74.37) อายุระหว่าง 50-59 ปี (ร้อยละ 38.44) อาชีพ
รับจ้าง (ร้อยละ 58.54) การศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 45.72) มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่
ในระดับมาก (x = 2.45) โดยปัจจัยที่สัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ได้แก่ การได้รับการ
สนับสนุนข้อมูลสิ่งของและบริการ (r = .52, p<0.01) และการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง (r = .22, p<0.01)
อย่างมีนัยสำคัญทางสิถิติ สำหรับปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยทำงาน พบว่า
การได้รับสนับสนุนข้อมูล สิ่งของและบริการ (β = .491, p< 0.01) และการรับรู้สุขภาวะของตนเอง (β = .103,
p< 0.05) สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 27.6 (R2 = .276, p< 0.01)
สรุป ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยทำงานได้แก่ การได้
รับการสนับสนุนข้อมูลสิ่งของและบริการ และการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง ดังนั้นในการดำเนินงานด้านส่ง
เสริมสุขภาพควรมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพรายบุคคลเพื่อให้เกิดการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและ
นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการ
สำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: อักษร
กราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2557.

2. ดรรชนี มานุจำ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง
ของประชาชนวัยกลางคนในจังหวัดสุรินทร์.
[วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต].
สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์; 2555.

3. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราช
นครราชสีมา. รายงานระบาดวิทยา R506; 2562.

4. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราช
นครราชสีมา. ฐานข้อมูล 43 แฟ้ม; 2562.

5. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุข. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพโดยชุมชน. นนทบุรี:ม.ป.ท.; 2556.

6. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรม
ศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2543. น. 284

7. วีระ ปฏิรูปา.การสร้างเสริมการดูแลสุขภาพตนเอง
ของประชาชนในเขตอำเภอวังสามหมอ จังหวัด
อุดรธานี. อุดรธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี;
2556.

8. รัชตา คำมณี. พฤติกรรมการดูสุขภาพตนเอง
ของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอสุคิริน จังหวัด
นราธิวาส.นราธิวาส: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยทักษิณ
มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2555.

9. วรรณา อู่แสงทอง. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ
ผู้ป่วยวัณโรคปอดในสถาบันโรคทรวงอกจังหวัด
นนทบุรี. วารสารสถาบันโรคทรวงอก. 2558; 3:
16-27.

10. วิภาวรรณ เพ็งพานิช. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
ตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาล
เกษมราษฏร์สุขาภิบาล 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์; 2555.

11. ลัคนา อุยสะอาด.ปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพล
ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงมีครรภ์ ที่มา
รับบริการฝากครรภ์โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม
จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากรมหาวิทยาลัย ศิลปากร; 2546.

12. ปรียานุช จันทิมา. พัฒนาการของเครือข่ายผู้สูง
อายุในการดูแลสุขภาพตนเอง: กรณีศึกษาชุมชน
เขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ. อำนาจเจริญ: โรง
พิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี; 2554.

13. รสสุคนธ์ พื้นสะอาด. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
ตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาล
พระนั่งเกล้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2554.

14. วรารัตน์ รุ่งเรือง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม
การสร้างสุขภาพของสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา
จิตวิทยาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปกร; 2548.