ปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ลักษณาพร กรุงไกรเพชร
กิตติ กรุงไกรเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนิสิต
มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 453 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม
ที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าไคสแควร์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 20.84 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.30 ภูมิลำเนาเดิมเป็น
ภาคตะวันออก ร้อยละ 39.50 อยู่กับบิดามารดา ร้อยละ 69.30 บิดามารดาอยู่ร่วมกัน ร้อยละ 79.70 ผู้อุปการะ
เลี้ยงดูเป็นบิดามารดา ร้อยละ 80.40 รายรับต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2,000-5,000 บาท (ร้อยละ 43.05)
รายจ่ายต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่างระหว่าง 2,000-5,000 บาท (ร้อยละ 51.20 ) อัตราการ สูบบุหรี่ร้อยละ 9.27
เมื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับผู้ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่พบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติได้แก่ เพศ พบว่าเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง p=.00 การอยู่ร่วมกับครอบครัวพบว่า การอยู่โดยลำพัง
สูบบุหรี่มากกว่าอยู่ร่วมกับบิดามารดา p=.03 รายจ่ายพบว่า รายจ่ายมากสูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่รายจ่ายน้อย p=.00
และความรู้พบว่า มีความรู้น้อยสูบบุหรี่มากกว่ามีความรู้มาก p=.01 และ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบมากที่สุดคือ
อยากทดลองสูบร้อยละ 45.24 รองมาคือ ความเครียดวิตกกังวลร้อยละ 33.33 จำนวนบุหรี่ที่สูบเฉลี่ยต่อวันส่วน
ใหญ่ 2-5 มวน (ร้อยละ 45.24) ความถี่ในการสูบมากที่สุดคือ สูบทุกวันร้อยละ 45.23 รองมาสูบสัปดาห์ละ 2-3
ครั้งร้อยละ 19.04 ไม่มียี่ห้อร้อยละ 38.10 ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 61.90 ร้อยละ 35.71 ค่าใช้จ่ายในการ
สูบบุหรี่น้อยกว่า 100 บาทต่อเดือน โอกาสในการสูบบุหรี่คือเมื่อไปเที่ยวกลางคืน/ดื่มสุรา ร้อยละ 35.90 สถาน
ที่ที่ท่านมักจะสูบบุหรี่คือ สถานบันเทิง (เธคหรือผับ) ร้อยละ 35.29 ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลของการสูบบุหรี่
พบว่า ร้อยละ 83.33 เห็นว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และร้อยละ 76.19 เห็นว่าการสูบ
บุหรี่มีผลเสียต่อคนรอบข้าง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักงานปลัดกระทรวงวาธารณสุข. สธ.เผย
คนไทยเสี่ยงมะเร็งสูบควันบุหรี่16ล้านคน
[อินเตอร์เน็ต]. 2553 [20 มิถุนายน 2553]. สืบค้น
จากเวบไซด์ : http://pr.moph.go.th/iprg/
include/admin_hotnew/show_hotnew.
php?idHot_new=5692

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.สถานการณ์การสูบบุหรี่
[อินเตอร์เน็ต]. 2553 [ 20 มิถุนายน 2553].สืบค้น
จากเวบไซด์ : http://service.nso.go.th/nso/g_
knowledge/files/smoke50.pdf

3. งานทะเบียนและสถิตินิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
จำนวนนิสิตทั้งหมด[อินเตอร์เน็ต]. 2553 [20
มิถุนายน 2553]. สืบค้นจากเวบไซด์: http://buu.
ac.th/

4. Yamane, Taro. Statistics: An introductory
analysis. New York: Harper and Row; 1967.

5. เมรีรัตน์ มั่นวงศ์. พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความ
สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของบุคลากร
และนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสาร
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี; 2551; 10(1): 58-71.

6. สุขุมาลย์ ประสมศักดิ์. ปัจจัยและผลที่เกี่ยวข้อง
กับการสูบบุหรี่ และพฤติกรรมการเลิกสูบ
บุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในเขต
กรุงเทพมหานคร. [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [20
มิถุนายน 2553]. สืบค้นจากเวบไซด์: http://www.
stjohn.ac.th/department/university2007/
research_New/research088.html

7. ชูชัย ศุภวงศ์, สุภกร บัวสาย, นวลอนันต์ ตันติเกตุ.
รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการสูบ
บุหรี่ของเยาวชนไทย. นนทบุรี : กรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข. 2540.

8. ลดาวัลย์ คันธธาศิริ. พฤติกรรมการสูบบุหรี่และ
ปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนักศึกษาปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่; 2550.

9. สมพงษ์ ภักดีไพโรจน์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม
การสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่; 2550.

10. Ronald A. Dovell. Smoking Behavior [Serial
online] 2008. [Cited 2010 Jun 20]. Available
from: http://www.encyclopedia.com/
doc/1G2-3404000785.html

11. สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ.สถานการณ์การ
บริโภคยาสูบบุหรี่ [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [20
มิถุนายน 2553].สืบค้นจากเวบไซด์ : http://
www.thaiantitobacco.com/th/index.
php?option=com_content&task=view&id
=162&Itemid=41