การประเมินปริมาณและชนิดของแบคทีเรีย ในอากาศภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล

Main Article Content

รจฤดี โชติกาวินทร์
นริศรา จันทรประเทศ
ภารดี อาษา
ทิษฏยา เสมาเงิน

บทคัดย่อ

บทนำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีผู้เข้าใช้บริการจำนวนมาก ระบบปรับอากาศภายในอาคารหาก
บำรุงรักษาไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ อาจก่อให้เกิดปัญหาการแพร่กระจายของแบคทีเรียในอากาศภายในอาคาร
และก่อให้เกิดโรคกับผู้เข้ารับบริการได้
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินปริมาณและชนิดของแบคทีเรียในอากาศภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) โดย
เก็บตัวอย่างอากาศช่วงฤดูฝนในห้องตรวจรักษา จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 แห่ง รวม 630 ตัวอย่าง ทำการ
เก็บตัวอย่างแบคทีเรียด้วยเครื่องแอนเดอร์เซน อิมแพคเตอร์ ชนิดชั้นเดียว คุณภาพอากาศด้านกายภาพและเคมี
ตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือชนิดอ่านค่าได้ทันที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน
ผลการศึกษา ชนิดของแบคทีเรียที่พบมากในการศึกษาครั้งนี้มี 3 ชนิด ได้แก่ Staphylococcus,
Corynebacterium, Streptococcus และปริมาณแบคทีเรียมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 583.19+304.36 CFU/m3
ซึ่ง
เกินค่าแนะนำของสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย (ไม่เกิน 500 CFU/m3
) และองค์การอนามัยโลก (ไม่เกิน
100 CFU/m3
) โดยปริมาณแบคทีเรียขณะให้บริการ (828.86+375.01 CFU/m3
) มีปริมาณแบคทีเรียสูงกว่า
ก่อนให้บริการ (409.61+122.20 CFU/m3
) และหลังให้บริการ (511.09+164.78 CFU/m3
) อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<0.05) โดยปริมาณแบคทีเรียในอากาศภายในห้องตรวจรักษาที่มีอุณหภูมิ (>26o
C) การเคลื่อนที่
อากาศ (>0.30 m/s) และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (>1,000 ppm) เกินข้อแนะนำของสำนักอนามัย จะ
มีปริมาณแบคทีเรียสูงกว่าที่ได้ตามข้อแนะนำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และค่าสัดส่วนของ I/O มีค่า
สูงถึง 16 เท่า แสดงให้เห็นว่าแหล่งกำเนิดแบคทีเรียในอากาศภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาจาก
แหล่งกำเนิดภายในอาคาร
สรุป พบปริมาณแบคทีเรียภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครสวรรค์ เกินค่าแนะนำของ
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย (ไม่เกิน 500 CFU/m3
) และองค์การอนามัยโลก (ไม่เกิน 100 CFU/m3
)
และแหล่งกำเนิดแบคทีเรียมาจากภายในอาคาร

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Kim KY, Kim CN. Airborne microbiological
characteristics in public buildings of
Korea. Building and Environment. 2007;
42: 2188–96.
2. Kim KY, Kim Yoon Shin, Daekeun Kim.
Distribution Characteristics of Airborne
Bacteria and Fungi in the General Hospitals
of Korea. Industrial Health. 2010; 48:
236–43.
3. กฤษณียา ศังขจันทรานนท์, เนสินี ไชยเอีย, พิพัฒน์
ศรีเบญจลักษณ์ และภารดี ช่วยบ�ำรุง. ชนิดและ
ปริมาณของแบคทีเรียและเชื้อราที่ก่อโรคในโรง
พยาบาลและการเปรียบเทียบการท�ำงานของ
เครื่องมือเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ในอากาศ. วารสาร
การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2549;
30: 113-24.
4. ศิริพร ศรีเทวิณ และกาญจนา นาถะพินธุ. การปน
เปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในบรรยากาศในโรงพยาบาล
ขนาดที่แตกต่างกัน. วารสารวิจัย มข. (บศ.).
2555; 12. 92-101
5. Park, D., Jeong-Kwan Yeom, Won Jae
Lee, Kyeong-Min Lee. Assessment of the
Levels of Airborne Bacteria, Gram-Negative
Bacteria, and Fungi in Hospital Lobbies.
Int. J. Environ. Res. Public Health. 2013;
10: 541-55.
6. ชูชัย ศุภวงศ์ และคณะ. คู่มือการให้บริการของโรง
พยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล. กรุงเทพมหานคร:
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ; 2552.
7. ศรัญญู ค�ำภาบุตร. ความสัมพันธ์ระหว่างอัตรา
การระบายอากาศและปริมาณจุลินทรีย์ในอากาศ
ภายในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
8. Chuaybamroong, P., Choomseer, P.,
Sribenjalux, P. Comparison between
Hospital Single Air Unit and Central Air
Unit for Ventilation Performances and
Airborne Microbes. Aerosol and Air Quality
Research. 2008; 8: 28-36.
9. ภารดี ช่วยบ�ำรุง. เทคโนโลยีการก�ำจัดจุลินทรีย์ใน
อากาศในโรงพยาบาล. ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย; 2557.
10. ภูริทัต เมืองบุญ และอนุชา อภิสารธนรักษ์. โรคติด
เชื้อในโรงพยาบาล (Nosocomial infection in
community hospital) [ออนไลน์]. 2550 (เข้า
ถึงเมื่อ 18 กพ. 2562). เวปไซต์ http://www.
doctor.or.th/ clinic/ detail/7476. 2550
11. สมหวัง ด่านวิจิตร. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: แอล ที เพรส
จ�ำกัด; 2544.
12. Lonon MK. Bioaerosol sampling 0800
NIOSH Manual of Analytical Methods
[internet]. 2014 [access Apr 19, 2014].
Available from: http: //www.cdc.gov/niosh/
nmam/pdfs/0800.pdf.
13. ส�ำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวง
สาธารณสุข. คู่มือการตรวจรับรองคุณภาพอากาศ
ในอาคาร. กรุงเทพมหานคร: บมจ. ศิริวัฒนา
อินเตอร์พริ้นท์; 2555.
14. Forbes B.A., Sahm D.F., Weissfeld A.S.
Bailey & Scott’s Diagnostic Microbiology.,
editors. 12th ed. Mosby, Elsevier: St. Louis
Publishers; 2007.
15. กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี. (2558). คู่มือปฏิบัติด้านความ
ปลอดภัยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ.
เวบไซต์ http://www.dss.go.th/images/ohm/
lab-safety.pdf
16. ACGIH. “Bioaerosols ; ACGIH Guidelines of
assessment and sampling of saprophytic
bioaerosols in indoor environment”.
Applied Industrial Hygiene. 1987; 2:
R10-R-16.
17. World Health Organization. Indoor air
quality: biological contaminants. Report
on a WHO meeting. WHO document. 1990;
31: 1-67.
18. รจฤดี โชติกาวินทร์, ภารดี อาษา, มนัสนันท์ พิ
บาลวงศ์ และเอกพงษ์ สุดสาว. การประเมิน
คุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ จังหวัด
ชลบุรี. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 6 ณ
อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม
2550 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ 25
พฤศจิกายน 2559.
19. รจฤดี โชติกาวินทร์. คุณภาพอากาศทางจุลินทรีย์
ในสถานศึกษาปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัย
ทักษิณ. 2559; 19. 84-95.
20. Obbard, J. P., Fang, L. S. Airborne
Concentrations of Bacteria in a Hospital
Environment in Singapore. Water, Air and
Soil Pollution. 2003; 144: 333-41.
21. ศิริลักษณ์ วงษ์วิจิตสุข. “อันตรายและการควบคุม
จุลินทรีย์ในอากาศภายในโรงงานอุตสาหกรรม”,
วารสาร มฉก วิชาการ. 2553; 13: 65-80.
22. อิสยา จันทร์วิทยานุชิต และวัชรินทร์ รังษีภาณุรัตน์.
แบคทีเรียทางการแพทย์. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนัก
พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556.
23. Sandra Cabo Verde, Susana Marta Almeida,
Jo~ao Matos, Duarte Guerreiro, Marcia
Meneses, Tiago Faria, Daniel Botelho,
Mateus Santos and Carla Viegas.
Microbiological assessment of indoor air
quality at different hospital sites. Research
in Microbiology. 2015; 166: 557-63.
24. Ekhaise F.O., Ighosewe O.U. and Ajakpovi
O.D. Hospital Indoor Airborne Microflora in
Private and Government Owned Hospitals
in Benin City, Nigeria. World Journal of
Medical Sciences. 2008; 3: 19-23.
25. ธีรวงศ์ มีชื่น. ความแปรปรวนของความเข้มข้น
ฝุ่นและปริมาณแบคทีเรียในอากาศกับการระบาย
อากาศและกิจกรรมภายในห้องของโรงพยาบาล
กลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร
มหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2553.
26. Nandalal P and Somashekar RK.
Prevalence of Staphylococcus aureus
and Pseudomonas aeruginosa in indoor
air flora of a district hospital, Mandya,
Karnataka. J Environ Biol. 2007; 28: 197-
200.
27. ส�ำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวง
สาธารณสุข. คู่มือมาตรฐานอนามัยสิ่งแวดล้อม.
กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักงานกิจการโรงพิมพ์
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2556.
28. จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ. คุณภาพอากาศภายใน
อาคาร. ในสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและการประเมิน
(หน่วยที่ 15). กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2555.
29. Fang, D.P., Wyon, D.P., Clausen, G.
and Fanger, P.O. Impact of indoor air
temperature and humidity in an office on
perceived air quality, SBS symptoms and
performance. Indoor Air. 2004; 14: 74-81.
30. ส�ำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวง
สาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อตรวจประเมิน
คุณภาพอากาศภายในอาคาร. กรุงเทพมหานคร:
ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์. 2559.
31. อริสา กาญจนากระจ่าง และภารดี ช่วยบ�ำรุง. การ
ตรวจวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อตรวจสอบ
ประสิทธิภาพการระบายอากาศภายในห้องเรียน.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นวารสาร
ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 25
ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2560. 960-974.