การส่งเสริมพัฒนาการโดยใช้โปรแกรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้: ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการเด็กก่อนและหลังได้รับการส่งเสริมพัฒนาการโดยใช้โปรแกรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 18 คน ที่มารับบริการที่ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย โปรแกรมการฝึกกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 10 กิจกรรม ครอบคลุมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา และด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม และแบบประเมินพัฒนาการเด็ก ช่วงอายุ 2-4 ปี ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .85 ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กก่อนและหลังได้รับการส่งเสริมพัฒนาการโดยใช้โปรแกรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สถิตินอนพาราเมตริกสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า เด็กก่อนวัยเรียนที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้วยโปรแกรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีพัฒนาการสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = 3.81, p < .05)
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้รับผิดชอบดูแลศูนย์ฯ ควรวางแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนและที่บ้าน ตลอดจนการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับบุตร
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual: DSPM). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
จินตนา พัฒนพงศ์ธร, และวันนิสาห์ แก้วแข็งขัน. (2561). รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2560. นนทบุรี: กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ณิชาณี พันธุ์งาม. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในชุมชนจังหวัดหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 11(25), 5-20.
นพวรรณ ศรีวงศ์พานิช, นิรมัย คุ้มรักษา, และรัชดาวรรณ์ แดงสุข. (บ.ก.). (2555). พัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 3. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิชชิ่ง.
พนิดา ศิริอำพันธ์กุล. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างศักยภาพครอบครัวและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กโดยการเล่นต่อความรู้ การดูแลเด็กของพ่อแม่และพฤติกรรมการปรับตัวของเด็กออทิซึม. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 311-320.
พิมพาภรณ์ กลิ่นกลั่น. (2561). การพยาบาลเด็กเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ. เชียงใหม่: สมาร์ทโคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส.
มนัสมีน เจะโนะ, และรอฮานิ เจะอาแซ. (2562). ผลของโปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อพัฒนาการของเด็กอายุ 2-5ปี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(2), 80-88.
เยาวรัตน์ รัตน์นันต์. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 8 (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น.
ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. (2561). รายงานสรุปผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ประจำปี 2561. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.
สมัย ศิริทองถาวร. (2561). การพัฒนาคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(1), 3-12.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2561). รายงานประจำปี 2561 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560- 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุวรรณภา สุวรรณเพ็ชร, ศิรดา บุรชาติ, และปรีดา อุยตระกูล. (2560). การเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กปฐมวัยระหว่างกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านกับกิจกรรมการเล่านิทาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 116-123.
อาริสรา ทองเหม, และประพิมพ์ใจ เปี่ยมคุ้ม. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กออทิสติกที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 6(2), 3-12.