บรรณาธิการแถลง

ผู้แต่ง

  • รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมจิต พฤกษะริตานนท์

บทคัดย่อ

เนื่องจากขณะนี้มีโรคอุบัติใหม่ คือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งระบาดไปทั่วโลก รวมทั้งระบาด
ในประเทศไทย ดังนั้นบูรพาเวชสาร ปีที่ 7 ฉบับ 1 มกราคม - มิถุนายน 2563 บรรณาธิการจึงถือเป็น
โอกาสพิเศษสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์จักรพันธุ์ ศิริบริรักษ์ กุมารแพทย์เฉพาะทางด้าน
โรคติดเชื้อ และประธานคณะกรรมการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
รวมทั้งเรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ได้ช่วยกันทบทวนบทความวิชาการเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักโรคโควิด-19
ได้มากยิ่งขึ้น และจัดวางบทความพิเศษนี้อยู่ในหลังบททบทวนวรรณกรรม คือในตอนท้ายสุดของวารสาร
ฉบับนี้
ขณะที่เขียนบทบรรณาธิการในวันที่ 3 มิถุนายน 2563 มีโรคโควิด-19 ที่ confirmed cases
จากองค์การอนามัยโลกแล้วกว่า 6 ล้านราย คือ จำนวน 6,272,098 คน มี confirmed deaths จำนวน
379,044 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 6.04 จาก 216 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจำนวนการติดเชื้อและ
อัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นแต่ไม่ได้ขึ้นแบบอัตราเร่ง (exponential curve) บุคลากร
ทางการแพทย์เป็นผู้ที่เสียสละอย่างมากในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19
พบว่ามีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมากด้วยเช่นกัน
จากการรายงานของ National Health Commission of the People’s Republic of China
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 พบว่า มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 2,055 คน (ไม่ได้
ระบุว่าเป็นการติดเชื้อจากโรงพยาบาลหรือจากชุมชน) โดย Wang และคณะรายงานว่า สาเหตุที่ทำให้
บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 เกิดจากการป้องกันอนามัยส่วนบุคคลของบุคลากรทางการแพทย์
ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของการเกิดโรค ทั้งจากการไม่ทราบว่าเชื้อโรคที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร
และการตระหนักเรื่องการป้องกันอนามัยส่วนบุคคลยังไม่เข้มแข็งจริงจัง ส่งผลให้บุคลากรที่ให้การดูแล
รักษาด่านแรกไม่ได้ใช้การป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสัมผัสผู้ติดเชื้อโดยตรงเป็นเวลานาน
และการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันอนามัยส่วนบุคคลอย่างมาก (personal protective equipment;
PPE) บุคลากรที่ให้การดูแลรักษาด่านแรกได้รับความรู้ไม่เพียงพอ และขาดการฝึกอบรมวิธีการสวมใส่และ
ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการติดเชื้อโควิด-19 ดังนั้นการควบคุม
และป้องกันการติดเชื้อ มีความสำคัญอย่างยิ่ง (infection prevention and control; IPC)
การพัฒนายาต้านไวรัส มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาวัคซีนก็เป็นเรื่องจำเป็น
การพัฒนาวัคซีนโดยทั่วไปกว่าจะนำมาใช้ในมนุษย์ได้จะใช้เวลาประมาณ 10 ปี เพราะต้องผ่าน
กระบวนการค้นคว้า การทดลองในสัตว์ทดลอง การทดลองในมนุษย์ แล้วจึงนำมาใช้กับประชาชน

References

Wang J, Zhou M, Liu F. Reasons for healthcare workers becoming infected with novel
coronavirus disease 2019 (COVID-19) in China. J Hosp Infect. 2020;105(1):100-101. doi:
10.1016/j.jhin.2020.03.002. Epub 2020 Mar 6. PMID: 32147406; PMCID: PMC7134479.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26