ผลของโปรแกรมฝึกความจำขณะปฏิบัติงานด้านการมองเห็น และมิติสัมพันธ์ สำหรับผู้สูงอายุ

Main Article Content

พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความจำขณะปฏิบัติงานด้านการมองเห็นและมิติ
สัมพันธ์สำหรับผู้สูงอายุ
วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง (experimental research design) แบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลองและสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 - 70
ปี จังหวัดชลบุรี จำนวน 30 คน แบ่ง 2 กลุ่มจำนวนเท่าๆ กัน โดยพิจารณาถึงความเหมือนในด้านเพศ อายุ และ
ระดับการศึกษาเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมพัฒนาความจำขณะปฏิบัติ
งานด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยการศึกษาตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 45 – 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและเครื่องมือวัดความจำขณะปฏิบัติงานด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์คือ
กิจกรรม symmetry span วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความจำขณะปฏิบัติงานด้านการ
มองเห็นและมิติสัมพันธ์ในระยะก่อน สิ้นสุด และติดตามผลการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
ด้วยสถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปร
ภายในกลุ่ม


ผลการศึกษา กลุ่มทดลองมีคะแนนความจำขณะปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับโปรแกรมการฝึกความจำขณะ
ปฏิบัติงานด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในระยะสิ้นสุดการทดลอง
และระยะติดตามผลที่ 4 สัปดาห์ ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนความจำ ขณะปฏิบัติงานสูงกว่ากลุ่มควบคุม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ชี้ให้เห็นว่า การได้รับโปรแกรมฝึกความจำขณะปฏิบัติงานด้านการมอง
เห็นและมิติสัมพันธ์ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านความจำขณะปฏิบัติงานของผู้สูงอายุ
สรุปผลการศึกษา จากผลคะแนนที่สูงขึ้นในระยะสิ้นสุดการทดลองและผลคะแนนที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม
ทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะสิ้นสุดการทดลองและระยะติดตามผล ดังนั้นโปรแกรมฝึกความจำขณะปฏิบัติ
งานด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์นี้สามารถนำไปใช้ฝึกผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านความจำขณะปฏิบัติงานได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อัญชนา จุลศิริ และ เสรี ชัดแช้ม. ผลของการ
ฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจต่อการเพิ่มความจำ
ขณะคิดในผู้สูงอายุ: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง.
วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 2556; 11:
1-18.

2. อัครภูมิ จารุภากร และ พรพิไล เลิศวิชา. สมอง
เรียนรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมอัจฉริยะภาพ
และนวัตกรรมการเรียนรู้; 2551.
3. Baddeley AD. Fractionating the central
executive. In: Stuss DT, Knight RT, editors.
Principles of frontal lobe function. New
York (NY) US: Oxford University Press; 2002.
p. 246-60.
4. Dehn MJ. Working memory and academic
learning: Assessment and intervention.
Hoboken: New Jersey (US): John Wiley &
Sons Inc.; 2008.
5. พีร วงศ์อุปราช. 39 ปีของแบบจ?ำลองความ
จ?ำขณะปฏิบัติการ: งานวิจัยและการประยุกต์.
วารสารวิทยาการ วิจัยและวิทยาการปัญญา.
2555; 2: 1-16.
6. Borella E, Carretti B, Cantarella A, Riboldi F,
Zavagnin M, De Beni R. Benefits of training
visuospatial working memory in young-old
and old-old. Dev Psychol. 2014; 50: 714-27
7. Shah P and Miyake A. The separability
of working memory resources for spatial
thinking and language processing: An
individual differences approach. J Exp
Psychol Gen. 1996; 1: 4-27.
8. Kane MJ, Hambrick DZ, Tuholski SW,
Wilhelm O, Payne TW, Engle RW. The
generality of working memory capacity:
A latent-variable approach to verbal and
visuospatial memory span and reasoning.
J Exp Psychol Gen. 2004; 2: 189-217.
9. Felez-Nobrega M, Foster JL, Puig-Ribera A,
Draheim C, Hillman CH. Measuring working
memory in the Spanish population:
Validation of a multiple shortened complex
span task. Psychol Assess. 2018; 2: 274-79.
10. James MS, John NT. A Working Memory
Test Battery: Java-Based Collection of
Seven Working Memory Tasks. JORS. 2015;
3: 634-42.
11. John CC, Fredda BF. Adult Development
and Aging. 7th ed. Stanford (USA): Cengage
Learning; 2015.
12. Gross AL, Parisi JM, Spira A, Kueider AM,
Ko JY, Saczynski JS, et al. Memory training
interventions for older adults: A metaanalysis.
Aging Mental Health. 2012; 6:
722-34.
13. Penner IK, Vogt A, Stöcklin M, Gschwind
L, Opwis K, Calabrese P. Computerized
working memory training in healthy adults
A comparison of two different training
schedules. Neuropsychol Rehabil. 2012;
5: 716-33.
14. ธวัชชัย วรพงศธร. หลักการวิจัยทางสาธารณสุข
ศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย; 2540.
15. Best JW. Research in Education. 3rd ed.
New Jersey: Prentice hall Inc.; 1977.
16. Winer JB, Brown RD, Michels MK. Statistical
principles in experimental design. 3rd ed.
New York: McGeaw Hill; 1991.
17. Howell DC. Fundamental statistics for the
behavioral science. 4th ed. Pacific Grove.
CA: Brooks Cole; 1991.
18. Zinke K, Zeintl M, Rose NS, Putzmann
J, Pydde A, Kliegel M. Working memory
training and transfer in older adults: Effects
of age, baseline performance, and training
gains. Dev Psychol. 2014; 1: 304-15.
19. Pilar T, José MR, Julia M, Soledad B. Video
game training enhances visuospatial
working memory and episodic memory
in older adults [Internet]. 2016 [cited
2017 Mar 7, 2017]. Available from https://
www.frontiersin.org/articles/10.3389/
fnhum.2016.00206/full
20. Zimmermann N, Netto TM, Amodeo
MT, Ska B, Fonseca RP. Working memory
training and poetry-based stimulation
programs: Are there differences in cognitive
outcome in healthy older adults?. Neuro
Rehabilitation. 2014; 1: 159-70.
21. Loftus EF. The reality of repressed
memories. American Psychologist. 1993;
5: 518-537.
22. Kramer AF, Larish JL, Weber TA, Bardell
L. Training for executive control: Task
coordination strategies and aging. In:
Gopher D, Koriat A. editors. Attention and
performance. Attention and performance
XVII: Cognitive regulation of performance:
Interaction of theory and application;
1999.
23. Reichman W, Fiocco A, Rose N. Exercising
the brain to avoid cognitive decline:
Examining the evidence. Aging Health.
2010; 5: 565-84.
24. Rachel VW, Cheryl H, Julia JH, Ingrid SJ.
Working memory training and speech
in noise comprehension in older adults
[Internet]. 2016 [cited 2017 Mar 7].
Available from https://www.frontiersin.
org/articles/10.3389/fnagi.2016.00049/full