About the Journal

Focus and Scope

นโยบายของการจัดพิมพ์วารสารพยาบาลตำรวจ เพื่อ

1. เป็นแหล่งเผยแพร่ผลการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ผลงานวิจัยทางด้านการพยาบาล และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

2. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า วิจัย การผลิตผลงานวิชาการ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมทางการพยาบาล

กลุ่มเป้าหมายของวารสาร ได้แก่ อาจารย์พยาบาล บุคลากรทางการพยาบาล นักศึกษาพยาบาลในหลักสูตรต่าง ๆ บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข และประชาชนผู้สนใจ

Peer Review Process

กองบรรณาธิการวารสารมีกระบวนการตรวจบทความวิจัย/วิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยเริ่มจากส่งต้นฉบับบทความวิจัย/วิชาการของผู้ส่งบทความให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ จำนวน 3 ท่าน (double blindness) ผ่านทางระบบ ThaiJO E-mail และนำส่งทางไปรษณีย์ หรือโดยผู้นำส่ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในเนื้อหาและวิธีวิทยาการวิจัยและสถิติ หรือเชี่ยวชาญอย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับการอ่านบทความ 1 ฉบับ หลังจากผู้เชี่ยวชาญพิจารณาคุณภาพของบทความและให้ข้อเสนอแนะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะส่งกลับไปยังกองบรรณาธิการ เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แล้วจึงส่งกลับไปให้ผู้นิพนธ์ต้นฉบับเพื่อแก้ไขปรับปรุง

เกณฑ์การพิจารณาการตอบรับหรือปฏิเสธบทความวิจัย/วิชาการ

1. ได้รับการพิจารณาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน

2. ได้แก้ไขปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

3. ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนและสัตว์

4. ไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่น

Publication Frequency

วารสารจัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฏาคม-ธันวาคม)

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

Sponsors

  • สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลตำรวจ

Sources of Support

  • สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลตำรวจ

Journal History

เมื่อครั้งก่อตั้งวารสารพยาบาลตำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2550 มีชื่อเดิมว่า “วารสารศิษย์เก่าพยาบาลตำรวจ” ซึ่งได้จัดทำขึ้นมาเป็นระยะเวลา 8 ปี  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2550 แต่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย และในปี พ.ศ. 2550 นั้น คณะกรรมการจัดทำวารสาร  ซึ่งอยู่ภายใต้การสนับสนุนทุนในการจัดทำวารสารจากสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลตำรวจได้มีแนวคิดที่จะปรับปรุงคุณภาพของวารสารให้มีมาตรฐานมากขึ้น  เพื่อให้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่งานวิจัยของบุคลากรภายในหน่วยงานที่มีการเลื่อนไหลทางวิชาการ  อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการกับหน่วยงานภายนอก โดยให้วารสารพยาบาลตำรวจเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คณะกรรมการจัดทำวารสารจึงได้พยายามติดต่อประสานงานและหาข้อมูลแนวทางสำหรับการนำวารสารเข้าสู่ระบบของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai  Journal  Citation  Index; TCI)  ซึ่งได้รับความกรุณาจาก พันโทหญิง ดร.สายสมร  เฉลยกิตติ  บรรณาธิการวารสารพยาบาลทหารบก  ในการช่วยให้คำแนะนำปรึกษาเป็นอย่างดียิ่ง เกี่ยวกับการดำเนินการในขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ การประสานงานเพื่อขอความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเพื่อรับเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ให้แก่วารสาร ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร  ศรีสุพรรณ  และ ศาสตราจารย์ ดร. วีณา  จีระแพทย์ ตลอดจน  การประสานงานกับศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย เพื่อขอนำวารสารเข้าสู่ระบบการตีพิมพ์  การขอจดทะเบียน  การขอ ISSN  การเปลี่ยนชื่อวารสาร  การปรับปรุงรายชื่อคณะกรรมการจัดทำวารสาร  การตั้งคณะกรรมการผู้อ่านบทความวิชาการภายในและภายนอก  โดยคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ครบถ้วนจากทุกสาขาวิชา  และการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการพิจารณาคุณภาพของวารสาร  ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดเหล่านี้  ต้องอาศัยทักษะการประสานงานที่ดี  ใช้เวลาในการติดต่อประสานงานและดำเนินงานรวมระยะเวลานานเกือบหนึ่งปีจึงสามารถผลิตวารสารพยาบาลตำรวจของปีที่ 1  ฉบับที่ 1 ได้ในปี  พ.ศ. 2552 ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวพยาบาลตำรวจทุกคน  ที่สามารถนำวารสารพยาบาลตำรวจของเราเข้าสู่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยได้สำเร็จ

ภายหลังจากที่ได้ผลิตวารสารฉบับแรกแล้ว วารสารพยาบาลตำรวจก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการคัดเลือกผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์อย่างมีมาตรฐาน  มีการผลิตวารสารได้ทันกำหนดเวลา ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากบุคลากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน  มีนักวิชาการสนใจนำบทความวิชาการที่มีคุณภาพมาตีพิมพ์ตลอดระยะเวลาอย่างสม่ำเสมอ คณะกรรมการวารสารพยาบาลตำรวจ  จึงขอขอบพระคุณทุกท่านที่มอบความไว้วางใจให้กับวารสารพยาบาลตำรวจ ไว้ ณ ที่นี้ และขอมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพของวารสารพยาบาลตำรวจให้มีคุณภาพดี ยิ่งๆขึ้นไป