คุณภาพใบส่งตรวจทางรังสีวิทยาของงานรังสีวิทยาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • ศรสุภา ลิ้มเจริญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย
  • เกศราภรณ์ ขาววิเศษ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ใบส่งตรวจ, รังสีวิทยา, ความสมบูรณ์, คุณภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ คุณภาพใบส่งตรวจทางรังสีวิทยามีผลต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วย ใบส่งตรวจทางรังสีวิทยาที่ดี ควรมีข้อมูลสำคัญที่จำเป็นครบถ้วนการศึกษานี้จึงได้สำรวจคุณภาพใบส่งตรวจทางรังสีวิทยาของโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา

วิธีการ ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากกลุ่มตัวอย่างใบส่งตรวจทางรังสีวิทยา ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย บูรพา ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2558 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559

ผลการศึกษา จากจำนวนตวัอยา่งใบสง่ตรวจทางรงัสวีทิยาจำนวน 1,188 ใบ แบง่เปน็ เอกซเรยท์วั่ไปจำนวน 391 ใบ (ร้อยละ 32.9) อัลตร้าซาวด์จำนวน 308 ใบ (ร้อยละ 25.9) เอกซเรย์เต้านมจำนวน 197 ใบ (ร้อยละ 16.6) และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จำนวน 292 ใบ (ร้อยละ 24.6) มีการระบุผู้ป่วย (ชื่อ-สกุล และ เลขโรงพยาบาล) ครบ ร้อยละ 100 ในทุกชนิดการตรวจ ใบคำสั่งอัลตร้าซาวด์มีความสมบูรณ์ของข้อมูลคนไข้มากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 95.17 รองลงมาคือใบคำสั่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 93.76 ใบคำสั่งเอกซเรย์เต้านม 88.83 และลำดับ สุดท้ายคือ ใบคำสั่งเอกซเรยท์ทั่วไป ร้อยละ 72.86 ซึ่งขาด 2 ข้อมูลที่สำคัญคือเหตุผลในการส่งตรวจมีการให้ข้อมูล ร้อยละ 36.57 และข้อมูลทางคลินิกมีการให้ข้อมูล ร้อยละ 22.25

สรุป คุณภาพใบส่งตรวจทางรังสีวิทยาของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาส่วนใหญ่ค่อนข้างสมบูรณ์การขาด ข้อมูลที่จำเป็นในใบส่งตรวจทางรังสีวิทยาพบมากที่สุดในใบส่งตรวจเอกซเรย์ทั่วไปซึ่งเป็นการตรวจในสัดส่วนที่ มากที่สุดของการให้บริการทางรังสีวิทยา

References

1. The Royal College of Radiologists. Making the best use of clinical radiology services: Referral guidelines. Sixth edition. London, 2007. p.3-9.

2. Mansouri M, Aran S, Shaqdan K, Abujudeh HH. How often are patients harmed when they visit the computed tomography suite? A multi-year experience, in incident reporting, in a large academic medical center. EurRadiol 2016; 26: 2064-72.

3. Triantopoulou Ch, Tsalafoutas I, Maniatis P, Papavdis D, Raios G, Siafas I, et al. Analysis of radiological examination request forms in conjunction with justification of X-ray exposures. Europen J Radiol 2005; 53: 30611.

4. รายงานอุบัติการณ์/เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ศูนย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2556

5. Irurhe NK, Sulaymon FA, Olowoyeye OA, Adeyomoye AA. Compliance rate of adequate filling of radiology request forms in a Lagos university teaching hospital. World J Med Sci 2012; 7: 10-2.

6. Lindley-Jones M, Finlayson BJ. Triage nurse requested x ray-the results of a national survey. J Accid Emerg Med 2000; 17: 108510.

7. Afolabi OA, Fadare JO, Essien EM. Audit of completion of radiology request form in a Nigerian specialist hospital. Ann Ib Postgrad Med 2012; 10: 48-52.

8. Oswal D, Sapherson D, Rehman A. A study adequacy of completion of radiology request forms. Radiography 2009; 15: 20913.

9. Mark D, Mullan J, Kane D, McCain S, Rice P. Improving standards in radiology request forms: a scoring tool for clinical audit. Int J Surg 2015; 23: suppl 1: S44-5.

10. Nanapragasam A, Shekkeris A. Radiology request forms: reducing inefficiency and improving patient safety. Clin Radiol 2013; 68: suppl, S7

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-06