การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สรัญญ์รักษ์ บุญมุสิก
จิรภัค สุวรรณเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนวิชาการรักษาโรคเบื้องต้น ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบ และ 3) การทดลองใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที


ผลวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 2) การสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน 3) การนำเสนอความรู้ และ 4) การลงมือปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ความรู้ ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ภายหลังทดลองใช้รูปแบบพบว่า ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ (t = 4.505, p < .01) และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบระดับมาก (M = 4.24, SD = 1.09) รูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนด E1/E2 เท่ากับ 76.56/80.57


งานวิจัยนี้ พบว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณคือ การออกแบบการสอน หรือออกแบบการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของการเรียน ให้เวลาและสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรภัค สุวรรณเจริญ, อติญาณ์ ศรเกษตริน, และชุติมา มาลัย. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. พยาบาลสาร, 44(4), 177-188.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิผลสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ดำรงศักดิ์ สุดเสน่ห์. (2561). กระบวนการสร้างเสริมศักยภาพการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามธรรมชาติวิชาวิทยาศาสตร์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2561). การสอนคิดวิจารณญาณ. วารสารราชพฤกษ์, 16(3), 1-9.

บรรจง อมรชีวิน. (2556). การคิดอย่างมีวิจารณญาณ: หลักการพัฒนาการคิดอย่างมีตรรกะ เหตุผล และดุลยพินิจ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 (2561, 3 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนพิเศษ 1 ง. หน้า 7-11.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษด์วงศ์.

ศิวภรณ์ สองแสน, สมบัติ คชสิทธิ์, บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์, และฐิติพร พิชยกุล. (2557). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย โดยรูปแบบ MAPLE. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3), 110-129.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2561). กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง. สืบค้นจากhttps://www.egov. go.th/th/government-agency/334/.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

อติศักดิ์ สุดเสน่หา, ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ, และพรทิพย์ อ้นเกษม. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตวิจัย, 11(2), 123-136.

Cargas, S., Williams, S., & Rosenberg, M. (2017). An approach to teaching critical thinking across disciplines using performance tasks with a common rubric. Thinking Skills and Creativity, 26, 24-37.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191.

Lloyd, M., & Bahr, N. (2010). Thinking critically about critical thinking in higher education. International Journal for the Scholarship of Teaching and Learning, 4(2), n9. Retrieved from https://doi.org/10.20429/ijsotl.2010.040209.

Marquardt M. J. (1999). Action learning in action: Transforming problems and people for world-class organization learning. Califonia: Davies-Black.

Marzano, R. J. (2007). The art and science of teaching. Alexandria: The Association of Supervision and Curriculum Development.

Petek, E., & Bedir, H. (2018). An adaptable teacher education framework for critical thinking in language teaching. Thinking Skills and Creativity, 28, 56-72. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.tsc.2018.02.008.

Watson, G., & Glaser, E. M. (2002). Watson-Glaser critical thinking appraisal manual. London: Psychological Corp.