สถานการณ์ปัญหาโรคไข้เลือดออก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ความตระหนักรู้, การมีส่วนร่วมของชุน, โรคไข้เลือดออก, การแพร่โรคบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาของโรคไข้เลือดออกในชุมชน ของอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
วิธีการศึกษา การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ครัวเรือนในเขตพื้นที่ หมู่ 1 ตำบลหนองชาก อำเภอ บ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 207 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถาม ความตระหนักรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก แบบสอบถามการ มีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน และแบบสำรวจความชุกลูกน้ำยุงลาย วิเคราะห์ด้วยสถิติ เชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 99.05 มีความตระหนักรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 49.80 มพีฤตกิจรรมการปอ้งกนัโรคไขเ้ลอืดออกอยใู่นระดบัมากและระดบัปานกลาง รอ้ยละ 98.10 มีระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไขเ้ลอืดออกในชมุชนอยใู่นระดบันอ้ย และ ผลการสำารวจความชกุของลกูน้ำยงุลายใน ชุมชนพบว่ามีค่า HI (house index) ร้อยละ 64.73 และมีค่า CI (container index) ร้อยละ 50.00
สรุป ผลการศึกษาพบว่า ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย ทั้ง House Index (HI) และ Container Index (CI) ที่เป็นสาเหตุหลักของการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนมีค่าสูงกว่ามาตรฐาน ซึ่งจะส่งผลให้ชุมชนโดยรวมมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการแพร่โรคไข้เลือดออกมาก ดังนั้นบุคลากรทางด้านสาธารณสุขสามารถนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป
References
2. กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงได้จาก ไข้เลือดออก &type=week&year=2558.
3. ดาว เวียงคำ, จุฑามาศ ผลมาก, พยามการดี, ศิริรัตน์ โกศัลย์วัฒน์, นวิยา กันทะมูล, สำเริง พรหมมงคล. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ของแกนนำชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; 35: 207-14.
4. อรพินท์ พรหมวิเศษ, ชาตรี ประชาพิพัฒน์, สาโรจน์ เพชรมณี. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้เทคนิคกระบวนการ Appreciation InfluenceControl: บ้านช่องอินทนิน หมู่ 10 ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559; 4: 167-83.
5. ภคอร โจทย์กิ่ง, ประจักร บัวผัน. การมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านชุมชนสามเหลี่ยมเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2560; 24: 29-37.
6. กรมควบคุมโรค. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์; 2558.
7. World Health Organization. Global strategy for dengue prevention and control 2012-2020 [Internet]. 2012 [accessed January 10, 2017]. Available from: http://www.who.int/denguecontrol/9789241504034/en/.
8. กูอัณวาร์ กูเมาะ, วิลาสินี อาแว, รุ่งนภา จันทรา, อติญาณ์ ศรเกษตริน, อังสินี กันสุขเจริญ. การวิจัยการมี ส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่บ้านบางหมู ตำบลบ้านน้ำาบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2559; 33: 218-29.
9. กรมควบคุมโรค. แนวทางดำเนินงานเพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2558.
10. สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี. พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส จำกัด; 2556.
11. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อประชากรแสนคน [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2559]. เข้าถึงได้จาก:http://cbi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php? source=formated/format_2.php&cat_id=7f9ab56b0f39fd053143ecc4f05354fc &id=d4034b79ce2c889f3318a624543a 4740.
12. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อประชากรแสนคนเขตบริการสุขภาพที่ 6 จังหวัดชลบุรี อำเภอบ้านบึง ปี 2558 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [30 มกราคม 2559]. เข้าถึงได้จาก : http:/cbi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/reportphp?source= formatedformat_2php&cat_id=7f9ab56b 0f39fd053143ecc4f05354fc&id=d403 4b79ce2c889f3318a624543a4740.
13. รัตติกร แสนวัง. การเปรียบเทียบความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนระหว่างหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงกับหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกต่ำ. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.
14. ชลิต เกตุแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2558; 2: 24-36.
15. ประเทือง ฉ่ำน้อย. การศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุม โรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข กรณีศึกษาอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารควบคุมโรค. 2559; 42: 138-50.
16. สมศักดิ์ เลาหภิชาติชัย. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2557; 4: 143-50.
17. สมตระกูล ราศิริ, อารยา ประเสริฐชัย, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2558; 26: 32-42.