การพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและมีโรคร่วม

Main Article Content

โสภิต เลาหภักดี

บทคัดย่อ

         ภาวะกระดูกสะโพกหักเป็นปัญหาที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมนับเป็นการรักษาที่ดีสำหรับผู้สูงอายุที่มีการหักของกระดูกสะโพก และทำให้ผู้สูงอายุฟื้นตัวได้เร็วหลังการผ่าตัด ปัจจุบันโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี สามารถให้บริการผู้ป่วยผ่าตัดข้อสะโพกเทียมประมาณ 60 รายต่อปี ผู้ศึกษาจึงนำกรณีศึกษาผู้สูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม และมีโรคร่วมมาเป็นกรณีศึกษา ซึ่งเป็นผู้ป่วยสูงอายุ เพศหญิง กระดูกข้อสะโพกหัก มีโรคร่วมคือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะซีดร่วมด้วย จำเป็นต้องได้รับเลือดทดแทน มีคลื่นหัวใจผิดปกติต้องปรึกษาอายุรแพทย์ เพื่อประเมินความเสี่ยงทั้งก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด ตลอดจนการประเมินและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และปอดบวม


          ผลการศึกษาพบว่า การใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับการรักษาของแพทย์เป็นสิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัด การประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพและให้การพยาบาลแบบองค์รวม ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย คลายความวิตกกังวลทั้งผู้ป่วยและญาติ สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตลอดจนให้คำแนะนำในการป้องกันและดูแลต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหักซ้ำ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
กรณีศึกษา

References

กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. (2562). สรุปรายงานประจำปี 2562. เพชรบุรี: โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.

คุณัสปกรณ์ มัคคัปผลานนท์, และปุณฑรี ศุภเวช. (2559). การดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 3(6), 57-66.

จิตติมา เอกวิโรจนสกุล. (2562). การป้องกันกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยสูงอายุที่เคยกระดูกสะโพกหักในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 สุพรรณบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(1), 39-49.

เฉลิมศรี สุวรรณเจดีย์, และจุฬาภรณ์ สมรูป. (2553). คู่มือการใช้ยาและการจัดการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ช่อทิพย์ จันทรา. (2559). ปัญหาและความต้องการของผู้ดูแลหลักในการดูแลด้านโภชนาการและการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุติดเตียง. วารสารมหาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(3), 41-50.

ธวัช ปราสาทฤทธา, พรทิพย์ ลยานันท์, และสุขใจ ศรีเพียรเอม, (บ.ก.). (2555). การพยาบาลออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหัก ข้อเคลื่อนที่ใส่ external device. ใน ณัฐมา ทองธีรธรรม, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง, พรสินี เต็งพานิชกุล, และอรพรรณ โตสิงห์ (บ.ก.), การพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์ (น. 116-118). กรุงเทพฯ: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

เปรมจิต เกตษา. (2561). การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมและมีโรคร่วม. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 26(3), 208-215.

พรศิริ พันธสี. (2558). กระบวนการพยาบาลและแบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.

พรสินี เต็งพานิชกุล. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. ใน ณัฐมา ทองธีรธรรม, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง, พรสินี เต็งพานิชกุล, และอรพรรณ โตสิงห์ (บ.ก.), การพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์ (น. 172-182). กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ไพรัช ประสงค์จีน. (2552). กระดูกหักและข้อเคลื่อน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รณชัย ศรีคราม, และธัญญกาญจน์ ปะรินสารัมย์. (2559). การพัฒนากระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการกระทรวงสาธารณสุข, 25(2), 255-261.

รื่นจิต เพชรชิต. (2558). พฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(2), 15-28.

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. (2558). คู่มือการควบคุมและป้องกันแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โครงการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย.

สุกัญญา เดชอาคม, อังศุมาศ หวังดี, และอัญชลา จิระกุลสวัสดิ์. (2557). การพยาบาลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. วิสัญญีสาร, 40(1), 46-62.

อนุชา ไทยวงษ์, กัญญาพัชร เบ้าทอง, และอลิษา ทรัพย์สังข์. (2561). ภาวะโลหิตจาง และบทบาทพยาบาลในการจัดการภาวะโลหิตจาง ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(2), 149-157.

อัญชลี คันธานนท์. (2556). การพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักที่มีโรคเรื้อรังร่วมด้วย. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 7(2), 271-280.

อินทิรา ปากันทะ, เอื้อมพร หลินเจริญ, และสิริลักษณ์ ทูลยอดพันธ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดในโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(1), 129-140.

Meehan, A. M., Maher, A. B., Brent, L., Copanitsanou, P., Cross, J., Kimber, C.,… Hommel, A. (2019). The International Collaboration of Orthopaedic Nursing (ICON): Best practice nursing care standards for older adults with fragility hip fracture. International Journal of Orthopaedic and Trauma Nursing, 32(1), 3-26.

Singh, S., Charles, L., Maceachern, C. F., & Changulani, M. (2016). Complication of surgical management of hip fracture. Orthopaedics and Trauma, 30(2), 137-144.