การจัดการศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ตลอดชีวิต: กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุชราบาลวุฒิวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พรพรรณ มนสัจจกุล
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์

บทคัดย่อ

            ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จากอายุขัยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น วัยสูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเผชิญกับความเจ็บป่วยจากโรคในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นการดำเนินงานหนึ่งที่ช่วยพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ


          โรงเรียนผู้สูงอายุชราบาลวุฒิวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ มีเป้าหมายในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคม ผ่านหลักการศึกษาตลอดชีวิต ระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุชราบาลวุฒิวิทยาลัยมีแนวทางเพื่อช่วยสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในชุมชน โดยพบว่า การจัดการศึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุชราบาลวุฒิวิทยาลัย มีระบบจัดการศึกษาผ่านการขับเคลื่อนงานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรส่วนท้องถิ่น การบริหารงานโดยกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุ เครือข่ายการเรียนรู้และสังคม มีแนวทางการทำงานโดยให้ผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลาง กำหนดกิจกรรมที่ต้องการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีศักยภาพ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง เพิ่มพูนความสุขของชีวิต ความมีคุณค่าและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. (2542). ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/th/ laws/1/30/767

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/th/know/5/24

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). สถิติผู้สูงอายุประเทศไทย 77 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/download/ knowledge/th1580099938-275_1.pdf

เทศบาลตำบลเชิงดอย. (2558). โรงเรียนชราบาลวุฒิวิทยาลัย. ม.ป.ท.: เทศบาลตำบลเชิงดอย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. ใน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, Research Day. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก. หน้า1-88. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, ภาวนา พัฒนศรี, และธนิกานต์ ศักดาพร. (2560). ชุดความรู้การพัฒนาเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ โรงเรียนผู้สูงอายุ. นนทบุรี: มาตาการพิมพ์.

สกาวเดือน พิมพิศาล. (2558). การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 2(3), 153-172.

สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้ กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). หลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ โครงการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก http://www.lertchaimaster.com/doc/ elderly people2559.pdf

สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2553). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ (บ.ก.). (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ประเทศไทย 4.0. สืบค้นจากhttps://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2559/jul2559-5.pdf

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.( 2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/jul2561-1.pdf

อาชัญญา รัตนอุดม, วีรเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ปาน กิมปี, และระวี สัจจโสภณ.(2554). รายงานการวิจัย เรื่อง การเรียนรู้และการศึกษาตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2562). การส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Pender, N. J. (2011). Health promotion model manual. Retrieved from http://hdl.handle.net/ 2027.42/85350

Quandt, S. A., Reynolds, T., Chapman, C., Bell, R. A., Grzywacz, J. G., Ip, E. H., &...Arcury, T. A. (2013). Older adults’ fears about diabetes: Using common sense models of disease to understand fear origins and implications for self-management. Journal of Applied Gerontology, 32(7), 783-803. doi:10.1177/0733464811435506

World Health Organization. (1998). The WHO health promotion glossary. Geneva, Switzerland: World Health Organization.

World Health Organization. (2011). Global health and aging. Retrieved from https://www.who.int/ ageing/publications/global_health.pdf