ผลลัพธ์การจัดการเรียนภาคปฏิบัติออนไลน์ในนักศึกษาพยาบาลช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษารายวิชาปฏิบัติการพยาบาลรวบยอดสาขาผดุงครรภ์

ผู้แต่ง

  • Sukrita Takaree -
  • พิชาภรณ์ จันทนกุล
  • รัตนาภรณ์ นิวาศานนท์
  • กาญจนา งามจันทราทิพย์
  • ศิริพร สามสี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรูปแบบออนไลน์, ภาคปฏิบัติการพยาบาล, การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม มีการปรับการเรียนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์ ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลรวบยอด สาขาผดุงครรภ์ (Comprehensive Nursing practicum midwifery) ได้นำโปรแกรม Microsoft Teams และหลักแนวคิด PDCA คู่กับทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) มาออกแบบใช้จัดการเรียนการสอนออนไลน์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การจัดการเรียนภาคปฏิบัติออนไลน์ ในนักศึกษาพยาบาลช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษารายวิชาปฏิบัติการพยาบาลรวบยอดสาขาผดุงครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 16 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) นักศึกษาสมัครใจลงชื่อเข้าฝึกปฏิบัติการพยาบาลรวบยอดสาขาผดุงครรภ์ ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2564–มกราคม พ.ศ.2565 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 1) การสัมภาษณ์กลุ่มนักศึกษา 2) แบบสอบถามการจัดการเรียนภาคปฏิบัติออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์กลุ่มนักศึกษา และอาจารย์นิเทศเชิงลึกและข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากแบบสอบถามการจัดการเรียนภาคปฏิบัติออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่

ผลการวิจัยพบว่า การเรียนด้วยตนเองและการได้รับความรู้ขณะเรียนออนไลน์มีการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 100 เนื้อหาที่ได้รับและความคาดหวังในการเรียนออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 95 การใช้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิตอล คิดเป็นร้อยละ 96 ปัญหาและอุปสรรคหรือข้อจำกัดในการเรียนการสอน คิดเป็นร้อยละ 87 ในการเรียนออนไลน์ภาคปฏิบัตินั้นนักศึกษาจะได้รับความรู้ ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น เห็นบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 95 แต่นักศึกษาจะขาดประสบการณ์การปฏิบัติจริง เมื่อให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยอาจขาดความมั่นใจ มีอาการกลัวไม่กล้าทำหัตถการเพราะขาดทักษะในการฝึกปฏิบัติ ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนถึงจุดอ่อนของการเรียนออนไลน์ คือ การจัดการเรียนการสอนที่นักศึกษาไม่เห็นบรรยากาศในสถานที่จริง และขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย และจุดแข็งของการเรียนออนไลน์ คือ นักศึกษาสามารถเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติได้

References

จรัสดาว เรโนลด์. (2564). เอกสาร มคอ.4 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลรวบยอด รหัส 170-455 ปีการศึกษา 2564. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ (2563, 29 กุมภาพันธ์ 2563) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 48 ง. หน้า 1

มาลีวัล เลิศสาครศิริ และ รัตนา พึ่งเสมา. (2564). พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาพยาบาลต่อการเรียนแบบออนไลน์ช่วงสถานการณ์โควิด-19.วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 14(1); 33-47.

มาลี คําคง, อฑิภา อมรปิยภากร, รพีภัทร ชำนาญเพาะ และ มุขรินทร์ ทองหอม. (2564). การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ระบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19. วารสารพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 22(43); 114-126.

วิทัศน์ ฝักเจริญผล และคณะ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส COVID-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 4(1); 44-61

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น. (2552). ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management) " PDCA Cycle / Deming Cycle" สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564, จาก https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?pageid=23&bookID=1320

สุจิตราภรณ์ ทับครอง, ธัญลักษณ์วดี ก้อนทองถม, ธัญลักษณ์ ตติยไตรรงค และ พิไลพรรณ แก้วแก่นตา. (2565). กระบวนทัศน์ใหม่ของการจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่ส่งเสริมสมรรถนะปฏิบัติการทางการพยาบาลของนักศึกษาในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 23(44); 77-90.

Anderson, L. W., Krathwohl, D. R., Airasian, P. W., Cruikshank, K. A., Mayer, R. E., Pintrich, P. R., Raths, J., & Wittrock, M. C. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. New York: Pearson, Allyn & Bacon.

Bloom, B. S. (Ed.). Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay Co Inc.

Intharaksa, P. (2019). Learning Management with Social Media. Journal of Education, Naresuan University, 21(4): 357-365. (in Thai).

Phonpakdee, R. (2020). Using social media in Teaching and Learning in COVID-19 Situation. Journal of Industrial Education, 1(1): 1-5. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-05

How to Cite