ผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บต่อ ผลการรักษาผู้บาดเจ็บรุนแรงของเครือข่าย จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

ชาติชาย คล้ายสุบรรณ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ ประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บที่มีต่อผลการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บรุนแรงของเครือข่ายจังหวัดปราจีนบุรี


วิธีการศึกษา การศึกษาแบบย้อนหลัง เปรียบเทียบผลการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บรุนแรงก่อนและหลังการพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ ก่อนพัฒนาระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง กันยายน พ.ศ. 2559 และหลังพัฒนาระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง กันยายน พ.ศ. 2560 ผลการดูแลรักษาที่สนใจ คือ อัตราการเสียชีวิตใน 30 วัน ระยะเวลาตั้งแต่ผู้บาดเจ็บมาห้องฉุกเฉินจนถึงเข้าห้องผ่าตัด (Door to Operating Room time) และอัตราตายเสียชีวิตเกินคาดหมาย


ผลการศึกษา ผู้บาดเจ็บก่อนพัฒนาจำนวน 547 รายและหลังพัฒนาจำนวน 668 ราย เมื่อเทียบกับก่อนพัฒนา อัตราการเสียชีวิตของผู้บาดเจ็บรุนแรงลดลงจาก ร้อยละ 15.17 เป็น ร้อยละ 10.03 (p = 0.02) ระยะเวลา Door to Operating Room time ลดลงจาก 89.85±20.1 เป็น 72.48±18.2 นาที (p = 0.001) Z statistic ที่คำนวณโดย Trauma and Injury Severity Score (TRISS) methodology พบว่าก่อนการพัฒนาได้ค่า อัตราตายของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มีโอกาสรอดชีวิต 3.48 (p < 0.001) และ หลังการพัฒนาได้ค่าอัตราตายของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มีโอกาสรอดชีวิต 1.98 (p = 0.04) แสดงให้เห็นว่าทั้งก่อนและหลังการพัฒนา มีอัตราการเสียชีวิตเกินคาดหมาย


สรุป การพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บสามารถลดอัตราการเสียชีวิต รวมถึงลดระยะเวลาควร Door to OR time อย่างไรก็ตามยังมีอัตราการเสียชีวิตจริงมากกว่าอัตราการเสียชีวิตที่คาดหมายซึ่งชี้ให้เห็นว่า ควรพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้การดูแลผู้บาดเจ็บมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Ernest E. Moore, David V. Feliciano, and Kenneth L. Mattox. Trauma.5th ed. McGraw Hill; 2004: p.57-84.

2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติ 10 อันดับการตาย: 2544-2546, กระทรวงสาธารณสุข, 2547.

3. Celso B, Tepas J, Langland-Orban B, Pracht E, Papa L, et al. A systematic review and meta-analysis comparing outcome of severely injured patients treated in trauma centers following the establishment of trauma systems. J Trauma. 2006; 60: 371-8.

4. Sampalis JS, Denis R, Lavoie A, Fréchette P, Boukas S, Nikolis A, et al. Trauma care regionalization: a process-outcome evaluation. J Trauma. 1999; 46: 565-79; discussion 579-81.

5. Sampalis JS, Lavoie A, Boukas S, Tamim H, Nikolis A, Fréchette P, et al. Trauma center designation: initial impact on trauma-related mortality. J Trauma. 1995; 39: 232-7; discussion 237-9.

6. Kane G, Wheeler NC, Cook S, Englehardt R, Pavey B, Green K, et al. Impact of the Los Angeles County Trauma System on the survival of seriously injured patients. J Trauma. 1992; 32: 576-83.

7. Hedges JR, Mullins RJ, Zimmer-Gembeck M, Helfand M, Southard P. Oregon trauma system: change in initial admission site and post- admission transfer of injured patients. Acad Emerg Med. 1994; 1: 218-26.

8. Albernathy JH, McGwin G Jr, Acker JE, Rue LW. Impact of a voluntary trauma system on mortality, length of stay, and cost at level I trauma center. Am Surg. 2002; 68: 182-92.

9. Boyd CR, Tolson MA, Copes WS. Evaluating trauma care: the TRISS method. J Trauma. 1987; 27: 370-8.10. Champion HR, Copes WS, Sacco WJ, Lawnick MM, Keast SL Bain LW, et al. The major trauma outcome study: establishing national norms for trauma care. J Trauma. 1990; 30: 1356-65.