ผลของการออกกำลังกายโดยการรำไม้พลองต่อสมรรถภาพทางกาย และอาการปวดหลังของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา พูลโพธิ์กลาง กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, อาการปวดหลัง, สมรรถภาพทางกาย, การออกกำลังกายโดยการรำไม้พลอง

บทคัดย่อ

การรำไม้พลองเป็นการออกกำลังกายที่มีความหนักระดับเบา ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือ บาดเจ็บ เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่มีการกระทบกระแทกน้อย จึงเหมาะสมสาหรับผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกาลังกายโดยการราไม้พลองต่อสมรรถภาพทางกายและการปวดหลังของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ในจังหวัดปทุมธานี จานวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน โดยกลุ่มเปรียบเทียบปฏิบัติตนตามปกติเหมือนก่อนได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มทดลองฝึกออกกำลังกายโดยการรำไม้พลอง แบบป้าบุญมี เครือรัตน์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยการ แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายและ ระดับความปวดหลัง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ทั้งก่อนและหลังทดลอง โดยใช้สถิติ ทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายกลุ่มทดลองด้านความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อ ด้านความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนเลือด ด้านความอ่อนตัวยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ทดสอบด้วยวิธีการนั่งงอตัว และด้านความอ่อนตัวยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อทดสอบด้วยวิธีการแตะมือด้านหลัง หลังการทดลองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วนด้านขนาดของร่างกาย หลังการทดลองไม่พบความแตกต่างของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดหลังของกลุ่มทดลองและกลุ่ม เปรียบเทียบหลังการทดลอง มีค่าเท่ากับ 2.83 (S.D.=0.648) และ 3.73 (S.D.=0.944) เมื่อทดสอบทางสถิติ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)

ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการรำไม้พลองทำให้สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุดีขึ้นและการปวดหลังลดลง แต่ยังคงต้องมีการติดตามผลและความเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพทางกายและอาการปวดหลังของผู้สูงอายุจากการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ยั่งยืนต่อไป

References

Vuori IM. Dose-response of physical activity and low back, osteoarthritis, and osteoporosis. Medicine and Science in Sports and Exercise 2001; 33(6); 551-86.

National Statistical Office. Report on the 2002 Survey of Elderly in Thailand. Ministry of Digital Economy and Society; 2002.

Phananiramai M, Suputtitada A, Taechakraichana N, Kamolratanakul P, Eiamong S, Sutichai Chitaphankul. How to balance the income of the elderly in Thailand. Bangkok: Text and Journal Publication; 2007.

Suputtitada A, Taechakraichana N, Kamolratanaku Pl, Eiam-ong S, Chitaphankul S, Depression and its burden: Focus on quality society: from basic science to practice. Bangkok: Text and Journal Publication; 2007.

Siriphanit B. Behavior and lifestyle of Thai elderly who are long and strong. Bangkok: Ministry of Public Health; 1988.

American College of Sport Medicine. ACSM fitness book. 2nd ed. Hong Kong: Human Kinetics; 1998.

Kantaratanakul V, Wongphaet P. Rehabilitation Medicine Guide. 4th ed. Bangkok: Holistic; 2000.

American College of Sport Medicine. ACSM fitness book. 2nd ed. Hong Kong: Human Kinetics; 1998.

Laohapakdee R. Development of Ram Mai Plong Krabi-Krabong exercise pattern on health-related physical fitness of the elderly. [dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2006.

National Statistical Office. Report on the 2002 Survey of Elderly in Thailand. Ministry of Digital Economy and Society; 2011.

Chaingam D. The effect of the modified Boonmee long stick exercise on physical fitness in the elderly, Pathum Thani Province. The Social Medicine Departments: Pathum Thani Hospital; 2002.

Pantong K. The effect of Boonmee Long- Stick exercise on reduction of blood sugar in type 2 diabetes patients [dissertation]. Songkla: Prince of Songkla University; 2005.

Pitantananukune P, Surit P. Chronic Pain Management of Older Persons Living in a Community. [dissertation]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2011.

Charuphan S. The effect of a program of applied Ram Mai Plong Exercise combined with self-efficacy theory on depression and physical fitness of the elderly in the nursing home. [dissertation]. Burapha University; 2011.

Srisatidnarakul B. The methodology in nursing research. 3rd ed. Bangkok: Chulalongkorn University; 2004.

Sports Authority of Thailand. Sports Authority of Thailand Simplified Physical Fitness Test, SATST. Bangkok: Newthaimit; 2003.

Greenberge JS, Dintiman GB, Oakes MB. Physical fitness and wellness. 2nd ed. Massachusetts: Viacom; 1998.

Melzack R, Kate J. Pain assessment in adult patients. 5th ed. London: Elsevier Churchill Livingstone.

American College of Sport Medicine. ACSM’s guildlines for exercise testing and prescription. 7th ed. Balitimore: Lippincott Williams & Wilkin; 2006.

McArdle WD, Katch FI, Katch VL. Essentials of exercise physiology. 3rd ed. Balitimore: Lippincott Williams & Wilkin; 2006.

Vicharn N, et.al. Assessment of body exercise by using Aunt Boonmi wood. Health Exercise Division, Department of Health: Ministry of Public Health; 2004.

Laohapakdee R. The Development of the Saberong Sword Dance Exercise Form that Affects Physical Fitness Regarding Health for the Elderly. [dissertation]. Chulalongkorn University; 2006.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01

How to Cite

พูลโพธิ์กลาง ส. (2019). ผลของการออกกำลังกายโดยการรำไม้พลองต่อสมรรถภาพทางกาย และอาการปวดหลังของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 33(3), 95–113. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/241698