การพัฒนาต้นแบบระบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการบริการ ทางการแพทย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

นฤตย์ คุ้มยา

บทคัดย่อ

บทนำ เนื่องจากระบบบริหารงานโรงพยาบาลของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาแตกต่างจากระบบ
บริหารงานโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้ไม่สามารถนำโปรแกรมวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของ
กระทรวงสาธารณสุข (PH Costing) มาคำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้อง
สร้างแบบบันทึกข้อมูลและปรับปรุงโปรแกรมในการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยเป็นการเฉพาะของโรงพยาบาล
มหาวิทยาลัยบูรพา
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบบันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยในการบริการรักษาพยาบาล
ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และศึกษาต้นทุนต่อหน่วยย้อนหลัง
3 ปีงบประมาณโดยใช้ต้นแบบระบบบันทึกการวิเคราะห์ต้นทุนที่สร้างขึ้น
วิธีการศึกษา ผู้วิจัยแบ่งการศึกษาเป็น 5 ขั้นตอน 1) วิเคราะห์ระบบงานของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
2) สร้างเครื่องมือที่ใช้เพื่อเป็นต้นแบบแบบบันทึกข้อมูลในรูปของ Microsoft office excel และสร้างโปรแกรม
วิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (BUH Costing) เพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย 3) เก็บรวมรวมข้อมูลจากระบบ
บัญชี 3 มิติของโรงพยาบาลและข้อมูลระบบบริหารงานของโรงพยาบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 2559 และ
2560 ลงในต้นแบบที่สร้างขึ้น 4) กำหนดเกณฑ์การกระจายต้นทุนของแผนกต่างๆ และ 5) วิเคราะห์ข้อมูลโดย
ใช้โปรแกรม BUH Costing สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และอัตราส่วน
ผลการศึกษา ผู้วิจัยได้ต้นแบบสำหรับบันทึกข้อมูล 6 แบบ จำนวน 83 รายการ ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูล
ทรัพยากรพื้นฐานบุคลากร จำนวน 8 รายการ 2) แบบบันทึกค่าแรงจำแนกตามหน่วยต้นทุน จำนวน 28 รายการ
3) แบบบันทึกค่าวัสดุจำแนกตามหน่วยต้นทุน จำนวน 25 รายการ 4) แบบบันทึกค่าลงทุนจำแนกตามหน่วยต้นทุน
จำนวน 6 รายการ 5) แบบบันทึกข้อมูลตามเกณฑ์การกระจายของหน่วยต้นทุน จำนวน 12 รายการ และ 6) แบบ
บันทึกการประมวลผลต้นทุนรวมทางตรงของหน่วยต้นทุน จำนวน 4 รายการ จากการศึกษาต้นทุนต่อหน่วยโดย
ใช้ต้นแบบแบบบันทึกที่สร้างขึ้น พบว่าสามารถนำข้อมูลจากระบบ 3 มิติของโรงพยาบาลในปีงบประมาณ พ.ศ.
2558 2559 และ 2560 ได้ต้นทุนของงานบริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ย เท่ากับ 2,429.25 1,613.92 และ 1,836.74
บาทต่อครั้ง ต้นทุนบริการผู้ป่วยในเฉลี่ย เท่ากับ 5,022.57 4,931.57 และ 4,628.65 บาทต่อวันนอน อัตราส่วน
ของต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน เฉลี่ย เท่ากับ 50.59 : 40.62 : 8.79 ตามลำดับ แผนกที่มี
ต้นทุนรวมทางตรงมากที่สุดในระดับต้นๆ คือ งานการแพทย์ (ค่าแรง) กลุ่มงานการพยาบาล (ค่าแรง) กลุ่มงานเภสัชกรรม (ค่าวัสดุและค่าแรง) งานบริหารงานพัสดุ (ค่าวัสดุ) งานรังสีวิทยาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (ค่าลงทุน)
และแผนกห้องผ่าตัด (ค่าลงทุน)
สรุป ต้นแบบระบบบันทึกข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล
มหาวิทยาลัยบูรพาที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้จัดเก็บข้อมูลและนำเข้าสู่ระบบเพื่อใช้วิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย
ในแต่ละปีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ราชกิจจานุเบกษา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พ.ศ. 2540. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอน
ที่ 40 ก หน้า 12.

2. ส?ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.).
10 เรื่องควรรู้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ
กรุงเทพมหานคร: ส?ำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วม
สปสช. 2556.

3. ส?ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการ
ศึกษาต้นทุนสถานบริการ สังกัดส?ำนักงานปลัด
กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี 2556.

4. เริงชัย ตันสุชาติ. เศรษฐมิติ เชียงใหม่ : โรงพิมพ์
โทนคัลเลอร์, 2548

5. ส?ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.
รายงานการศึกษาต้นทุนบริการ (Unit Cost)
ของโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขต
สุขภาพที่ 9 ปีงบประมาณ 2559 กรุงเทพมหานคร
: อันลิมิต พริ้นติ้ง จ?ำกัด 2560.

6. วนิดา ริ้วสุวรรณ. การศึกษาต้นทุนหน่วย
บริการ Unit Cost แบบ Modified Full Cost
ของโรงพยาบาลเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ปีงบประมาณ 2556 เปรียบเทียบปีงบประมาณ
2557. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก
โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2558; 32: 157 – 72.

7. เชิดทรง จันทร์หง่อม. การศึกษาต้นทุนหน่วย
บริการโรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์, 2556
8. มลฤดี บ?ำรุงชู. การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย
บริการโรงพยาบาลบันนังสตา จังหวัดยะลา
[วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต].
ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล
ธัญบุรี; 2554.

9. จันทนา สุขรัตน์อมรกุล. ต้นทุนต่อหน่วยบริการ
ของโรงพยาบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา.
วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี.
2553; 21: 36-49.