จริยธรรมการตีพิมพ์
วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี รักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์สูงสุด ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ (Editor role)
1. พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อเข้ารับพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ/ ระเบียบวิธีการวิจัย ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร |
2. ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน ไม่นำวารสารไปใช้หาประโยชน์ในเชิงธุรกิจ |
3. ปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้ง รักษามาตรฐานของวารสาร และพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยอยู่เสมอ |
4. คัดเลือกผู้พิจารณาบทความ (reviewer) ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความอย่างเป็นธรรม และดำเนินการพิจารณาแบบ double blind |
5. แจ้งผลการพิจารณาบทความแก่ผู้นิพนธ์ ให้คำแนะนำ และประสานงานระหว่างผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน กรณีที่มีข้อคิดเห็น/ข้อขัดแย้งทางวิชาการ |
6. พิจารณาตัดสินบทความโดยใช้เหตุผลทางวิชาการ ตอบรับ/ปฏิเสธการรับตีพิมพ์บทความ โดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้นิพนธ์ ทั้งในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้นิพนธ์ |
7. ไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความ และผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึง ไม่ปิดกั้นข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์ |
8. เผยแพร่บทความที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และตรงต่อเวลา |
บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Author role)
1. ส่งบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารฉบับอื่นๆ ยกเว้น ผลงานที่ได้นำเสนอในการประชุมทางวิชาการที่ไม่มีรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (proceedings) |
2. ส่งบทความที่มีองค์ประกอบตามที่วารสารกำหนดไว้ในหัวข้อคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ และดำเนินการทุกขั้นตอนของวารสารผ่านระบบ ThaiJO |
3. นำเสนอเนื้อหาในบทความ ที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากการศึกษาวิจัย ผู้เขียนต้องไม่บิดเบือน ปลอมแปลง หรือนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ รวมทั้ง ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิง |
4. บทความวิจัย ต้องมีเอกสารแสดงว่าโครงการวิจัยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ยกเว้น งานวิจัยที่เป็นการเก็บข้อมูลจากแหลงข้อมูลทุติยภูมิหรือการวิจัยประเภทการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) |
5. ผู้นิพนธ์ต้องปรับแก้ไขบทความที่มีผลการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเนื้อหา (plagiarism) เกินร้อยละ 20 และแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินและบรรณาธิการตรงตามกำหนดเวลา กรณีที่ไม่สามารถแก้ไขในบางประเด็นที่เสนอแนะ ผู้เขียนสามารถชี้แจงเหตุผลทางวิชาการมายังวารสารได้ |
6. นำเสนอเนื้อหาที่ทันสมัยและอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด |
7. ขอหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ ก็ต่อเมื่อบทความนั้นผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว และมีผลการตัดสินยอมรับโดยไม่ได้การแก้ไข หรือยอมรับโดยให้มีการแก้ไขเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้เขียนต้องรับผิดชอบแก้ไขบทความให้แล้วเสร็จและสามารถเผยแพร่ได้ทันเวลาตามปี และฉบับที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรอง |
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Reviewer role)
1. ผู้ประเมินต้องตระหนักว่า ผู้ประเมินบทความมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของผลงานวิชาการที่รับประเมินอย่างแท้จริง กรณีที่ไม่มั่นใจ ท่านสามารถปฏิเสธการพิจารณาบทความ หรือเสนอชื่อผู้ประเมินท่านอื่น |
2. ต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว |
3. กรณีที่ตรวจพบว่า บทความที่รับประเมินเป็นบทความที่มีการคัดลอกผลงาน ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที |
4. ผู้ประเมินต้องดำเนินการประเมินผ่านระบบ ThaiJO หากมีอุปสรรคให้ประสานงานกับบรรณาธิการโดยตรง |
5. ผู้ประเมินต้องยึดหลัก Double blind จะต้องไม่แสดงตน/ประสานงานกับผู้นิพนธ์โดยตรงทุกกรณี |
6. ผู้ประเมินต้องไม่เปิดเผยข้อมูล และไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน |
7. ทำการประเมินบทความตามกรอบเวลาที่วารสารกำหนด |