ประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุน การจัดการตนเองต่อภาวะอ้วนของ บุคลากรคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์
เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์
กาญจนา พิบูลย์

บทคัดย่อ

บทนำ จากผลการตรวจสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ในปี พ.ศ. 2557-2559 พบว่า
บุคลากรมีภาวะสุขภาพที่มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะเมแทบอลิกซินโดรมล้วนมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในแต่ละปี ทางผู้วิจัย
จึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวและหาแนวทางจัดการเพื่อให้บุคลากรมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อภาวะอ้วนของบุคลากร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วิธีการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
บูรพา ที่มีภาวะอ้วนและผ่านการตรวจสุขภาพโดยศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ (Wellness Center) โรงพยาบาล
มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยมีค่าดัชนีมวลกาย ≥ 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยมีกลุ่ม
ตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรม
สนับสนุนการจัดการตนเอง กลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่
ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการ
ตนเองและ แบบบันทึกพฤติกรรมการกำกับตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย
ด้วยสถิติ paired t- test, independent sample t-test และ repeated measure Anova
ผลการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรับประทานอาหารของกลุ่ม
ทดลองระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
(x = 74.83 S.D. = 8.27, x = 51.57 S.D. = 9.09) และ (x = 78.63 S.D. = 6.46, x = 49.70 S.D. = 6.85 )
ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายของกลุ่มทดลองระยะหลังการทดลอง
และระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) (x = 74.83 S.D. = 8.27, x =
51.57 S.D. = 9.09) และ (x = 78.63 S.D. = 6.46, x = 49.70 S.D. = 6.85) ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอว
ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ค่าเฉลี่ยความดันซิสโตลิกค่าเฉลี่ยระดับความดันไดแอสโตลิก
ค่าเฉลี่ยระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ค่าเฉลี่ยระดับคอลเลสเตอรอล ค่าเฉลี่ยระดับแอลดีของกลุ่มทดลอง ในระยะติดตาม
ผลต่ำกว่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และค่าเฉลี่ยระดับเอชดีแอลคอลเลสเตอรอลของ
กลุ่มทดลองระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
สรุปผล จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อภาวะอ้วนของบุคลากรคณะ
แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยสามารถเพิ่มระดับพฤติกรรมการจัดการตนเองได้ด้านการรับประทานอาหาร
พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกาย และลดระดับดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอวระดับน้ำตาลในเลือด


ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ระดับคอลเลสเตอรอลรวม ระดับแอลดีแอลคอลเลสเตอรอล และยังเพิ่มระดับเอชดีแอล
คอลเลสเตอรอลในบุคลากรที่มีภาวะอ้วนได

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจ
สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่
5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: โรงพิมพ์สถาบันวิจัยระบบ
สาธารณสุข; 2557.

2. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. สุขภาพคนไทย.
นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.

3. ทิศมะลี ประสบกิตติคุณ. รายงานการตรวจ
สุขภาพบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
บูรพา (2557-2559). ชลบุรี: คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

4. นัฐพร กกสูงเนิน. โปรแกรมการลดน้ำหนักใน หญิง
ก่อนวัยทองที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โดยใช้ทฤษฎี
สมรรถนะแห่งตนในการส่งเสริมสมรรถนะการปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและฝึก
การออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว. [วิทยานิพนธ์
หลักสูตร พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.

5. Cohen, J. Statistical power analysis for the
behavioral sciences. (Rev. ed.). HillS.D.ale,
New York US: Lawrence Erlbaum Associates,
Inc; 1977.

6. Glasgow, R. E., Emont, S., & Miller, D. C.
Assessing delivery of the five ‘As’ for patientcentered counseling. Health Promotion
International. 2006; 21: 245-55.

7. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทาง
พยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

8. Polit, D.F., & Beck, C.T. Nursing research:
Principles and methods. 7th ed. Philadelphia:
Lippincott Williams & Wilkins: 2004.

9. คณิตา จันทวาส. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเอง
ต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนักและน้ำหนักตัวของ
บุคลากรสาธารณสุขหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน.
[วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. ชลบุรี:
มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

10. ศุภชัย สามารถ. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษา
โดยประยุกต์ใช้ความสามารถตนเองรวมกับขั้นตอน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการลดน้ำหนัก
ในกลุ่มวัยทำงานอายุ 40-49 ปีที่มีภาวะน้ำหนัก
เกินและโรคอ้วนตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง
จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7
จังหวัดขอนแก่น. 2559; 23: 34-45.

11. ชดช้อย วัฒนะ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริม
สมรรถนะในการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการ
จัดการตนเอง ภาวะอ้วนความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
หัวใจและหลอดเลือดและการหายจากภาวะเมตา
บอลิกซินโดรมในผู้ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม.
พยาบาลสาร. 2556; 40: 40-8.

12. อรพิน จุลมุสิ. ผลการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง
มช.ต่อความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดัน
โลหิตสูง. [การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาตรม
หาบัณฑิต สาขาการพยาบาลชุมชน]. เชียงใหม่:
มหาวิทยาลัยเชียใหม่; 2551.

13. สมพงษ์ หามวงค์. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดย
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรง
สนับสนุน ทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มา
รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้าน
หนองกุงเผือก อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์.
ศรีนครินทร์เวชสาร. 2556; 28: 51-6.

14. พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ ปัญจพร ยะเกษม นรากูล พัด
ทอง. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแล
ตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และต่อระดับ
น้ำตาลนเลือดของผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเกิน
ระดับปกติในชุมชน. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2555;
27: 1-12.

15. ษารินทร์ สิงห์สวัสดิ์. ผลของโปรแกรมการออกกำลัง
กายด้วยฮูลาฮูปต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง
เส้นรอบเอว และระดับไขมันในเลือด (เอชดีแอล
คอลเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์) ของบุคลากร
สุขภาพ. วารสารการพยาบาล. 2555: 27: 109-22.