ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเดินทางมาโรงพยาบาลและความเพียงพอของรายได้ ที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุ ตามบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง

Main Article Content

กิตติพร เนาว์สุวรรณ
นภชา สิงห์วีรธรรม
ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง
วิลาวัณย์ กล้าแรง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเดินทางมาโรงพยาบาลและความเพียงพอของรายได้ที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุตามบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในเขตภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 6,006 คน ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการดำเนินงานตามบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน มีค่าความตรงระหว่าง .67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณสองทาง  


          ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเดินทางมาโรงพยาบาลและความเพียงพอของรายได้ที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุตามบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่พอเพียงได้รับการดูแลน้อยกว่าผู้สูงอายุที่มีรายได้พอพียงและมีเงินเหลือเก็บ


         ดังนั้น สถานบริการสาธารณสุขควรประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดบริการรถรับส่งผู้สูงอายุที่มารับบริการที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่มีรถมาโรงพยาบาล และกลุ่มผู้สูงอายุที่รายได้ไม่พอเพียง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, และมาริสา สุวรรณราช. (2562). สภาพปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(2), 118-132.

กันยารัตน์ อุบลวรรณ, อัจฉริยา พ่วงแก้ว, วิยะการ แสงหัวช้าง, และกุลิสรา ขุนพินิจ. (2561). ปัจจัยทำนายความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีโรคเรื้อรัง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 48(2), 244-255.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซิฟ.

ทีนุชา ทันวงศ์, นิตยา เพ็ญศิริภา, และพรทิพย์ กีระพงษ์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการรักษา พยาบาลของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายสุขภาพอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(31), 26-36.

นภชา สิงห์วีรธรรม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ประไพพิศ สิงหเสม, รุ่งอรุณ กระมุทกาญจน์, และอัณญ์ยภัคสร ใจสมคม. (2563). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการมีโรคประจำตัวและความเพียงพอของรายได้ที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่ติดบ้าน จังหวัดตรัง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(2), 17-33.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (บ.ก.). (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

สรวงสุดา เจริญวงศ์, พรทิวา คงคุณ, นิภารัตน์ จันทร์แสงรัตน์, และเพียงตะวัน สีหวาน. (2561). สถานการณ์การดูแล และความต้องการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนมุสลิมเขตชนบทภาคใต้ของไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 231-246

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). จำนวนประชากรจากการสำมะโนประชากรและเคหะ จำแนกตามกลุ่มอายุ เพศ และเขตการปกครอง พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/ sector/th/01.aspx.

สำนักงานสภาคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์, วิรัตน์ ธรรมาภรณ์, ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี, และปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2559). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1), 121-128.

สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. (2558). การวิจัยทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: วิฑรูย์การปก.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 17(2), 71-84.

อำไพรัตน์ อักษรพรหม, และกฤษณา รุ่งโรจน์ วณิชย์. (2561). การได้รับและการเข้าถึงสวัสดิการสังคมสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 26(2), 41-58.

Mauk, L. K. (2014). Gerontological nursing: Competencies for care (3rd ed.). Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning

Pender, N. J. (1987). Health promotion in nursing practice (2nd ed). New York: Appleton Century Crofts.

United Nation. (2015). World population ageing 2015. New York: Department of Economic and Social Affairs, United Nations.