ความเข้มข้นที่เหมาะสมของยีสต์สกัดสำหรับทดลองการอดอาหารในแมลงหวี่ และจำนวนแมลงหวี่ที่เหมาะสมในการตรวจสอบปริมาณการกินอาหาร

ผู้แต่ง

  • ปณาลี เพชรรัตน์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
  • เกรียง กาญจนวตี ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

การยืดอายุ, ความชรา, แมลหวี่, ยีสต์สกัด

บทคัดย่อ

ความเป็นมา การจำกัดอาหารคือการลดปริมาณการบริโภคซึ่งพบว่าช่วยเพิ่มอายุได้ เนื่องจากอาหารแต่ละชนิด
มีองค์ประกอบแตกต่างกัน การลดปริมาณอาหารแล้วมีประสิทธิภาพสูงสุดในการเพิ่มอายุจึงมีค่าแตกต่างกัน
ดังนั้นการลดปริมาณยีสต์สกัดซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนชนิดหนึ่ง เพื่อให้เกิดการเพิ่มอายุของแมลงหวี่จึงแตกต่างไป
จากแหล่งโปรตีนชนิดอื่น นอกจากนี้ชนิดและปริมาณของอาหารอาจส่งผลต่อปริมาณอาหารที่แมลงหวี่กิน จึง
ต้องมีวิธีการที่เหมาะสมในการตรวจสอบปริมาณการกินอาหาร
วัตถุประสงค์ เพื่อทราบความเข้มข้นของยีสต์สกัดที่เป็นส่วนประกอบของอาหารสำหรับการจำกัดอาหารและ
อาหารที่ให้กินอย่างเต็มที่ และเพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการตรวจสอบปริมาณการกินอาหาร
วัสดุและวิธีการ เปรียบเทียบการอยู่รอดของแมลงหวี่ในอาหารที่มียีสต์สกัดร้อยละ 0.25 0.5 1 5 และ 10 (w/v)
กับชุดการทดลองควบคุมที่ใช้ยีสต์แห้งความเข้มข้น ร้อยละ 10 (w/v) หาความแตกต่างการอยู่รอดด้วย log-rank
test อัตราความชราที่เกิดขึ้นด้วย Gompertz model และวัดค่าการดูดกลืนแสงของ Brilliant Blue FCF No.1
ที่ความยาวคลื่น 625 นาโนเมตร จากแมลงหวี่จำนวน 10 20 และ 30 ตัว ที่ผ่านการให้อาหารที่มีสีย้อมดังกล่าว
ผสมอยู่ โดยสกัดด้วยสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ซาไลน์ 300 ไมโครลิตร
ผลการศึกษา จากการทดสอบอายุของแมลงหวี่เมื่อให้อาหารชนิดต่าง ๆ โดยใช้ค่ากลางและ log-rank test พบว่า
ช่วงความเข้มข้นของยีสต์สกัดในอาหารเลี้ยงแมลงหวี่ที่สอดคล้องกับทฤษฎีการจ�ํากัดอาหารสำหรับแมลงหวี่
เพศเมียคือ ความเข้มข้นยีสต์สกัดระหว่างร้อยละ 1–5 (w/v) ในขณะที่แมลงหวี่เพศผู้คือ ความเข้มข้นยีสต์สกัด
ในช่วงร้อยละ 0.5–10 (w/v) สำหรับการวิเคราะห์โดยใช้ Gompertz model พบว่า ที่ความเข้มข้นร้อยละ
0.5–10 (w/v) ไม่สอดคล้องกับการวิเคราะห์โดยใช้ค่ากลางอายุ มีเพียงที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.25 (w/v) เท่านั้น
ที่สอดคล้องกับค่ากลางอายุทั้งแมลงหวี่เพศผู้และเพศเมีย สำหรับการตรวจสอบปริมาณการกินอาหารพบว่า
แมลงหวี่ 10 ตัว ให้ค่าวัดการดูดกลืนแสงที่ 0.539
สรุป อาหารที่มีปริมาณยีสต์สกัดเหมาะสมต่อการนำไปทดลองการอดอาหารของแมลงหวี่ ทั้งแมลงหวี่เพศผู้และ
เพศเมีย คือ อาหารที่มียีสต์สกัดร้อยละ 1 (w/v) สามารถใช้ทำให้เกิดการจำกัดอาหาร และ อาหารที่มียีสต์สกัด
ร้อยละ 5 (w/v) สามารถใช้ทำให้เกิดการกินได้อย่างเต็มที่ จำนวนแมลงหวี่ที่ให้ค่าดูดกลืนแสงที่เหมาะสม คือ
10 ตัว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-27