การพัฒนากระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามแนวทฤษฎี การสร้างพลังภูมิปัญญาชาวบ้าน

ผู้แต่ง

  • ทิพจุฑา สุภิมารส สิงคเสลิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การถ่ายทอดวัฒนธรรม, การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย, ทฤษฎีการสร้างพลัง, ภูมิปัญญาชาวบ้าน

บทคัดย่อ

องค์ประกอบของกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวยั 5 ด้าน ได้แก่ 1) จุดม่งุ หมายในการ
ถ่ายทอด เพื่อถ่ายทอดวิธีการดูแลเด็ก 2) องค์ความรู้ เนื้อหาวัฒนธรรมทางด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านวัตถุ
คือ 2.1) องค์ความรู้ด้านขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการถ่ายทอด 2.2) องค์ความรู้ด้านคติและความเชื่อ 3)
คุณลักษณะของผู้ถ่ายทอด เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในองค์ความรู้และเนื้อหาวัฒนธรรมนั้นๆ เป็นผู้เฒ่าผู้แก่
ผู้นำทางธรรมชาติของชุมชน คุณลักษณะของผู้รับการถ่ายทอด มีทั้งการถ่ายทอดให้ลูกหลานภายในครอบครัวและ
ถ่ายทอดให้คนอื่นในชุมชนที่มีความสนใจเรียนรู้ 4) วิธีการที่ใช้ในการถ่ายทอด มีลักษณะเป็นมุขปาฐะ การแสดง
วิธีการให้ผ้เู รียนจดจำการทดลองทำด้วยตนเอง การให้เลียนแบบจากผู้ถ่ายทอดและการให้เรียนร้แู บบครูพักลักจำ
ส่วนสื่อที่ใช้ ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อกิจกรรมและสื่อวัสดุ 5) การประเมินผลกระบวนการถ่ายทอด เป็นการประเมิน
อย่างไม่เป็นทางการด้วยการสังเกตและให้คำแนะนำ นอกจากนี้ การศึกษากระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมต้อง
ศึกษาครอบคลุมถึงคุณค่าของวัฒนธรรมที่มีต่อบุคคลและชุมชน
การพัฒนากระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามแนวทฤษฎีการสร้างพลัง
ภูมิปัญญาชาวบ้าน มีองค์ประกอบของการสร้างพลัง ได้แก่ แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ ความรู้พื้นฐาน
และ ยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการสร้างพลังภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยมีขั้นตอนการสร้างพลัง ดังนี้ 1) การวิเคราะห์
ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2) การระบุความต้องการของชุมชน 3) การสร้างพลังผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ของ
ชุมชน 4) การสร้างหน่วยการเรียนรู้ 5) การทดลองใช้หน่วยการเรียนรู้ 6) การสะท้อนความคิด และการสนทนา
แลกเปลี่ยนความรู้ และ 7) การถอดประสบการณ์การเรียนรู้ และประเมินผลการสร้างพลัง
เด็กปฐมวัยที่ผ่านกระบวนการ มีพัฒนาการความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง 1) ใช้ภาษาท้องถิ่นในการ
เรียนรู้และสื่อสารกับครูชาวบ้านขณะได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรม 2) รับรู้วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย อาหาร-
ขนมพื้นบ้าน ประเพณีในชุมชนของตน 3) รับรู้วิถีชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกัน การดูแลรักษาทรัพยากรจากป่าชุมชน
ที่ใช้หมุนเวียนในการดำรงชีวิต

References

1. สุมน อมรวิวัฒน์. หลักบูรณาการทางการศึกษาตาม
นัยแห่งพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช; 2544.

2. ทิพจุฑา สุภิมารส . การนำแนวทฤษฎีการสร้างพลัง
ภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการพัฒนากระบวนการ
ถ่ายทอดวัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเขมร
ถิ่นไทยในแหล่งการเรียนรู้ชุมชนและศูนย์พัฒนาเด็ก
เล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง อำเภอเมือง
จังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะ
กรรมการการอุดมศึกษา และ สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย; 2556.

3. ทิพจฑา สุภิมารส. การพัฒนากระบวนการถ่ายทอด
วัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเขมรถิ่นไทย
ตามแนวทฤษฎีการสร้างพลังภูมิปัญญาชาวบ้าน.
วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตร
การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

4. กุศล สุนทรธาดา, อุไรวรรณ คนึงสุขเกษม, กาญจนา
ตั้งชลทิพย์ และสุรีย์พร พันพึ่ง. สถานการณ์
และองค์ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กใน
ประเทศไทย. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและ
สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

5. ศิริกุล อิศรานุรักษ์ และ ปราณี สุทธิสุคนธ์. การอบรม
เลี้ยงดูเด็ก. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา.
2550; 5 : 105 - 118.

6. จันทรา แซ่ลิ่ว และ วาสนา จักร์แก้ว. การศึกษา
วัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของชนเผ่า
อิ้วเมี่ยน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนดุสิต; 2558.

7. Anderson, E. and McFarlane, J. Community
as partner: Theory and practice in nursing.
6th ed. Philadelphia, PA: Lippincott William
& Wilkins; 2011.

8. Kolb, D. A. Experiential learning. Englewood
Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1984.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27