การประเมินความเสี่ยงและการจัดการบุคลากร ทางการแพทย์ที่สัมผัสเชื้อไวรัสโควิด-19

ผู้แต่ง

  • อโณทัย จัตุพร สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน อาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยง, การจัดการ, บุคลากรทางการแพทย์, เชื้อไวรัสโควิด-19

บทคัดย่อ

บทนำ บุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 สูง การดูแลบุคลากรในสถานพยาบาลที่
มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 จึงควรได้รับการประเมินความเสี่ยงและการจัดการจากหน่วยงาน
อาชีวอนามัย และหน่วยงานควบคุมโรคติดเชื้อของโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อในบุคลากร
ทางการแพทย์
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อทบทวนแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงและการจัดการของบุคลากรทางการ
แพทย์ที่สัมผัสเชื้อโควิด-19 ที่เผยแพร่ในปัจจุบัน 2) เพื่อเผยแพร่เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ประเมินความเสี่ยง
วิธีการศึกษา รวบรวมแนวทางปฏิบัติของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทางแพทย์ จากองค์การ
อนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
(Centers for Disease Control and Prevention: CDC) และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ผลการศึกษา การประเมินความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์อาศัยการประเมินการรับสัมผัสต่อเชื้อไวรัสโค
วิด-19 โดยอาศัยข้อมูล เช่น ระยะห่าง ระยะเวลา และความรุนแรงของเหตุการณ์สัมผัส การใส่หน้ากากป้องกัน
ของผู้ป่วย กิจกรรมที่บุคลากรทำกับผู้ป่วย และการใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลของบุคลากรทางการแพทย์
จากนั้นบุคลากรจะถูกแบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็นระดับสูง กลาง และตำ โดยมีกระบวนการจัดการบุคลากร
ที่เคร่งครัดแตกต่างกัน ที่ประกอบไปด้วย การหยุดการปฏิบัติงานและกักตัว การส่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 การ
สังเกตอาการและวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วันหลังวันที่สัมผัสผู้ป่วยครั้งสุดท้าย และการ
ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย
สรุปผล เมื่อบุคลากรทางการแพทย์สัมผัสผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 ควรได้รับการประเมินความเสี่ยง ให้การจัดการ
ตามระดับความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ

References

1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การ
จัดการทางด้านอาชีวอนามัยและการสอบสวน
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในบุคลากรสุขภาพ
[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 เม.ย. 2563].
เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/
contents/view/885
2. World Health Organization. Risk assessment
and management of exposure of health
care workers in the context of COVID-19:
interim guidance, 19 March 2020 [Technical
documents]. World Health Organization;
2020 [Internet]. Accessed 9 April 2020.
Available from: https://apps.who.int/iris/
handle/10665/331496.
3. Centers for Disease Control and Prevention.
Interim U.S. Guidance for Risk Assessment
and Public Health Management of
Healthcare Personnel with Potential
Exposure in a Healthcare Setting to Patients
with Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
2020 [Internet]. Accessed 9 April 2020.
Available from: https://www.cdc.gov/
coronavirus/2019-ncov/hcp/guidance-riskassesment-hcp.html.
4. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทาง
การเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19)
ฉบับ 23 มีนาคม 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้า
ถึงเมื่อ 9 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.
moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_
srrt_250363.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-27