ผลของโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกับการใช้กล่องเตือนกินยาออนไลน์ ต่อความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี
คำสำคัญ:
ความร่วมมือในการรับประทานยา, ความเชื่อด้านสุขภาพ, ยาต้านเกล็ดเลือด, ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, การขยายหลอดเลือดโคโรนารีบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกับการใช้กล่องเตือนกินยาออนไลน์ ต่อความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 46 คน ที่เข้ารับบริการ ณ หอผู้ป่วยวิกฤติและหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกับการใช้กล่องเตือนกินยาออนไลน์ กลุ่มควบคุม 23 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกับการใช้กล่องเตือนกินยาออนไลน์ และแบบประเมินความร่วมมือในการรับประทานยา ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .94 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มการทดลองกับกลุ่มควบคุมโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน-แปรปรวนร่วมและการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกับการใช้กล่องเตือนกินยาออนไลน์มีคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการรับประทานยาสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 (M = 87.39, SD = .94 และ M = 51.52, SD = 3.79 ตามลำดับ, t = 44.069, p = .001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 เช่นกัน (M = 87.39, SD = .94 และ M = 51.17, SD = 2.86 ตามลำดับ, t = 53.729, p = .001) สรุปได้ว่า โปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกับการใช้กล่องเตือนกินยาออนไลน์ มีผลทำให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการรับประทานดีขึ้น ทีมสุขภาพสามารถนำไปพัฒนาใช้ในการส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป
Downloads
References
Ardehali, A., Chen, J. M., & Khonsari, S. (2017). Khonsari's cardiac surgery: Safeguards and pitfalls in operative technique. China: Wolters Kluwer.
Becker, M. H. (1974). The health belief model and personal health behavior. Health education monographs, 2, 324-473.
Boonkua, C., Wattanakitkrileart, D., Sriprasong, S., & Dumavibhat, C. (2022). Factors predicting adherence to dual antiplatelet medications among patients with acute coronary syndrome after percutaneous coronary Intervention. Nursing Science Journal of Thailand, 40(3), 60-75.
Chuaytaen, T., & Ua-Kit, N. (2016). The effect of promoting perceived benefits and perceived barriers program on medication adherence of myocardial infarction patients who underwent percutaneous coronary intervention. Songklanagarind Journal of Nursing, 36(3), 56-76.
Department of Disease Control. (2020). Knowing about diseases and health threats: Sor Kor 6, Chonburi invites you to protect your heart on World Heart Day. Retrieved from https://www.ddc.moph.go.th/odpc6/news.php?news=14902&deptcode=odpc6&news_views=265
Griffiths, J., Puttinoi, S., & Pongsaksri, M. (2014). The general practitioner assessment of cognition; GPCOG (Thai version): Validity and reliability. Poster session presented at 9th Pan-Pacific Conference on Rehabilitation cum, 21st Annual Congress of Gerontology, Hong Kong. Retrieved from http://www.gpcog.com.au/uploads/ckfinder/userfiles/files/20160606_Thai_GOCOG%20Update%20 Jiranan%20 Griffiths.pdf
Kang, H. (2021). Sample size determination and power analysis using the G*Power software. Journal of Educational Evaluation for Health Professions, 18(1), 17-28. http://doi.org/10.3352/jeehp.2021.18.17
Kronish, I. M., & Ye, S. (2013). Adherence to cardiovascular medications: Lessons learned and future directions. Progress in cardiovascular diseases, 55(6), 590-600. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov›articles
Kumpiriyapong, N., & Sasat, S. (2017). The effect of health belief programme on medicine used behavior in older persons with hypertension. Royal Thai Navy Medical Journal, 44(3), 67-83.
Orem, D. E. (1985). Nursing: concepts of practice (3rd ed.). New York, NY: McGraw-hill.
Pattanajak, C. (2019). Medication adherence in elderly patients with chronic disease at Lad Pattana health promoting hospital, Muang district, Mahasarakham province. Mahasarakham Hospital Journal, 16(3), 13-22.
Penpimo, P. (2016). The influence of perceived medication necessity, medication concern, patient-healthcare provider communication, and complexity of medical regimens on medication adherence in patients with acute coronary syndrome after hospitalization. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 17(3), 149-157.
Ritruangsak, S. (2016). Self-care for medication use in adults with coronary artery disease. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 27(1), 85-97.
Rungsawang, S. (2015). Factors related to polypharmacy medication adherence among older persons with chronic illness. Journal of Nursing, Siam University, 18(35), 6-23.
Seesanea, S., & Wattanakitkrileart, D. (2018). The effect of mobile application on medication adherence in patients with acute coronary syndrome after hospitalization. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 28(1), 61-74.
Seetisan, P., Suwannarat, A., & Jailungkar, J. (2013). Factors associated with self-care behaviors among uncontrolled hypertension patients in Dokkhamtai hospital, Dokkhamtai district, Phayao province. Lanna Public Health Journal, 9(2), 120-136.
Surasrisakul, I., & Ua-Kit, N. (2012). Predicting factors of medication adherence among myocardial infarction patients after underwent percutaneous coronary intervention. Journal of The Police Nurses, 4(2), 60-70.
Tipaksorn, P. (2022). A cloud-based AIoT application in smart building. RMUTL Engineering Journal, 7(1), 52-61.
Valgimigli, M., Bueno, H., Byrne, R. A., Collet, J. P., Costa, F., Jeppsson, A., . . . ESC Scientific Document Group. (2018). 2017 ESC focused update on dual antiplatelet therapy in coronary artery disease developed in collaboration with EACTS. European Journal of Cardio-Thoracic Surgery: Official Journal of the European Association for Cardio-thoracic Surgery, 53(1), 34–78. https://doi.org/10.1093/ejcts/ezx334

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพยาบาลตำรวจ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ได้ตีพิมพ์แล้วจะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลตำรวจ