ผลของการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้ BSCI-MODEL ต่อความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังได้รับการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้ BSCI-MODEL ซึ่งมีกิจกรรม 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) การฝึกทักษะรวบยอดโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง 3) กิจกรรมเตรียมความพร้อมด้วยจิตตปัญญา และ 4) กิจกรรมเตรียมความพร้อมด้วยกระบวนการปลูกดีเอ็นเอของนวัตกร เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าความเชื่อมั่น .74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบสถิติทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังได้รับการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้ BSCI-MODEL แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้ BSCI-MODEL สามารถพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ ควรนำรูปแบบการเตรียมพร้อมในการเรียนรู้โดยใช้ BSCI-MODEL ไปใช้เพื่อพัฒนาการสอบรวบยอดทางการพยาบาลและสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต่อไป
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
จันทรา พรหมน้อย, เนตรนภา พรหมเทพ, และศมนันท์ ทัศนีย์สุวรรณ. (2555). ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารสงขลานครินทร์, 32(3), 1-11.
จุทาทิพย์ ศิรินภาดล, อภิรดี สุขแสงดาว, พิสมัย อุบลศรี, และลออวรรณ อึ้งสกุล. (2553). ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ปีการศึกษา 2550. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 16(1), 74-82.
ฐากร สิทธิโชค. (2557). การคิดอย่างมีวิจารณญาณในกระบวนการเรียนรู้สังคมศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัย ทักษิณ.
นรรธพงษ์ ใครเครือ, อัสฟีญ่า หะยีดาโอ๊ะ, วชิระ เข็มพงษ์, และนุสรา สัมปชัญญานนท์ (2560). ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 4(2), 135-140.
ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554). การเรียนแบบผสมผสานจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 1(2), 43–9.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. (2561, 3 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 1 ง. หน้า 7-11.
ประเวศ วะสี. (2552). จิตตปัญญาศึกษา: ทางเลือกหรือทางรอดของสังคม. ใน อุดม ตันติต้องตา (บ.ก.),ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน (น.20-63). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์. (2556). การสอนนักศึกษาพยาบาลเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 19(2), 5-19.
พิศิษฐ์ พลธนะ, ชุติกาญจน์ ฉัตรรุ่ง, สุภาวดี นพรุจจินดา, และขวัญฤทัย พันธุ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพ: กองการพยาบาล.
ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์, และสุภาวดี นพรุจจินดา. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 4(3), 63-77.
วาสนา หลวงพิทักษ์, สุภาวดี นพรุจจินดา, วิรงค์รอง ชมภูมิ่ง, และพิศิษฐ์ พลธนะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมในการสอบความรู้รวบยอดทางการพยาบาล รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ของสถาบันพระบรมราชชนก ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การศึกษานำร่อง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 191-209.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
ศิริพร อินทรา, และนิลมณี พิทักษ์. (2559). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดย ใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา ในรายวิชาเพิ่มเติม ส30232 หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings): การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 (น.711-724). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ศิริรัตน์ จำปีเรือง. (2556). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา คุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา. ใน พจน์ กริชไกรวรรณ, และอนุชาติ พวงสำลี (บ.ก.), การประชุมวิชาการประจำปี จิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 5: ภาวะผู้นำ จิตวิญาณ และการพัฒนามนุษย์. (น.139,161 ). นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2546). คู่มือการประเมินคุณภาพภายในวิทยาลัย สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก: การวัดและประเมินตัวบ่งชี้สำหรับวิทยาลัยพยาบาล. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
สมเกียรติ สุทธรัตน์, และพัชนี สมกำลัง. (2556). ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 1(10), 61-67.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563 จากhttp://www.sesa17.go.th.
สุพรรณี กัณหดิลก, และตรีชฎา ปุ่นสําเริง. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง: การออกแบบการเรียนรู้ทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(1), 1-14.
สุพิมล ขอผล, จินตวีร์พร แป้นแก้ว, ธณัชช์นรี สโรบล, เกศราภรณ์ ชูพันธ์, สุมิตรพร จอมจันทร์, และนิตยา บุญลือ. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้การสะท้อนคิด (Reflective Thinking) ในนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลสาร, 46(1), 87-101.
สุสัณหา ยิ้มแย้ม, อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล, จันทรรัตน์ เจริญสันติ, อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา, ปิยะนุช ชูโต, และนงลักษณ์ เฉลิมสุข. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร, 42(ฉบับพิเศษ), 129-140.
Bloom, B. S. (1976). Human characteristic and school learning. New York: McGraw-Hill Book.
Bonk, C. J., & Graham C. R. (2006). The handbook of blended learning: Global perspectives, local designs. San Francisco: Pfeiffer.
Chabeli, M. M. (2007). Facilitating critical thinking within the nursing process framework: A literature review. Health SA Gesondheid, 12(4), 69-89.
Dyer, J. H., Hal B. G., & Clayton M. C. (2011). The Innovator's DNA: Mastering the Five Skills of Disruptive Innovators. Boston, MA: Harvard Business Press.
Jeffries, P, R. A. (2005). Framework for designing, implementing, and evaluating simulations used as teaching strategies in nursing. Nursing Education Perspective, 26(2), 96-103.
Marchigiano, G., Eduljee, N., & Harvey, K. (2011). Developing critical thinking skills from clinical assignments: A pilot study on nursing students’ self-reported perceptions. Journal of Nursing Management, 19, 143-152.
Toofany, S. (2008). Critical thinking among nurses. Nursing Management, 14(9), 28-31.