ผลของค่าอัตราการกรองของไต ณ ช่วงเวลา ที่ผู้ป่วยเริ่มล้างไตทางช่องท้องต่อผลลัพธ์ทาง คลินิกในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • ระวีวรรณ วิฑูรย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
  • สมชาย ยงศิริ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย
  • อโนชา วนิชชานนท์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลชลบุรี ชลบุรี ประเทศไทย
  • เพ็ชรงาม ไชยวานิช ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

การล้างไตทางช่องท้อง, ค่าอัตราการกรองของไต, อัตราการอยู่รอด, การติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง

บทคัดย่อ

บทนำ ระยะเวลาที่เหมาะสำหรับการเริ่มล้างไตทางช่องท้องยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด
วัตถุประสงค์ หาความสัมพันธ์ระหว่างค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) เริ่มต้นของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องกับ
อัตราการรอดชีวิต การนอนโรงพยาบาลและภาวะแทรกซ้อนจากการล้างช่องท้อง
วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาตั้งแต่ปี พ.ศ.2556-
2560 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การล้างไต ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การติดเชื้อ นอนรพ.และเสียชีวิตของผู้
ป่วย แบ่งผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่มตามค่า eGFR < 3, 3-5.9, 6-9.9 และ ≥10 มล. /นาที/ 1.73 ตารางเมตร เพื่อค้นหา
ความสัมพันธ์ของ eGFR เริ่มต้นกับผลลัพธ์ทางคลินิก
ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่เข้าร่วม 176 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง eGFR เริ่มต้นเฉลี่ย 5.35±2.60 มล. /นาที/ 1.73
ตารางเมตร ปริมาณปัสสาวะคงเหลือ 736.53 ± 502.58 มิลลิลิตรต่อวัน ระยะเวลาในการล้างช่องท้อง 26.32 ±
19.42 เดือน ผู้ป่วยเสียชีวิต 76 ราย จากการศึกษาพบว่า ระดับค่า eGFR เริ่มต้นไม่สัมพันธ์กับอัตราการรอดชีวิต
ของผู้ป่วย (95% CI:0.88-1.50; p=0.318) เช่นเดียวกันกับอัตราการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องและการนอนโรง
พยาบาล (p=0.801, p=0.674 ตามลำดับ)
สรุปผลการศึกษา กลุ่มผู้ป่วยที่เริ่มล้างไตทางช่องท้อง ณ ค่าอัตราการกรองของไตต่ำให้ผลลัพธ์ทางคลินิกไม่แตก
ต่างจากกลุ่มที่เริ่มเร็วกว่าทั้งในแง่อัตราการรอดชีวิต การติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องและอัตราการนอนโรงพยาบาล

References

1. Bonomini V, Feletti C, Stefoni S, Vangelista
A. Early dialysis and renal transplantation.
Nephron. 1986; 44: 267-71.
2. Bonomini V, Vangelista A, Stefoni S. Early
dialysis in renal substitutive programs.
Kidney Int Suppl. 1978: S112-6.
3. NKF-DOQI clinical practice guidelines for
peritoneal dialysis adequacy. National
Kidney Foundation. Am J Kidney Dis. 1997;
30(3 Suppl 2): S67–136.
4. Saran R, Robinson B, Abbott KC, Bragg-
Gresham J, Chen X, Gipson D, et al. US
Renal Data System 2019 Annual Data
Report: epidemiology of kidney disease in
the United States. Am J Kidney Dis. 2019;
Oct 31. pii: S0272-6386(19)31009-1.
5. Jain AK, Sontrop JM, Perl J, Blake PG, Clark
WF, Moist LM Timing of peritoneal dialysis
initiation and mortality: analysis of the
Canadian Organ Replacement Registry. Am
J Kidney Dis. 2014; 63: 798–805.
6. Cooper BA, Branley P, Bulfone L. A
randomized, controlled trial of early
versus late initiation of dialysis. N Engl J
Med. 2010; 363: 609–19.
7. Tattersall J, Dekker F, Heimbürger O. Jager
KJ, Lameire N, Lindley E, et al. When to
start dialysis: updated guidance following
publication of the Initiating Dialysis Early
and Late (IDEAL) study. Nephrol Dial
Transplant. 2011; 26: 2082–6.
8. Andrassy KM, Comments on ‘KDIGO
2012 Clinical Practice Guideline for the
Evaluation and Management of Chronic
Kidney Disease’. Kidney Int. 2013; 84:
622–3.
9. Nesrallah GE, Mustafa RA, Clark WF, Bass A,
Barnich L, Hemmelgarn BR, et al. Canadian
Society of Nephrology 2014 clinical
practice guideline for timing the initiation
of chronic dialysis. CMAJ. 2014; 186: 112–7.
10. Adequacy of dialysis and nutrition in
continuous peritoneal dialysis association
with clinical outcomes. Canada-USA
(CANUSA) Peritoneal Dialysis Study Group.
J Am Soc Nephrol. 1996; 7: 198–207.
11. Tang SC, Ho YW, Tang AW, Cheng YY, Chiu
FH, Hong Kong Peritoneal Dialysis Study
Group. Delaying initiation of dialysis till
symptomatic uraemia–is it too late?
Nephrol Dial Transplant. 2007; 22: 1926–
32.
12. Shiao CC, Huang JW, Chien KL, Chuang
HF, Chen YM, Wu KD. Early initiation of
dialysis and late implantation of catheters
adversely affect outcomes of patients on
chronic peritoneal dialysis. Perit Dial Int.
2008; 28: 73-81.
13. Johnson DW, Wong MG, Cooper BA,
Branley P, Bulfone L, Collins JF, et al.
Effect of timing of dialysis commencement
on clinical outcomes of patients with
planned initiation of peritoneal dialysis
in the IDEAL trial. Perit Dial Int. 2012; 32:
595–604.
14. Oh KH, Hwang YH, Cho JH, Kim M, Ju KD,
Joo KW, et al. Outcome of early initiation
of peritoneal dialysis in patients with endstage
renal failure. J Korean Med Sci. 2012;
27: 170-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-24